ตอบกระทู้

กำลังดู 11 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 11 (ของทั้งหมด 11)
  • โพสต์ใน: 5 พฤษภาคม 2567 เจาะเส้นทางค้า “ลีเมอร์” สัตว์ป่าหายากมาดากัสการ์

  • Moderator
    #91765

    ตามที่ท่าน ได้สอบถามสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่าเกี่ยวกับโครงการที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงาน EHIA โครงการ Beat Sukhumvit 93 นั้น

    สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขอเรียนว่า โครงการ บีท สุขุมวิท (Beat Sukhumvit) ของบริษัท นอร์ธแลนด์ ดีเวลลอปเม้นต์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ซอยสุขุมวิท ๙๓ ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร เป็นโครงการประเภทอาคารอยู่อาศัยรวม (อาคารชุด) มีจำนวนห้องชุดพักอาศัย ๓๘๑ ห้อง ขนาดพื้นที่โครงการ ๒-๓-๕๙.๖๐ ไร่ ประกอบด้วย อาคารขนาดความสูง ๘ ชั้น จำนวน ๒ อาคาร และอาคารสระว่ายน้ำ ขนาดความสูง ๑ ชั้น จำนวน ๑ อาคาร ซึ่งบริษัท นอร์ธแลนด์ ดีเวลลอปเม้นต์ จำกัด ได้มอบหมายและมอบอำนาจให้บริษัท อินฟราทรานส์ คอนซัลแตนท์ จำกัด จัดทำและเสนอรายงาน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการดังกล่าว ให้สำนักงานนโยบายฯ ดำเนินการ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ และปัจจุบันรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการ บีท สุขุมวิท (Beat Sukhumvit) ของบริษัท นอร์ธแลนด์ ดีเวลลอปเม้นต์ จำกัด อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ ผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชนกรุงเทพมหานคร อนึ่ง ท่านสามารถติดตามความคืบหน้าได้โดยตรงจากกรุงเทพมหานคร

    Moderator
    #85237

    ตามที่ท่าน ได้สอบถามสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่า กรณีการนำเอาชิ้นงานโครงสร้างท่อเหล็กไปชุบกัลวาไนซ์ กำลังผลิตที่ชุบกัลป์วาไนซ์ ๑๐๐,๐๐๐ ตัน/ปี (ผลิตเหล็กเองบางส่วนและรับจ้างชุบเหล็กจากโรงงานอื่นบางส่วน) เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือไม่ นั้น สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกองพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม พิจารณาแล้วขอเรียนว่า

    ๑. ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ นิยาม “อุตสาหกรรมเหล็กหรือเหล็กกล้า” หมายความว่า กลุ่ม ๑ เหล็กขั้นต้นหรือเหล็กขั้นกลาง โดยเป็นโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการที่มีการถลุง การหลอม หรือการหล่อ กลุ่ม ๒ เหล็กขั้นปลาย ได้แก่ โครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ที่มี (๑) การรีดเหล็ก (Rolling) ทั้งการรีดร้อนและรีดเย็น ยกเว้นการรีดขึ้นรูปเย็น (Cold Roll Forming) และการรีดปรับสภาพผิว (Skin-passหรือ Temper Rolling) (๒) การทุบขึ้นรูปร้อน (Hot Forging) (๓) การเคลือบผิวของอุตสาหกรรมเหล็กหรือเหล็กกล้า (ทั้งกรรมวิธีจุ่มด้วยโลหะหลอมเหลว กรรมวิธีทางไฟฟ้า กรรมวิธีทางเคมี กรรมวิธีทางไฟฟ้าเคมี) และ (๔) การหล่อเหล็กรูปพรรณ (Ferrous Metal Foundries) และเอกสารท้ายประกาศ ๔ และ ๖

    ลำดับที่ ๑๔ อุตสาหกรรมเหล็กหรือเหล็กกล้า ที่มีกำลังการผลิตแต่ละชนิดหรือรวมกันตั้งแต่ ๑๐๐ ตันต่อวันขึ้นไป ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้าง
    เพื่อประกอบกิจการ หรือในขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

    ลำดับที่ ๑๕ อุตสาหกรรมถลุงหรือแต่งแร่ หรือหลอมโลหะ ซึ่งมิใช่เหล็กหรือเหล็กกล้าตามลำดับที่ ๑๔ ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ ๕๐ ตันต่อวันขึ้น ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เสนอในขั้น
    ขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือในขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

    ๒. กรณีการนำชิ้นงานโครงสร้างท่อเหล็กไปชุบกัลวาไนซ์ หรือผลิตเหล็กเอง หากโครงการมีกระบวนการการผลิตตามนิยามของประกาศฯ ข้อ ๑ ข้างต้น และมีกำลังผลิต ๑๐๐ ตันต่อวันขึ้นไป จะเข้าข่ายเป็นโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามประกาศฯ ข้อ ๑ ข้างต้น ลำดับที่ ๑๔ อุตสาหกรรมเหล็กฯ หรือหากโครงการมีกระบวนการการผลิตที่มีการถลุงหรือแต่งแร่ หรือหลอมโลหะ ซึ่งมิใช่เหล็กหรือเหล็กกล้าตามลำดับที่ ๑๔ ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ ๕๐ ตันต่อวันขึ้น ก็จะเข้าข่ายเป็นโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามประกาศฯ ข้อ ๑ ข้างต้น ลำดับที่ ๑๕ อุตสาหกรรมถลุงหรือแต่งแร่ฯ

    ทั้งนี้ สามารถมีหนังสือประสานสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมแนบเอกสารหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาตอบข้อหารือดังกล่าว

    Moderator
    #78124

    การพิจารณารายงานฯ ของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ โครงการด้านอาคาร พิจารณาลักษณะ และประเภทของอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร รวมทั้งข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเป็นไปตามหลักวิชาการ 
    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กองวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กลุ่มงานอาคาร หรือ EIA อาคาร

    Moderator
    #78123
    • กรณีที่บริษัทเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทจากการควบรวมกิจการ เป็นบริษัทที่เป็นผู้มีสิทธิจัดทำ EIA ขอให้ติดต่อ กองพัฒนาระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โทร. 022656630
    • กรณีที่บริษัทเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทจากการควบรวมกิจการ เป็นบริษัทที่เป็นเจ้าของโครงการที่จัดทำรายงาน EIA  ขอให้ติดต่อที่ กองวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โทร. 022656618
    Moderator
    #78122
    • ขออภัยท่านที่ไม่ได้รับความสะดวก สผ.รับความเห็นและข้อเสนอแนะ ไปพัฒนาปรับปรุงน่ะครับ
    • ปัจจุบัน สผ. ได้พัฒนาระบบให้เจ้าของโครงการฯ เสนอรายงาน EIA ผ่านระบบอิเล็คทรอนิคส์ โครงการฯ สามารถตรวจสอบสถานะได้ตลอดเวลา สำหรับประชาชนทั่วไปท่านสามารถสอบถามสถานะการพิจารณาโครงการได้ที่ 02 265 6618
    Moderator
    #78120
    • สผ. ไม่มีหน่วยงานในพื้นที่ ครับ
    • ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดทำรายงาน EIA ได้ที่ Link นี้ได้เลยครับ https://eiathailand.onep.go.th/
    • หรือ ติดต่อสอบถามรายละเอียดมาโดยตรงที่ สผ.

    สอบถามรายละเอียดกระบวนการจัดทำรายงาน EIA  เบอร์โทร 02 265 6618
    สอบถามรายละเอียดประเภท ขนาด โครงการ ของตนเข้าข่ายต้องจัดทำรายงาน EIA หรือไม่ สอบถามโดยตรงได้ที่เบอร์โทร 02 265 6500 ต่อ 6834  ครับ

    Moderator
    #78114
    • สามารถศึกษารายละเอียดประเภท ขนาด โครงการที่ต้องจัดทำ EIA ศึกษาได้จาก Link นี้ได้เลยครับ กองประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
    • ข้อมูลยังไม่เพียงพอในการตอบครับ รบกวนสอบถามโดยตรงได้ที่เบอร์โทร 022656500 ต่อ 6834
    Moderator
    #78109

    โครงการที่จะขอรับการสนับสนุนเงินอุดหนุน จะต้องมีลักษณะ ดังนี้

    • เป็นโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ต้องการลงทุนและดำเนินงานระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน หรือระบบกำจัดของเสียรวมของชุมชน รวมทั้งการจัดหา จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือที่จำเป็น สำหรับการดำเนินงานและบำรุงรักษาระบบดังกล่าว
    • เป็นโครงการหรือกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมภายใต้กรอบทิศทางการสนับสนุนเงินกองทุนสิ่งแวดล้อมในแต่ละปี ตามที่คณะกรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อมเห็นสมควร โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

    โครงการที่จะขอรับการสนับสนุนเงินกู้ จะต้องมีลักษณะดังนี้

    • เป็นโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจที่ต้องการลงทุนดำเนินงานด้านระบบบำบัดอากาศเสีย น้ำเสีย และระบบกำจัดของเสีย หรือุปกรณ์อื่นใด สำหรับใช้ในกิจการของตนเอง เช่น ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงฆ่าสัตว์ หรือตลาดสด
    • เป็นโครงการของเอกชนที่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดให้มีระบบบำบัดอากาศเสีย น้ำเสียและระบบกำจัดของเสีย หรืออุปกรณ์อื่นใด เพื่อควบคุม บำบัด หรือขจัดมลพิษที่เกิดจากกิจกรรม หรือการดำเนินกิจการของตนเอง
    • เป็นโครงการของเอกชนผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการรับจ้างให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

    สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://envfund.onep.go.th/

    Moderator
    #78100

    พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

    Moderator
    #78099

    อัตราส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากรของกรุงเทพฯ 3.54 ตารางเมตรต่อคน อ้างอิงข้อมูลจาก กทม. อัตราส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากรกรุงเทพฯ น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO กำหนดไว้ว่าเมืองใหญ่แต่ละเมืองควรมีอัตราพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย 9 ตารางเมตรต่อคน

    Moderator
    #78010

    ในปัจจุบันการจัดทำรายงาน IEE และ EIA ยังต้องจัดทำโดยนิติบุคคลผู้มีสิทธิจัดทำรายงานซึ่งขึ้นทะเบียนกับ สผ. เท่านั้น ครับ

กำลังดู 11 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 11 (ของทั้งหมด 11)

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content