สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Critical Knowledge: สผ. กับการเข้าร่วมการประชุม COP 26  

การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP: UN Climate Change Conference of the Parties) มีกำหนดจัดการประชุมขึ้นทุกปี และหมุนเวียนสถานที่จัดไปยังภูมิภาคต่างๆ ของโลก โดยมีผู้นำของประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม ในส่วนของประเทศไทย นายกรัฐมนตรีมีโอกาสเข้าร่วมการประชุมในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยหลายโอกาส รวมทั้งการจัดการประชุมครั้งล่าสุดเป็นสมัยที่ 26 จัดขึ้น ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร เมื่อ 1 – 12 พฤศจิกายน 2565 โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถ้อยแถลงของในการประชุมระดับผู้นำ (World Leaders Summit) ในการพลิกโฉมประเทศไทย เพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยประเทศไทยจะยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่และด้วยทุกวิถีทาง เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065 และด้วยการสนับสนุนทางด้านการเงินและเทคโนโลยีอย่างเต็มที่และเท่าเทียม รวมถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถจากความร่วมมือระหว่างประเทศ และกลไกภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเทศไทยก็จะสามารถยกระดับการดำเนินงานตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Nationally Determined Contributions: NDCs) เป็นร้อยละ 40 ได้ ซึ่งจะทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของไทยเป็นศูนย์ได้ภายในปี ค.ศ. 2050

ภายหลังการเข้าร่วมประชุม COP 26 ที่ผ่านมา กองบรรณาธิการได้ติดต่อเข้าสัมภาษณ์ ดร.กลย์วัฒน์ สาขากร ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานงานกลางอนุสัญญา กองประสานงานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการสนับสนุนการเข้าร่วมประชุมกับคณะผู้แทนของประเทศไทย ตั้งแต่การเตรียมการเมื่อได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้นและกำหนดการประชุมที่จะจัดขึ้น การเข้าร่วมการประชุม และการดำเนินงานภายหลังการประชุม โดยสามารถแบ่งกิจกรรมออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้

1. การเตรียมการและเข้าร่วมการประชุม (Logistic)

ทำการศึกษาข้อมูลการประชุมจากสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาฯ และประสานกระทรวงการต่างประเทศ เพื่ออนุเคราะห์ข้อมูลอำนวยความสะดวก ประสานตรวจสอบเส้นทาง สำรอง/ออกบัตรโดยสาร ห้องพักและบริการอื่นๆ รวมถึงการขออนุมัติในการเดินทางเข้าร่วมการประชุม การดำเนินการตามขั้นตอนภายในประเทศเกี่ยวกับการเดินทางเข้าร่วมการประชุม เช่น หนังสือนำตรวจลงตรา (VISA) หนังสือเดินทางราชการ (Passport) หนังสือรับรองการฉีดวัคซีนของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Vaccine Passport) และประสานขอความอนุเคราะห์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือสายการบิน และจัดเตรียมเอกสารเพื่อส่งหลักฐานค่าใช้จ่ายในการเดินทางตามกำหนดเวลา เช่น ค่าห้องพัก ค่าโดยสารรถประจำทาง ค่าเช่าห้องสำนักงานผู้แทนไทย

2. การจัดทำองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการประชุม

ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุม COP 26 และจัดทำองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการประชุม ซึ่งประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3. การจัดทำกรอบท่าทีเจรจาของไทยในการประชุม

จัดทำท่าทีเจรจาของไทยในการประชุม COP 26 โดยศึกษาประเด็นที่จะมีการเจรจาท่าทีไทย
ในการประชุมที่ผ่านมา และท่าทีประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาที่สำคัญ โดยกรอบท่าทีเจรจาของไทย
ในการประชุม COP 26 มีเนื้อหาครอบคลุมหลักการภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ ที่ประเทศไทยให้ความสำคัญ
เช่น ความเป็นธรรมและความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างโดยคำนึงถึงขีดความสามารถของแต่ละประเทศ เน้นย้ำให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องเป็นผู้นำในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้การจัดทำและ
การดำเนินงานตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions: NDCs)
อยู่ภายใต้หลักการของกรอบอนุสัญญาฯ และความตกลงปารีส ส่งเสริมบทบาทของภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการกักเก็บคาร์บอนและการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ต้องการให้มีการยกระดับการสนับสนุนทางด้านการเงิน เทคโนโลยี และส่งเสริมศักยภาพในการปรับตัวฯ
ของประเทศกำลังพัฒนา เป็นต้น

4. กระบวนการนำเสนอองค์ประกอบคณะผู้แทนของประเทศไทยและกรอบท่าทีเจรจาของไทย
ต่อคณะรัฐมนตรี

1) สผ. นำเสนอ (ร่าง) องค์ประกอบคณะผู้แทนไทย และ (ร่าง) กรอบท่าทีเจรจาของไทย ต่อคณะทำงานเจรจาสำหรับการประชุมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านการประสานท่าทีเจรจาและความร่วมมือระหว่างประเทศ และคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามลำดับ

2) นำเสนอ (ร่าง) องค์ประกอบคณะผู้แทนไทย เสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ

3) นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยและเห็นชอบกรอบท่าทีเจรจาของไทย

5. การจัดทำถ้อยแถลงของประเทศไทย

สผ. จัดทำร่างถ้อยแถลงของประเทศไทย โดยศึกษาประเด็นที่มีความสำคัญในกรอบระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องถ่อยแถลงขอไทย ถ้อยแถลงของผู้นำสำคัญในปีที่ผ่านมา และการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สำคัญของไทยในปีที่ผ่านมา และนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเพื่อใช้กล่าวในการประชุมสุดยอด (World Leaders Summit) ในห้วงการประชุม COP 26

6. การจัดทำสรุปผลการประชุมและเผยแพร่ผลการประชุม

สผ. รวบรวมผลการประชุมจากคณะผู้แทนไทยและจัดทำสรุปผลการประชุม เสนอต่อคณะทำงานฯ คณะอนุกรรมการฯ และคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามลำดับ พร้อมเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบและมอบหมายหน่วยงานดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

สผ. จัดการประชุมสัมมนาเผยแพร่สรุปผลการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจในวงกว้างให้ทุกภาคส่วนทั้งภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ภาคประชาสังคม ประชาชน และสื่อมวลชน และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของประเทศไทย

อุปสรรคที่ควรเฝ้าระวังในการปฏิบัติงาน  มีสาเหตุจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้บางหน่วยงานที่เป็นหน่วยงานหลักในการติดตามประเด็นที่ประชุมไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จึงไม่สามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมได้ สผ. ในฐานะหน่วยประสานงานกลางของประเทศจึงต้องมอบหมายเจ้าหน้าที่ สผ. ให้รับผิดชอบในการติดตามประเด็นการประชุมดังกล่าวแทน รวมถึงมีการจำกัดการเข้าร่วมการประชุมของผู้แทนในแต่ละห้องประชุม ทำให้การติดตามการประชุมมีข้อจำกัด

ผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์

          ดร. กลย์วัฒน์ สาขากร
นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ
กลุ่มงานประสานงานกลางอนุสัญญา
กองประสานงานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
          สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

https://cutt.ly/meozcUaw https://cutt.ly/Ieozc9W8 https://cutt.ly/Teozc688 https://cutt.ly/GeozvyZf https://cutt.ly/FeozvpGX