สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รายงานความก้าวหน้ารายสองปี ฉบับที่ 3 (Third Biennial Update Report)

Book Cover: รายงานความก้าวหน้ารายสองปี ฉบับที่ 3 (Third Biennial Update Report)

รายงานความก้าวหน้ารายสองปี ฉบับที่ 3 (Third Biennial Update Report: TBUR)

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้จัดทำและเสนอรายงานความก้าวหน้ารายสองปี ฉบับที่ 3 (Third Biennial Update Report: TBUR) ต่อสำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหา 4 บท ได้แก่ บทที่ 1 สภาวการณ์ของประเทศ (National Circumstances) บทที่ 2 บัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (National Greenhouse Gas Inventory) บทที่ 3 การดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (Information on Mitigation Actions) และบทที่ 4 ข้อจำกัด ช่องว่าง การได้รับความสนับสนุนและความต้องการการสนับสนุน (Constraints and gaps, and related financial, technical and capacity needs) โดยสามารถสรุปเนื้อหาในแต่ละบท ดังนี้

บทที่ 1 สภาวการณ์ของประเทศ (National Circumstances) ประกอบไปด้วยข้อมูลสภาวการณ์ของประเทศ ได้แก่ สภาพทั่วไป สภาพภูมิศาสตร์ สถานภาพของประชากร การคาดการณ์จำนวนประชากร การใช้พลังงานภายในประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ สภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ รวมทั้งโครงสร้างเชิงสถาบันเพื่อรองรับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บทที่ 2 บัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (National Greenhouse Gas Inventory) ประกอบไปด้วยผลการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ทั้ง 5 ภาคส่วน ได้แก่ ภาคพลังงาน ภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ภาคเกษตร ภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน และภาคของเสีย ที่ใช้แนวทางการคำนวณตามคู่มือ 2006 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories (IPCC 2006) ระหว่างปี พ.ศ. 2543 – 2559 ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลกิจกรรมสำหรับการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง 5 ภาคส่วน และแสดงการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัด ช่องว่าง ในเรื่องการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกรายสาขา

บทที่ 3 การดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (Information on Mitigation Actions) ประกอบไปด้วยข้อมูลผลการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ได้แก่ ความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (Nationally Appropriate Mitigation Action: NAMA) ซึ่งรายงานผลการติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการภาคพลังงาน ปี พ.ศ. 2556 – 2561 และแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 – 2573 รายสาขา

บทที่ 4 ข้อจำกัด ช่องว่าง การได้รับความสนับสนุนและความต้องการการสนับสนุน (Constraints and gaps, and related financial, technical and capacity needs) ประกอบไปด้วยผลการวิเคราะห์ข้อจำกัด ช่องว่าง และความต้องการการสนับสนุนระหว่างประเทศในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งด้านงบประมาณ เทคโนโลยี และการพัฒนาศักยภาพความสามารถที่เกี่ยวข้องด้านการลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและประเด็นคาบเกี่ยวต่างๆ ข้อมูลการได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://climate.onep.go.th

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

https://cutt.ly/meozcUaw https://cutt.ly/Ieozc9W8 https://cutt.ly/Teozc688 https://cutt.ly/GeozvyZf https://cutt.ly/FeozvpGX