7 พฤษภาคม 2566 ตามรอย ‘บ้านมดตะนอย-บ้านเกาะมุกด์โมเดล’ชุมชนที่ออกแบบการจัดการขยะในแบบ ‘เฉพาะตัว’

ประชุมหารือในการจัดทำโครงการจัดขยะพลาสติกในทะเล

ที่มา : https://mgronline.com/qol/detail/9660000040580

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เข้ามาร่วมสนับสนุน “โครงการลดภัยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากขยะพลาสติกในทะเล” ไม่เพียงเพื่อเป็นการสร้างกระบวนการการเรียนรู้การจัดการขยะในครัวเรือนตั้งแต่ต้นทางเท่านั้น แต่รวมถึงการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่หรือแปลงให้เป็นรายได้เข้าครัวเรือน โดยโครงการนี้มีการดำเนินงานครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตรัง สตูล และกระบี่ ซึ่งปัจจุบันมี 10 ตำบลต้นแบบที่เข้าร่วม

    เราเรียกบ้านมดตะนอยว่าเป็นพื้นที่ขยะน้ำขึ้น-น้ำลง คือ เมื่อน้ำขึ้นก็จะพาขยะเข้ามากองภายในพื้นที่ ซึ่งกว่า 90% เป็นขยะที่เกิดจากฝีมือชุมชน เพราะฉะนั้นชุมชนที่อยู่รอบชายฝั่ง หรือชุมชนชาวประมง เมื่อทิ้งขยะลงไป ต้องบอกว่า สุดท้ายแล้วมันไม่ได้ไปไหนไกลเลย”

  อย่างไรก็ตาม หนึ่งในความน่าสนใจของ “บ้านมดตะนอย” คือมีวิธีการจัดการขยะในแบบเฉพาะตัว เนื่องด้วยมีพื้นที่ติดชายฝั่ง แต่ด้วยความร่วมมือและเปิดใจของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะ
คนในชุมชน ส่งผลให้การขับเคลื่อนชุมชนปลอดพลาสติกดำเนินงานมากว่า 7-8 ปี

    บ้านเกาะมุกด์เป็นพื้นที่ที่มีชุมชนตั้งอยู่บนเกาะ แต่ในขณะเดียวกันมีปริมาณขยะเยอะ และมีการจัดการขยะที่ไม่เหมาะสมเท่าที่ควร จนเป็นต้นเหตุให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามารู้สึกว่า ทำไมเกาะมุกด์ถึงไม่สะอาด จนมีการถ่ายภาพแชร์ลงโซเชียลและนั่นก็ทำให้เกาะมุกด์เป็นที่พูดถึงอย่างมาก

  ต่อมาในปี 2562 ชาวบ้านบ้านเกาะมุกด์เริ่มตั้งกลุ่มเพื่อรวบรวมรับซื้อวัสดุรีไซเคิล
อาทิ ขวดน้ำพลาสติก ขยะพลาสติกที่รีไซเคิลได้ รวมทั้งเครื่องมือประมง โดยมีการซื้อ-ขายเดือนละ 2 ครั้ง ซึ่งการรับซื้อแต่ละครั้งก็ได้มากกว่าครั้งละ 1-2 ตัน ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีในการนำขยะพลาสติกออกจากพื้นที่ได้เยอะพอสมควร

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy