9 พฤษภาคม 2565 ทำแผนที่แหล่งฝุ่นในโลก เพื่อศึกษาสภาพอากาศ

ที่มา: https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2387282
ฝุ่นที่พัดทำให้ท้องฟ้ามัวเป็นอันตรายต่อปอด หรือทิ้งคราบไว้บนกระจก ยิ่งฝุ่นแร่หรือฝุ่นทะเลทรายจะส่งผลต่อสภาพอากาศ เร่งการละลายของหิมะ เป็นปุ๋ยให้พืชบนบกและในมหาสมุทร มีงานวิจัยเผยว่า อนุภาคฝุ่นจากแอฟริกาเหนือเดินทางได้หลายพันกิโลเมตร มีงานวิจัยระบุว่า ฝุ่นที่อุดมธาตุเหล็กที่เข้มจะดูดซับความร้อนของดวงอาทิตย์และทำให้อากาศอุ่นขึ้น ขณะที่อนุภาคสีอ่อนกว่าซึ่งมีอย่างอุดมในดินเหนียวจะส่งผลตรงกันข้าม ฝุ่นชนิดต่าง ๆ มีคุณสมบัติต่างกัน เป็นกรด เป็นด่าง เป็นสีอ่อน มีสีเข้ม อันเป็นตัวกำหนดว่า อนุภาคมีปฏิสัมพันธ์กับชั้นบรรยากาศของโลกอย่างไร เช่นเดียวกับพื้นดิน น้ำ สิ่งมีชีวิต ดังนั้นทีมวิจัยจากห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่นของนาซาในสหรัฐอเมริกา จึงวางแผนทำแผนที่แหล่งของฝุ่นในโลก เพื่อทำความเข้าใจว่าฝุ่นร้อนและทำให้โลกเย็นลงอย่างไร รวมถึงให้เข้าใจลึกซึ้งเกี่ยวกับอนุภาคละเอียดของดินตะกอนจากทะเลทรายของโลกว่า จะเปลี่ยนแปลงอย่างไรภายใต้สภาพอากาศในอนาคต โครงการนี้มีชื่อว่า Earth Surface Mineral Dust Source Investigation (EMIT) เตรียมจะเปิดตัวในเดือน มิ.ย.
EMIT จะเน้นที่ฝุ่น 10 ชนิดที่สำคัญ รวมทั้งชนิดที่มีไอเอิร์นออกไซด์ ซึ่งสีแดงเข้มอาจทำให้บรรยากาศอบอุ่นขึ้นได้ การรู้ว่าฝุ่นชนิดใดมีอยู่บนพื้นผิวในแต่ละภูมิภาคจะให้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับองค์ประกอบของอนุภาคที่ถูกยกและขนส่งผ่านอากาศ ด้วยข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ นักวิจัยสภาพอากาศจะฝึกฝนความเข้าใจในผลกระทบของสภาพอากาศในระดับภูมิภาคและระดับโลกของฝุ่นแร่ ดังนั้นความแม่นยำของการสังเกตการณ์เหล่านี้จะทำให้เครื่องมือของ EMIT เป็นหนึ่งในสเปกโตรมิเตอร์การถ่ายภาพที่ถ่ายโลกอย่างล้ำสมัยที่สุดเท่าที่เคยมีมาในอวกาศ