21 กุมภาพันธ์ 2563 ‘หมุนเวียนน้ำใน EEC’ สู้วิกฤติขาดแคลนด้วยเทคโนโลยี

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/867197?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

ปัญหาน้ำขาดแคลน ส่วนใหญ่มาจากสาเหตุการเพิ่มขึ้นของประชากร การขยายตัวของเมือง อุตสาหกรรม เกษตรกรรม น้ำขาดแคลน ไม่เพียงพอกับความต้องการ สำหรับพื้นที่ EEC ครอบคลุม จ. ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา มีทั้งภาคชุมชน เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม และคาดการณ์ว่า ในอนาคตเมื่อการพัฒนาพื้นที่ EEC สมบูรณ์แบบตามแผนงานของรัฐบาล จะขาดแคลนน้ำไม่น้อยกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี จากการรวบรวมข้อมูลการหาแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับพื้นที่ EEC ชัดเจนว่า การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทำได้ยากขึ้น เพราะมีผลกระทบกับชุมชน และมักไม่เห็นด้วย อีกทั้งในภาวะแล้งที่ยาวนาน ทำให้เก็บน้ำได้ไม่เพียงพออยู่ดี จึงต้องหาทางเลือกอื่นๆ ด้วย อาทิ การนำน้ำทะเลมาทำน้ำจืด ซึ่งทำได้แต่มีต้นทุนสูงและราคาแพง ดังนั้น พิจารณาที่เป็นไปได้ คือ น้ำเสียที่บำบัดแล้ว ซึ่งราคาถูกลงมาก โดยในพื้นที่ EEC มีน้ำเสียปริมาณมากที่มาจากชุมชน อีกส่วนจากน้ำเสียจากสถานประกอบการ สถานบริการ และอุตสาหกรรม จากการคาดการณ์ปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นภายใน 20 ปีข้างหน้าในพื้นที่ EEC 3 จังหวัด รวมทั้งข้อมูลศักยภาพของการบำบัดน้ำเสีย โดยระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนที่ออกแบบไว้สูงสุดพบว่า ถ้ายังไม่มีการเติบโตแบบ EEC จะมีน้ำเสียชุมชนจะประมาณ 300 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี แต่เมื่อมี EEC สมบูรณ์แบบ น้ำเสียชุมชนจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 600 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เมื่อรวมกับน้ำทิ้งจากภาคอุตสาหกรรม จะทำให้มีปริมาณน้ำเสียรวมมากกว่า 900 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เราจึงมีน้ำเสียปริมาณมาก เป็นต้นทุนน้ำเสียจึงมีศักยภาพ

ปัจจุบันระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนที่มีปริมาณน้ำเสียเข้าสู่ระบบมากกว่าร้อยละ 75 ของความสามารถในการรองรับน้ำเสียในพื้นที่ EEC ได้แก่ ระบบบำบัดน้ำเสียเมืองพัทยา (ซอยวัดหนองใหญ่) และระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองแสนสุข (แสนสุขใต้) จ. ชลบุรี จึงเป็นที่มาของโครงการศึกษา “การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมและเมืองโดยการใช้น้ำเสียที่บำบัดแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ในพื้นที่ EEC โดย รศ.ดร.ชวลิต รัตนธรรมสกุล หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยนวัตกรรมการบำบัดของเสียและการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานการบริหารจัดการน้ำ 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy