9 เมษายน 2568 ขับเคลื่อน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ด้วย 3 ผลงานวิจัย ตอบโจทย์ความยั่งยืนในทุกมิติ
ในยุคที่ถนนทุกสายมุ่งสู่เส้นทางแห่ง “ความยั่งยืน” อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ก็เป็นอีกภาคส่วนหนึ่งที่ต้องปรับตัว ไม่ใช่แค่เพื่อตอบโจทย์เทรนด์การท่องเที่ยวโลกเท่านั้น หากแต่เป็นการปรับตัวเพื่อตอบสนองทิศทางการพัฒนาประเทศอีกด้วย โดยเฉพาะการพัฒนาท่องเที่ยวไทยที่นอกจากจะเดินหน้าสนับสนุน Responsible Tourism หรือการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แล้ว ยังมีการหยิบเอาแง่มุมหรือเสน่ห์ในการท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยมาผสมผสานให้เป็นการท่องเที่ยวไทยในรูปแบบใหม่ด้วย ได้แก่ Local Tourism การท่องเที่ยวชุมชน และ Gastronomy Tourism การท่องเที่ยวเชิงอาหาร
เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ ตลอดจนแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้รวบรวมบทสรุปสำคัญจากผลงานการวิจัยซึ่งดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ในปี 2567 จำนวน 3 ผลงาน ประกอบด้วย
ResponsibleTourism พฤติกรรมนักท่องเที่ยวต่างประเทศกลุ่มรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยพบว่า เมื่ออยู่ในประเทศต้นทางนักท่องเที่ยวจะมีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แต่เมื่อเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่สามารถปฏิบัติตนตามแนวทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ตามที่คาดหวัง และจะสามารถปฏิบัติได้เพียง
บางพฤติกรรมเท่านั้น เช่น การเคารพความแตกต่างทางวัฒนธรรมและกฎระเบียบของสถานที่ การแยกขยะLocal Tourism การพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวในไทย
การประเมินและวิเคราะห์ชุมชนท่องเที่ยว สามารถแบ่งระดับขั้นการพัฒนาได้ 3 ระดับ ได้แก่ กลุ่มชุมชนระดับขั้นเริ่มต้น กลุ่มชุมชนที่เห็นโอกาสจากการพัฒนาผลงานในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง และกลุ่มชุมชนที่กำลังเข้าสู่ความยั่งยืน
Gastronomy..Tourism การท่องเที่ยวเชิงอาหารกับการเพิ่มมูลค่าทางการท่องเที่ยวให้ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ผลการศึกษาในครั้งนี้ ได้ค้นพบ 4 แนวทางหลักในการเพิ่มมูลค่าให้กับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารของประเทศไทย ในการตอบสนองต่อแนวโน้มของโลกและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ดังนี้
- การพัฒนาระบบนิเวศ (Ecosystem Development)
- การสร้างเมืองอาหาร (Gastronomy City Creation)
- การเล่าเรื่อง (Storytelling)
- การพัฒนาข้ามภาคส่วน (Cross-Sectoral Development)
ที่มา : salika.co (https://www.salika.co/2025/04/07/3-research-for-tourism-development/)