ชวนคุณรู้จักนโยบายความหลากหลายทางชีวภาพกับภาคธุรกิจ ร่วมมือกันขับเคลื่อนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นกระแสหลักในสังคม

ชวนคุณรู้จักนโยบายความหลากหลายทางชีวภาพกับภาคธุรกิจ 📑🏦🌏
รายงาน “Global Resources Outlook 2024” ของสหประชาชาติระบุว่า ปัจจุบันมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เร็วกว่าที่โลกจะสร้างใหม่ได้ 1.7 เท่า หรือมนุษย์ต้องใช้โลกถึง 1.7 ใบ เพื่อรองรับความต้องการของประชากรโลกอย่างยั่งยืนในหนึ่งปี
ซึ่งเป็นสัญญาณที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมในอนาคต หากเราไม่เปลี่ยนแปลงแนวทางการใช้ทรัพยากร การดำเนินการที่ไม่ยั่งยืนเช่นนี้ จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาควาหลากหลายทางชีวภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์
เพื่อลดผลกระทบเหล่านี้ ประชาคมโลกจึงร่วมกันผลักดัน
🌿กรอบงานคุนหมิง – มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (GBF)🌿
📌เป้าหมายที่ 15 ติดตามการดำเนินงานของภาคธุรกิจและสถาบันการเงิน
กำหนดให้ประเทศสมาชิกดำเนินมาตรการ
(A) ติดตาม ประเมิน และเปิดเผยอย่างโปร่งใสเกี่ยวกับข้อมูลความเสี่ยง การใช้ และผลกระทบที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงข้อมูลที่ต้องการอื่น ๆ จากบริษัทขนาดใหญ่และบริษัทข้ามชาติ เช่น การดำเนินงาน (operations) อุปทาน (supply) และห่วงโซ่มูลค่า (value chains) และหลักทรัพย์ การลงทุน (portfolios)
(B) สนับสนุนข้อมูลที่จำเป็นให้แก่ผู้บริโภค เพื่อส่งเสริมรูปแบบการบริโภคที่ยั่งยืน
(C) รายงานเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรการการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์เพื่อให้เกิดความก้าวหน้า
ในการลดผลกระทบทางลบที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เพิ่มผลกระทบทางบวก ลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพที่มีต่อภาคธุรกิจและสถาบันการเงิน รวมถึงส่งเสริมการดำเนินงานดังกล่าวอย่างยั่งยืน
(ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.cbd.int/gbf/targets/15 )
🌿แผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ (NBSAPs)🌿
ประเทศไทยจัดทำแผนฯ ซึ่งมีการกำหนดกลยุทธ์และมาตรการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจเพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
📌เป้าหมายที่ 8 บูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพในนโยบาย แผน และการดำเนินงานของทุกภาคส่วนในทุกระดับ รวมถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ระบุค่าเป้าหมายให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กลุ่ม SET50 ที่เปิดเผยข้อมูลการดำเนินธุรกิจที่เชื่อมโยงกับความหลากหลายทางชีวภาพ โดยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 และภายในปี พ.ศ. 2573 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
📌เป้าหมายที่ 9 เพิ่มช่องทางและเงินทุนสนับสนุนจากภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีกลไกทางการเงิน กลไกทางเศรษฐศาสตร์ และมาตรการจูงใจ เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เช่น ภาคส่วนอย่างน้อย 1 สาขา มีการปรับแนวทางการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบ การคุกคาม ความเป็นอันตรายต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
(ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : https://chm-thai.onep.go.th/?p=13739 )
🤍 ร่วมมือกันขับเคลื่อนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นกระแสหลักในสังคม 🤍
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
กลุ่มงานขับเคลื่อนนโยบายและกลไก
กองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
📞ติดต่อ โทร. 0 2265 6500 ต่อ 6735 คุณจิรภิญญา/คุณรัฐรวี