สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

8 เมษายน 2563 ชั้นโอโซนโลกกำลังฟื้นตัวดีขึ้น

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/article/767483

ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์พบว่าโอโซนในชั้นบรรยากาศทวีปแอนตาร์กติกาถูกทำลายจนเป็นรูขนาดใหญ่มหึมา ซึ่งก่อนหน้านี้มนุษย์ใช้สารที่เรียกว่า CFCs (chlorofluorocarbons) ในเครื่องทำความเย็นอย่างตู้เย็น แอร์ สเปรย์ฉีดพ่นหรือทำโฟม ซึ่งสารนี้ลอยไปในอากาศที่ส่งผลต่อชั้นโอโซนนี้เอง เรื่องนี้เป็นที่น่ากังวลเพราะโอโซนเป็นแก๊สที่ปกป้องสัตว์โลกจากรังสีอัลตราไวโอเล็ต UV พลังงานสูง หากถูกทำลายไปมากก็ส่งผลกระทบต่อมนุษย์อย่างแน่นอน โดยสถานการณ์ดีขึ้น หลังหลายประเทศร่วมลงนามงดการใช้และปลดปล่อยแก๊ส CFCs หรือ ozone depleting substances (ODS) สู่ชั้นบรรยากาศใน Montreal Protocal ปี ค.ศ. 1987) ล่าสุด นักวิจัยตีพิม์ใน Nature เผยว่า หลุมในชั้นโอโซนที่ปกคลุมแถบแอนตาร์กติกากำลังฟื้นฟูตัวเอง ซึ่งการฟื้นฟูตัวเองนี้จะหยุดการเปลี่ยนแปลงของกระแสลมที่เคยส่งผลไม่ดีให้แก่ซีกโลกใต้ Antara Banerjee นักวิจัยจาก University of Colorado Boulder เผยว่า การที่ชั้นบรรยากาศกลับมาดีขึ้นได้นั้นเป็นผลมาจากการหยุดผลิตสารที่ทำลายชั้นโอโซน (ODS) ตั้งแต่ในช่วงทศวรรษ 1980 การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ส่งผลต่อกระแสลมเร็วในซีกโลกใต้ เพราะปกติเมื่อชั้นโอโซนถูกทำลาย ลมเร็วจะเคลื่อนลงมาทางซีกโลกใต้ และทำให้ฝนตก และน้ำทะเลเปลี่ยนไป แต่ในขณะนี้ดูเหมือนว่าการเคลื่อนตัวดังกล่าวจะมีทิศทางที่เปลี่ยนไป Antara Banerjee กล่าวว่า อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะเกิดเพียงชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากจะมีจำนวนก๊าซคาร์บอนที่เพิ่มขึ้น และสารที่ทำลายชั้นโอโซน (ODS) กำลังถูกปล่อยมาอีกในอดีต ก่อนปี 2000 กระแสลมเร็วในช่วงละติจูดกลางได้เคลื่อนตัวไปทางขั้วโลกใต้ พร้อมกับที่กระแสลมเร็วที่ก่อให้เกิดพายุเฮอริเคน กำลังแพร่กระจายเป็นบริเวณกว้างพอดี สองสิ่งนี้ทำให้ช่วงนั้นรูปแบบของฝน และกระแสน้ำในมหาสมุทรบริเวณซีกโลกใต้เปลี่ยนไป ส่งผลให้ประเทศออสเตรเลียต้องเผชิญกับความแห้งแล้งอย่างหนัก แต่ล่าสุดนักวิจัยเผยว่า กระแสลมเร็วได้หยุดเคลื่อนตัวไปทางใต้ ในขณะเดียวกับที่ชั้นโอโซนกำลังซ่อมแซมตัวเองได้การเคลื่อนตัวย้อนกลับของกระแสลมอาจส่งผลดีให้ฝนกลับมาตกในบริเวณชายฝั่งของประเทศออสเตรเลีย

เมื่อปี 2019 ที่ผ่านมาชั้นโอโซนบริเวณแอนตาร์กติกโดนทำลายจนเกิดเป็นหลุมน้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์ ตั้งแต่ที่เริ่มมีการบันทึกครั้งแรกในปี 1982 อย่างไรก็ตามนักวิจัยนิยามการหยุดเคลื่อนตัวของกระแสลมเร็วว่า
เป็นเพียงการหยุดชั่วคราวเท่านั้น ยังมีแนวโน้มที่มันจะกลับมาสู่สภาพเดิมอยู่ดี Banerjee ระบุว่า สงครามสองขั้วระหว่างการพยายามฟื้นฟูชั้นโอโซน และการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก จะเป็นตัวที่ตัดสินว่าโลกในภายภาคหน้าจะเป็นอย่างไรนอกจากนี้เธอและทีมของเธอกล่าวว่า งานนี้ชี้ให้พวกเขาพบข้อตกลงที่ทำเพื่อโลกอย่างข้อตกลงตามพิธีสารมอนทรีออลในปี 1987 สามารถหยุดหรือย้อนการทำลายสิ่งแวดล้อมได้ชั่วคราวได้จริงอีกด้วย การลดลงของโอโซน (Ozone Depletion) คือ ภาวะการสูญเสียหรือการลดลงของปริมาณก๊าซโอโซน (Ozone) ในชั้นบรรยากาศโลกที่ระดับความสูงราว 20 ถึง 40 กิโลเมตรเหนือพื้นดินขึ้นไป หรือชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) จากปฏิกิริยาเคมีระหว่างก๊าซโอโซนกับสารเคมีที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดปรากฏการณ์หลุมโอโซน (Ozone Hole) จนส่งผลให้รังสีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตจากดวงอาทิตย์สามารถส่องลงมายังพื้นผิวโลกได้โดยตรงทีมวิจัยระบุว่า การถูกทำลายของชั้นโอโซนมาจากบริเวณที่มีการทำอุตสาหกรรมอย่างหนัก

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

https://cutt.ly/meozcUaw https://cutt.ly/Ieozc9W8 https://cutt.ly/Teozc688 https://cutt.ly/GeozvyZf https://cutt.ly/FeozvpGX