7 ตุลาคม 2563 สกู๊ปพิเศษ : กรมชลประทานเผยความคืบหน้า โครงการอุโมงค์ผันน้ำแม่แตง – แม่งัดฯ – แม่กวงฯ

ที่มา:

https://www.naewna.com/local/523308

นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งกรมชลประทานดำเนินการโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา โดยขุดเจาะอุโมงค์ผันน้ำส่วนเกินจากลำน้ำแม่แตงในช่วงฤดูฝนประมาณ ๑๑๓ ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ลงสู่เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ก่อนจะผันน้ำส่วนเกินจากเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลประมาณปีละ ๔๗ ล้านลูกบาศก์เมตร รวมเป็น ๑๖๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ลงสู่เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนทั้ง ๒ แห่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบนอย่างยั่งยืนปัจจุบันอุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่แตง – แม่งัด สัญญาที่ ๑ ประกอบด้วย งานประตูระบายน้ำแม่ตะมาน ระบายน้ำได้สูงสุด ๑,๔๗๓.๓๔ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และงานก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำด้วยวิธีขุดระเบิด (Drill & Blast, D&B) และด้วยวิธีเครื่องขุดเจาะอุโมงค์ (Tunnel BoringMachine, TBM) ความยาวรวมประมาณ ๑๓,๖๐๐ ม. มีผลการดำเนินงานสะสมประมาณร้อยละ ๗๒ จากแผนงานสัญญาที่ ๒ ประกอบด้วย งานก่อสร้างอาคารสูบน้ำออกจากอุโมงค์ลอดแม่น้ำปิง (Pump Shaft) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน ๑๐ ม. ลึก ๔๐ ม. อัตราการสูบน้ำ ๙๐ ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง และงานก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำด้วยวิธีขุดระเบิด (Drill & Blast, D&B) และด้วยวิธีเครื่องขุดเจาะอุโมงค์ (Tunnel BoringMachine, TBM) รวมความยาวประมาณ ๑๒,๐๒๔ ม. มีผลการดำเนินงานสะสมประมาณ ร้อยละ ๓๔ ของแผนงาน ในส่วนของอุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่งัด – แม่กวง สัญญาที่ ๑ ดำเนินงานก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำด้วยวิธีขุดระเบิด (Drill & Blast, D&B) ความยาวรวมประมาณ ๑๒,๕๐๐ ม. มีผลการดำเนินงานสะสมร้อยละ ๒๘ ของแผนงาน สัญญาที่ ๒ ดำเนินงานด้วยวิธีเครื่องขุดเจาะอุโมงค์ (Tunnel Boring Machine, TBM) ความยาวรวมประมาณ ๑๐,๔๗๓ ม. มีผลการดำเนินงานสะสมร้อยละ ๙๗ ของแผนงาน ทั้งนี้ หากดำเนินโครงการแล้วเสร็จ ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำ และประสิทธิภาพในการจัดการน้ำในลุ่มน้ำปิงตอนบน ซึ่งจะมีการนำระบบโทรมาตร และระบบเตือนภัยน้ำท่วมเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ และการเตือนภัยจากน้ำหลากล่วงหน้าได้ ตลอดจนเป็นการเพิ่มเสถียรภาพการส่งน้ำช่วงฤดูฝนของพื้นที่ชลประทานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแม่กวงอุดมธาราจำนวนกว่า ๑๗๕,๐๐๐ ไร่ อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การท่องเที่ยว และภาคอุตสาหกรรม ในเขตพื้นที่ จ. เชียงใหม่และลำพูนได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy