5 ตุลาคม 2563 หลักฐานใหม่ของสัตว์เลื้อยคลานบินได้

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/foreign/1944635

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๑ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยหนานจิง ประเทศจีนรายงานว่า พบหลักฐานลักษณะการแตกแขนงของขนแรกเริ่มในซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล ๓ ชิ้นของเครือญาติไดโนเสาร์ ที่รู้จักกันว่า เป็นสัตว์เลื้อยคลานบินได้ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า เทอโรซอร์ (pterosaurs)ทีมนักบรรพชีวินวิทยาจากศูนย์วิจัยบรรพชีวินวิทยาของมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ในอังกฤษตรวจสอบหลักฐานดังกล่าวอีกครั้ง และได้ข้อสรุปว่า สัตว์เลื้อยคลานบินได้เหล่านี้ไม่มีขนเลย เนื่องจากโครงสร้างแตกแขนงเหล่านั้นไม่น่าจะใช่ขนแรกเริ่มของเทอโรซอร์ แต่เป็นเส้นใยเหนียวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างภายในเยื่อบุผิวตรงปีกของเทอโรซอร์ โดยการแตกแขนงนั้นอาจเป็นผลมาจากเส้นใยเกิดการสลายตัวและคลายลง พร้อมกับเชื่อว่าซากฟอสซิล ๓ ชิ้นนี้เป็นของเทอโรซอร์ที่น่าจะมีหัวล้านอีกด้วย แม้ว่าการวิจัยสิ่งเหล่านี้จะดูเหมือนข้อปลีกย่อยทางวิชาการ แต่ก็มีผลกระทบต่อการศึกษาบรรพชีวินวิทยาอย่างมาก โดยเฉพาะวิวัฒนาการของขนเทอโรซอร์ ไดโนเสาร์ และนก เพราะหมายความว่าเทอโรซอร์มีขนที่เก่าแก่ที่สุด ปรากฏตัวครั้งแรกโดยเป็นบรรพบุรุษร่วมกันของเทอโรซอร์และไดโนเสาร์ ซึ่งบ่งชี้ว่าองค์ประกอบที่คล้ายขนนกวิวัฒนาการมาอย่างน้อย ๘๐ ล้านปี เร็วกว่าที่เคยคิดไว้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy