28 กุมภาพันธ์ 2565 สังคมโลก : แหล่งน้ำจืด

ที่มา:

https://www.dailynews.co.th/articles/807001/

การประเมินที่แก้ไขใหม่ระดับน้ำทะเลโลกลดลง 3 นิ้ว หากธารน้ำแข็งเหล่านี้ละลาย และมวลน้ำแข็งกลายเป็นน้ำไหลลงจากภูเขาสู่ทะเลและมหาสมุทร ข้อเท็จจริงใหม่ที่เพิ่งค้นพบสร้างความวิตกแก่ชุมชนในหลายประเทศ ที่ต้องพึ่งพาน้ำซึ่งละลายตามฤดูกาลจากธารน้ำแข็งไหลลงสู่แม่น้ำ และระบบชลประทานสำหรับการเกษตร ขณะที่ธารน้ำแข็งบางส่วนละลายตามธรรมชาติตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่สูงขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือที่เรียกกันว่า ภาวะโลกร้อนกำลังทำให้ธารน้ำแข็งสูญสลายในอัตราเร่ง หลายประเทศต้องดิ้นรนแก้ไขปัญหาธารน้ำแข็งที่กำลังหายไป เช่น ประเทศเปรู รัฐบาลทุ่มงบประมาณสร้างโรงงานกลั่นน้ำทะเลเป็นน้ำจืด ส่วนประเทศชิลีกำลังร่างแผนสร้างธารน้ำแข็งเทียมบนเทือกเขาของประเทศ โรเมน มิลญอง นักวิทยาธารน้ำแข็ง มหาวิทยาลัยเกรอน็อบล์ แอลป์ ในฝรั่งเศส หัวหน้าทีมศึกษาวิจัยรายการนี้ กล่าวว่า ที่ผ่านมาผู้เชี่ยวชาญมีความรู้ความเข้าใจค่อนข้างน้อย ในประเด็นมีน้ำแข็งมากน้อยเท่าใด ในธารน้ำแข็งโลก เช่น การตรวจสอบซ้ำ 2 ครั้ง ธารน้ำแข็งรอบเกาะกรีนแลนด์ และกลุ่มพืดน้ำแข็งแอนตาร์กติก (Antarctic ice sheets) แถบขั้วโลกใต้ ประเมินปริมาณมวลน้ำแข็งมากเกินจริงหลายเท่า การศึกษาวิจัยของมิลญองและทีมงานประเมินอัตราความเร็วในการเคลื่อนตัวของธารน้ำแข็ง การตรวจวัดทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถวัดปริมาณมวลน้ำแข็งได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น เนื่องจากวีธีการไหลของธารน้ำแข็ง จะบ่งบอกความหนาหรือบางของน้ำแข็ง แต่การเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ ถูกจำกัดด้วยเทคโนโลยี ที่ยังไม่ก้าวหน้าเพียงพอ

อย่างไรก็ตาม เครือข่ายดาวเทียมความละเอียดสูงที่นำมาใช้งานในระยะหลายปีที่ผ่านมา ทำให้สามารถวิเคราะห์ได้เป็นครั้งแรก การเคลื่อนตัวของธารน้ำแข็งร้อยละ 98 ของที่มีอยู่ทั้งหมดทั่วโลก ไล่ตั้งแต่ธารน้ำแข็งขนาดเล็กบนเทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้ ไปจนถึงขนาดมหึมาในคาบสมุทรนอร์เวย์ แถบขั้วโลกเหนือ การศึกษาของมิลญองและทีมงานวิเคราะห์ภาพถ่ายเปรียบเทียบธารน้ำแข็งกว่า 800,000 คู่ บันทึกระหว่างปี พ.ศ. 2560–2561 และพบว่า มวลน้ำแข็งตื้นกว่าที่ประเมินก่อนหน้านี้ ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า ธารน้ำแข็งทั่วโลกมีน้ำแข็งน้อยกว่าที่เคยประเมินร้อยล 20 โดยน้ำแข็งเหล่านี้มีโอกาสละลายเป็นน้ำไหลลงมหาสมุทร และทำให้ระดับน้ำทะเลโลกสูงขึ้น ปัจจุบันธารน้ำแข็งมีส่วนทำให้ระดับน้ำทะเลโลกสูงขึ้นปีละ 1 มม. หรือร้อยละ 30 ของการเพิ่มขึ้นรายปี การศึกษาวิจัยของมิลญองและทีมงานพบว่า ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยในทวีปเอเชียบรรจุน้ำแข็งมากกว่าที่เคยมีการประเมินร้อยละ 37 ส่วนธารน้ำแข็งบนเทือกเขาแอนดีส เกือบตลอดแนวชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ บรรจุน้ำแข็งน้อยกว่าที่เคยมีการประเมินร้อยละ 27 และธารน้ำแข็งบนภูเขาประเทศเปรูสูญเสียพื้นผิวไปถึงร้อยละ 40 นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 หรือเมื่อประมาณ 50 ปีก่อน นั่นบ่งชี้ว่า กลุ่มประเทศที่อยู่ตามแนวเทือกเขาแอนดีสเผชิญปัญหาขาดแคลนน้ำจืดในอนาคต

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy