27 พฤศจิกายน 2562 รัฐเร่งแผนพัฒนา”แหล่งน้ำต้นทุน” รับพื้นที่อีอีซี

ที่มา: https://www.komchadluek.net/news/agricultural/401245?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=agricultural

 จากผลการศึกษาพบว่าในปี 2570 จังหวัดในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี (EEC:Eastern Economic Corridor) นั้น มีความต้องการน้ำสูงถึง 2,888 ล้านลบ.ม. ในขณะพื้นที่ทั้งภาคตะวันออกต้องการน้ำ 5,481 ล้านลบ.ม. และในปี 2580 ภาคตะวันออกต้องการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้นรวมกัน 5,775 ล้านลบ.ม. ในขณะที่จังหวัดในพื้นที่อีอีซี (EEC) ประกอบด้วยฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง มีความต้องการใช้น้ำเพิ่มเป็น 3,089 ล้านลบ.ม. จะเห็นว่าจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวมีความต้องการใช้น้ำมากกว่าครึ่งของความต้องการใช้น้ำทั้งภาครวมกัน

ด้วยเหตุนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.)จึงเร่งจัดทำแผนแม่บทพัฒนาทรัพยากรน้ำเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อสนับสนุนปัจจัยสำคัญ บรรเทาปัญหาด้านน้ำและช่วยเสริมสร้างรากฐานการพัฒนาประเทศ ทั้งในพื้นที่อีอีซี รวมถึงภาคตะวันออกทั้งหมด ครอบคลุมทั้ง 4 ลุ่มน้ำหลัก ได้แก่ ลุ่มน้ำปราจีนบุรี ลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำโตนเลสาป และลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก ที่ต่างเชื่อมโยงถึงกันให้สมดุลและเกิดประโยชน์มากที่สุด ในขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงการจัดการคุณภาพน้ำ และสามารถป้องกันปัญหาน้ำท่วมด้วย  

          “นับจากวันนี้ไปอีก 20 ปีข้างหน้าพื้นที่อีอีซี (EEC) จะเกิดการขยายตัวทั้งภาคการผลิต เกษตรและอุตสาหกรรม ประชากรจะเพิ่มจาก 4 ล้านคนในปัจจุบันเป็น 6 ล้านคน ความต้องการใช้น้ำภาคอุปโภคบริโภคมีอัตราการเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึงร้อยละ 56 รองลงมาคือภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 43 และภาคเกษตรกรรมร้อยละ 17 รวมเป็นปริมาณความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นกว่า 670 ล้านลบ.ม.ต่อปี”

         ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เผยระหว่างนำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่สำรวจแหล่งน้ำต้นทุนในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยระบุว่า เมื่อปี 2560 พื้นที่ 8 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายกและสระแก้ว มีการใช้น้ำบาดาลและน้ำผิวดินเพื่อการอุปโภคบริโภค การเกษตร อุตสาหกรรม และท่องเที่ยว รวมทั้งสิ้น 4,167 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) เฉพาะในเขตจ.ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ซึ่งอยู่ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกใช้น้ำรวมกัน 2,419 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 58 ของความต้องการใช้น้ำภาคตะวันอออก

         เลขาฯ สทนช. กล่าวต่อไปว่าสำหรับเป้าประสงค์ของแผนแม่บทการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนในพื้นที่ภาคตะวันออก นอกจากที่กล่าวแล้ว ยังต้องให้เกิดการพัฒนาแหล่งน้ำบนดินและใต้ดิน เพิ่มประสิทธิภาพแหล่งเก็บน้ำและระบบกระจายน้ำของเดิม เพื่อเตรียมความพร้อมด้านน้ำให้พื้นที่ทั้งหมดสามารถพัฒนาไปพร้อมกันได้ทั้งอุตสาหกรรม เกษตรและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ สทนช.ได้นำแผนงานและโครงการต่าง ๆ ที่คาดว่าจะนำไปสู่การปฏิบัติในช่วงระยะเวลาอีก 20 ปีข้างหน้า มาให้ภาคประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนพิจารณาหาข้อเสนอแนะเพิ่มเติมก่อนจะนำเสนอต่อคณะกรรมการน้ำแห่งชาติ ประกาศเป็นแผนแม่บทเพื่อเป็นแนวทางบริหารจัดการน้ำในทิศทางเดียวกันต่อไป

          “แผนการพัฒนามีทั้งสิ้น 30 โครงการ แบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกตั้งแต่ปี 2563-2570 ประกอบด้วยการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 9 แห่ง ปรับปรุงอ่างเก็บน้ำเดิมเพื่อเพิ่ม
ความจุ 6 แห่ง ปรับปรุงระบบเครือข่ายน้ำเดิม 2 ระบบ ก่อสร้างระบบเครือข่ายน้ำใหม่ 2 ระบบ ก่อสร้างระบบสูบกลับ 2 ระบบ ขุดลอกคลองในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาคลองพระองค์ไชยยานุชิต พัฒนาพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากบางพลวงให้เป็นแก้มลิง จัดหาพื้นที่ขุดบ่อเก็บน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม และสระเอกชนในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองทับมา ทั้งหมดจะได้น้ำต้นทุน 704.8 ล้านลบ.ม.”

          สำหรับช่วงที่สอง ตั้งแต่ปี 2571-2580 นั้น มีการก่อสร้างระบบสูบกลับ 2 ระบบ สร้างอุโมงค์ส่งน้ำอ่างเก็บน้ำพระสะทึง-อ่างเก็บน้ำคลองสียัด และก่อสร้างระบบเครือข่ายน้ำวังโตนด-อ่างเก็บน้ำประแสร์ กับระบบเครือข่ายน้ำอ่างเก็บน้ำคลองโพล้-อ่างฯ ประแสร์ ได้น้ำต้นทุนทั้งสิ้นรวม 166 ล้านลบ.ม. รวมปริมาณน้ำต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2563-2580 ประมาณ 870.8 ล้านลบ.ม. นอกจากนี้ยังจะได้เสนอนวัตกรรมผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลสามารถเพิ่มน้ำต้นทุนได้อีก 50-75 ล้านลบ.ม. ทั้งหมดจะดำเนินการโดยผ่านหน่วยงานของกรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และอิสต์ วอเตอร์(East Water) 

         นอกจากแผนเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุน สทนช. ยังมีแผนจัดการความต้องการใช้น้ำเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ส่งเสริมมาตรการ 3Rs ( Reduce:ลดการใช้ , Reuse:ใช้ซ้ำ , Recycle:นำกลับมาใช้ใหม่ ) ปรับปรุงท่อส่งจ่ายน้ำระบบประปาลดปริมาณการสูญเสีย มาตรการบังคับให้ภาคอุตสาหกรรมต้องมีบ่อสำรองน้ำไว้สำหรับฤดูแล้ง หรือใช้น้ำที่ผ่านการบำบัดไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ทบทวนพืชที่ปลูกให้สอดคล้องกับสภาพดินและศักยภาพน้ำต้นทุน ส่งเสริมเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและประหยัดทรัพยากร เป็นต้น เหล่านี้จะช่วยประหยัดการใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ชะลอการพัฒนาแหล่งน้ำเพิ่ม ลดปริมาณน้ำเสีย ได้เป็นอย่างดี

        “แผนดังกล่าวจะใช้เป็นกรอบที่จะบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในทุกภาคส่วน ทั้งเครือข่ายภาคประชาชน เครือข่ายที่กำกับดูแลปริมาณน้ำต้นทุน รวมถึงเครือข่ายที่ดูแลเรื่องความต้องการใช้น้ำ จะได้ยึดแผนนี้เป็นแผนแม่บทในการบริหารจัดการน้ำภาพรวมทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี เพื่อสนับสนุนให้ปัจจัยพื้นฐานนี้มีความมั่นคง เป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศต่อไป” ดร.สมเกียรติ กล่าวย้ำทิ้งท้าย

สทนช.ถกแผนป้องภัยแล้งมอบเจ้าภาพหลักรายพื้นที่

          การประชุมร่วมระหว่างสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านน้ำ 25 หน่วยงานเพื่อกำหนดแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2562/63 ตามข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ)เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยมีข้อสรุปที่สำคัญ 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1.ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการจัดสรรน้ำและระบายน้ำของแหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางเป็นรายสัปดาห์ ซึ่งสทนช.ได้ติดตามแผนการจัดสรรน้ำเขื่อนขนาดใหญ่ พบว่ามีการจัดสรรน้ำเกินแผนแล้ว 3 แห่ง ได้แก่ เขื่อนแม่มอก เขื่อนกิ่วคอหมา และเขื่อนกระเสียว 

 ที่ประชุมจึงได้เน้นย้ำกรมชลประทาน (ชป.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ควบคุมการจัดสรรน้ำให้กับพื้นที่ ตามปริมาณน้ำที่กำหนดอย่างเคร่งครัด โดยขอให้จังหวัด กำกับ ดูแลพร้อมสร้างการรับรู้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อป้องกันปัญหาการสูบน้ำไว้ใช้ระหว่างการส่งน้ำ ทั้งนี้ หากมีเหตุจำเป็นที่ต้องมีการจัดสรรน้ำมากกว่าแผน ต้องมีการรายงานให้ สทนช.ทราบก่อนด้วย เพื่อพิจารณาความเหมาะสมเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำต้นทุนที่ใช้ในการจัดสรรน้ำตลอดฤดูแล้งนี้และต้นฤดูฝนปี’63

         2.การกำหนดเจ้าภาพหลักในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้กับพื้นที่เป้าหมายเสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งเบื้องต้นที่ประชุมได้มอบหมายให้การประปานครหลวง (กปน.) พิจารณาการใช้น้ำจากฝั่งตะวันตกมาทดแทนการใช้น้ำจากฝั่งตะวันออกให้มากขึ้น พร้อมทั้งดำเนินการร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาลขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อสำรองน้ำเพิ่มเติม ขณะที่พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภคในเขตการประปาภูมิภาค (กปภ.) 48 สาขา 64 อำเภอ 26 จังหวัด ที่มีการสำรวจไว้เดิม และอีก 13 แห่งของ กปภ.ริมแม่น้ำโขง ใน 7 จังหวัด 19 อำเภอ ได้มอบหมายกรมทรัพยากรน้ำบาดาลพิจารณาสนับสนุนการดำเนินการขุดเจาะบ่อบาดาล 13 แห่ง รวมถึงมอบกรมชลประทานจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม 19 แห่ง ส่วนอีก 29 แห่งที่เหลือให้ กปภ.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาหาแหล่งน้ำสำรองสำหรับนอกพื้นที่บริการ กปภ. ที่มีความเสี่ยง 38 จังหวัด

      โดยเฉพาะประปาชุมชนและประปาหมู่บ้าน ซึ่งมักประสบปัญหาขาดแคลนน้ำทุกปี หากพื้นที่ใดมีความเสี่ยงขาดน้ำต้องประสานกับกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรน้ำบาดลจัดหาแหล่งน้ำผิวดิน และน้ำบาดาล เป็นแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำรวมถึงพิจารณาหาแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่การเกษตรที่เป็นไม้ผล พืชต่อเนื่อง ขณะเดียวกันสทนช.ได้ประสานกระทรวงสาธารณสุขสำรวจพื้นที่ให้บริการต่างๆ โดยประสานกับหน่วยบริการจ่ายน้ำ เพื่อให้ได้ข้อมูลโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีความเสี่ยงขาดน้ำในฤดูแล้ง 38 จังหวัด เพื่อวางมาตรการป้องกันโดยเร่งด่วนด้วย

   และ 3.การพิจารณาพื้นที่นำร่องในการกำหนดเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำสำหรับหน่วยงานเก็บกักน้ำหลากเพื่อดำเนินการในฤดูฝนหน้าโดยที่ประชุมมอบหมายให้กรมชลประทานเร่งดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ลุ่มต่ำเจ้าพระยาตอนล่าง 12 ทุ่ง และทุ่งบางระกำ โดยเพิ่มเติมโครงการนำร่องพื้นที่ลุ่มต่ำในพื้นที่ลุ่มน้ำยัง จ.ร้อยเอ็ด และบางพลวง จ.ปราจีนบุรี พร้อมทั้งให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการคลัง พิจารณาแนวทางการจ่ายค่าชดเชยตามมติครม. 3 กันยายน 2562 ที่ผ่านมาด้วย

       ทั้งนี้ สทนช.ได้สรุปผลการประชุมเพื่อนำเสนอต่อ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมทำหนังสือถึงหน่วยงานเกี่ยวข้องรับทราบมติที่ประชุมข้างต้น เพื่อให้เกิดผลที่ชัดเจนในทางปฏิบัติในการดำเนินการเชิงป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม 2563 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online slot88 istanaslot istanaslot slot88 istana slot istanaslot situs slot gacor hari ini istana impian istanaimpian istanaimpian2 istanaimpian3 istanaimpian4 istanaslot istanaslot Situs Judi Slot Online daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

slot pulsa

gangster4d slot

gangster4d

istana slot

http://ukt.uhnsugriwa.ac.id/admin/slot88/

https://ishcsf.com/slot-gacor/

https://www.sos-logistica.org/wp-content/uploads/slot-demo/

https://cultura.tonala.gob.mx/

https://bma.ac.ke/wp-content/uploads/2023/

http://labiela.com/cgi-bin/slot-gacor/

https://www.ideasei.com/wp-content/slot-dana/

https://kayseriescortu.com/slot-gacor/

http://sion.uhnsugriwa.ac.id/css/slot-gacor/
https://keckarangawen.demakkab.go.id/slot-gacor/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot-toto/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot-gacor/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot88/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot777/
slot777
slot gacor
Skip to content