สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

26 กุมภาพันธ์ 2567 – 4 นวัตกรรมจากหัวและก้างปลาดุก เสริมรายได้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

4 นวัตกรรมจากหัวและก้างปลาดุก เสริมรายได้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์  (https://www.thairath.co.th/news/local/2765326)

             หัวปลาและก้างปลามักเป็นส่วนที่คนมักไม่เห็นค่า จะถูกใช้บ้างก็ต้มเป็นอาหารให้สัตว์เลี้ยง ไม่ก็หมักเป็นน้ำหมักหรือปุ๋ย แต่ส่วนใหญ่มักถูกทิ้งทั้งในขยะและแหล่งน้ำ ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะน้ำเน่าเสีย กลายเป็นแหล่งหมักหมมเชื้อโรค แต่ใครจะคาดคิดหัวปลาและก้างจะเป็นได้ทั้งวัสดุปรุงดิน พลาสติกชีวภาพที่นำมาขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ได้ แผ่นฟิล์มคลุมดิน หรือแม้แต่ยาสีฟัน “ในกระบวนการผลิตปลาดุกแปรรูป ส่วนหัวปลาและก้างปลาแทบทั้งหมดที่เหลือจากกระบวนการแล่ มักถูกนำไปทิ้ง ก่อให้เกิดปัญหามากมาย โดยเฉพาะมลภาวะในพื้นที่ ประกอบกับภาคการเกษตรปัจจุบัน มีการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมาก และใช้ติดต่อกันนานๆจะทำให้ผลผลิตลดลงเรื่อยๆ ซ้ำร้ายดินยังแข็งไถพรวนยาก พืชไม่เติบโตได้เท่าที่ควร ทีมวิจัยจึงคิดโครงการที่จะสามารถเป็นประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง โดยการใช้กระบวนการทางวิศวกรรมในการพัฒนาของเหลือทิ้งจากการปลาดุก อันนำมาซึ่ง 4 นวัตกรรมจากหัวและก้างปลาดุก ที่ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เกษตรกรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว”  ส่วน 4 นวัตกรรม จากหัวและก้างปลาดุกจะมีอะไรบ้าง ผศ.ดร.วรวัชร วัฒนฐานะ ภาควิชา วิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิบายขั้นตอนแรกให้นำส่วนหัวและก้างที่เหลือทิ้งมาผ่านกระบวนการต้มด้วยน้ำกลั่น เพื่อนำเนื้อที่หลงเหลือออก โดยนวัตกรรมแรกจะได้วัสดุปรับปรุงดินเพาะปลูก เพิ่มแคลเซียมจากหัวและก้างปลาดุกที่ผ่านกระบวนการตากแห้งและเผา (Utilization..of Engineering Process to Develop Wastes from Crispy Catfish Production for using as Soil Amend ment Materials) ที่ใช้ปรุงดินทดแทนปุ๋ยเคมี โดยสารสกัดไฮดรอกซีอะพาไทต์จากหัวและก้างปลา จะช่วยเพิ่มธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ฟอสฟอรัส และธาตุอาหารรองอย่างแคลเซียม นอกจากนั้น ยังนำเอาหัวและก้างปลาที่ผ่านการต้ม อบแห้ง และบดผง มาพัฒนาเป็นวัสดุคอมพอสิตจากกระดูกป่น/PLA กับพลาสติกชีวภาพ ซึ่งเป็นวัสดุทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Bio Compostable Compo sites From Biomasses and Bioplastics) โดยเม็ดพลาสติกชีวภาพจากกระดูกก้างปลาสามารถนำไปขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ได้ เช่น ถ้วย ชาม ช้อน ส้อม และยังสามารถนำมาพัฒนาเป็นฟิล์มพลาสติกชีวภาพจากกระดูกป่น/PBAT คลุมดินป้องกันวัชพืช สามารถย่อยสลาย กลับเป็นสารบำรุงดินได้ต่อไป โดยเฉพาะแคลเซียม นอกจากการนำสารประกอบไฮดรอกซี อะพาไทต์ไปทำเป็นสารปรับปรุงดินแล้ว สารชนิดเดียวกันนี้ยังก่อให้เกิดนวัตกรรมจากหัวและก้างปลาดุกชิ้นสุดท้าย นั่นก็คือมีการนำมาเป็นส่วนผสมในยาสีฟันไบโอแคลเซียม (Biocalcium) ช่วยลดอาการเสียวฟัน ถือเป็นครั้งแรกของประเทศที่ใช้สารจากหัวและก้างปลามาเป็นส่วนผสมของยาสีฟัน และสามารถสร้างมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ จำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กลับเข้ามายังชุมชน ทั้งนี้ ปัจจุบันได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ให้กับวิสาหกิจชุมชนลำไทรพัฒนา กลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงและแปรรูปปลาดุกอุย ต.ลำไทร อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ที่ประสบปัญหากลิ่นเหม็น มลพิษทางน้ำ มลภาวะจากของเสียจากหัวและก้างปลา หลังการนำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่า

             หัวปลาและก้างปลามักเป็นส่วนที่คนมักไม่เห็นค่า จะถูกใช้บ้างก็ต้มเป็นอาหารให้สัตว์เลี้ยง ไม่ก็หมักเป็นน้ำหมักหรือปุ๋ย แต่ส่วนใหญ่มักถูกทิ้งทั้งในขยะและแหล่งน้ำ ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะน้ำเน่าเสีย กลายเป็นแหล่งหมักหมมเชื้อโรค แต่ใครจะคาดคิดหัวปลาและก้างจะเป็นได้ทั้งวัสดุปรุงดิน พลาสติกชีวภาพที่นำมาขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ได้ แผ่นฟิล์มคลุมดิน หรือแม้แต่ยาสีฟัน “ในกระบวนการผลิตปลาดุกแปรรูป ส่วนหัวปลาและก้างปลาแทบทั้งหมดที่เหลือจากกระบวนการแล่ มักถูกนำไปทิ้ง ก่อให้เกิดปัญหามากมาย โดยเฉพาะมลภาวะในพื้นที่ ประกอบกับภาคการเกษตรปัจจุบัน มีการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมาก และใช้ติดต่อกันนานๆจะทำให้ผลผลิตลดลงเรื่อยๆ ซ้ำร้ายดินยังแข็ง
ไถพรวนยาก พืชไม่เติบโตได้เท่าที่ควร ทีมวิจัยจึงคิดโครงการที่จะสามารถเป็นประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง โดยการใช้กระบวนการทางวิศวกรรมในการพัฒนาของเหลือทิ้งจากการปลาดุก อันนำมาซึ่ง 4 นวัตกรรมจากหัวและก้างปลาดุก ที่ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เกษตรกรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว” ส่วน 4 นวัตกรรม จากหัวและก้างปลาดุกจะมีอะไรบ้าง ผศ.ดร.วรวัชร วัฒนฐานะ ภาควิชา วิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิบาย… ขั้นตอนแรกให้นำส่วนหัวและก้างที่เหลือทิ้งมาผ่านกระบวนการต้มด้วยน้ำกลั่น เพื่อนำเนื้อที่หลงเหลือออก โดยนวัตกรรมแรกจะได้วัสดุปรับปรุงดินเพาะปลูก เพิ่มแคลเซียมจากหัวและก้างปลาดุกที่ผ่านกระบวนการตากแห้งและเผา (Utilization..of Engineering Process to Develop Wastes from Crispy Catfish Production for using as Soil Amend..ment..Materials)..ที่ใช้ปรุงดินทดแทนปุ๋ยเคมี โดยสารสกัดไฮดรอกซีอะพาไทต์จากหัวและก้างปลา จะช่วยเพิ่มธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ฟอสฟอรัส และธาตุอาหารรองอย่างแคลเซียม นอกจากนั้น ยังนำเอาหัวและก้างปลาที่ผ่านการต้ม อบแห้ง และบดผง มาพัฒนาเป็นวัสดุคอมพอสิตจากกระดูกป่น/PLA กับพลาสติกชีวภาพ ซึ่งเป็นวัสดุทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Bio Compostable Compo sites From Biomasses and Bioplastics) โดยเม็ดพลาสติกชีวภาพจากกระดูกก้างปลาสามารถนำไปขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ได้ เช่น ถ้วย ชาม ช้อน ส้อม และยังสามารถนำมาพัฒนาเป็นฟิล์มพลาสติกชีวภาพจากกระดูกป่น/PBAT คลุมดินป้องกันวัชพืช สามารถย่อยสลาย กลับเป็นสารบำรุงดินได้ต่อไป โดยเฉพาะแคลเซียม นอกจากการนำสารประกอบไฮดรอกซี อะพาไทต์ไปทำเป็นสารปรับปรุงดินแล้ว สารชนิดเดียวกันนี้ยังก่อให้เกิดนวัตกรรมจากหัวและก้างปลาดุกชิ้นสุดท้าย นั่นก็คือมีการนำมาเป็นส่วนผสมในยาสีฟันไบโอแคลเซียม (Biocalcium) ช่วยลดอาการเสียวฟัน ถือเป็นครั้งแรกของประเทศที่ใช้สารจากหัวและก้างปลามาเป็นส่วนผสมของยาสีฟัน และสามารถสร้างมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ จำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กลับเข้ามายังชุมชน ทั้งนี้ ปัจจุบันได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ให้กับวิสาหกิจชุมชนลำไทรพัฒนา กลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงและแปรรูปปลาดุกอุย ต.ลำไทร อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ที่ประสบปัญหากลิ่นเหม็น มลพิษทางน้ำ มลภาวะจากของเสียจากหัวและก้างปลา หลังการนำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่า

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

https://cutt.ly/meozcUaw https://cutt.ly/Ieozc9W8 https://cutt.ly/Teozc688 https://cutt.ly/GeozvyZf https://cutt.ly/FeozvpGX