25 ตุลาคม 2565 15 ปี ‘คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน’ กักเก็บคาร์บอนได้กว่า 8 ล้านตัน

ที่มา : https://www.thaipost.net/news-update/248456/

การรักษาสภาพป่าชุมชน พร้อมกับพื้นที่ป่าในเวลาเดียวกัน  เป็นอีกหนึ่งทางรอดในการลดปัญหาโลกร้อน และฟื้นฟูความสมดุลทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ที่ตั้งเป้าว่าภายใน 5 ปี จะเพิ่มป่าชุมชนให้ได้ 15,000 แห่ง คิดเป็นพื้นที่กว่า 10 ล้านไร่  ซึ่งปัจจุบันไทยมีป่าชุมชนกว่า 6 ล้านไร่ สามารถช่วยดูดซับคาร์บอนไดออไซด์ของประเทศให้ได้กว่า 40 ล้านตัน  และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากป่า มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี สร้างงานและอาชีพที่มั่นคง สอดรับกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy:BCG) สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 

เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 15 ปี ระบุตั้งแต่ พ.ศ.2551 ที่บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้เห็นความสำคัญของป่าชุมชนมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อนที่จะมี พ.ร.บ.ป่าชุมชน ใน พ.ศ. 2562  โดยเข้าไปสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่ป่าชุมชนต่างๆ ดูแลอนุรักษ์ ฟื้นฟูพื้นที่ป่า เพิ่มพื้นที่ป่าให้กับประเทศ  ขณะเดียวกันก็เป็นช่วยหยุดยั้งการบุกรุกทำลายป่า โดยสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามาบริหารจัดการป่าชุมชนของตนเอง พร้อมกับใช้กุศโลบายจัดการประกวดป่าชุมชน  โดยร่วมมือกับกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินงานโครงการ “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน”  ซึ่งต่อมาสอดคล้องกับแนวคิดรักษาพื้นที่ป่าไว้ให้เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน บรรเทาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทส. กล่าวว่า ป่าชุมชน เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งในขณะนี้ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าชุมชนประมาณ  12,017 แห่ง รวมกับที่เกิดขึ้นจากโครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน โดยความร่วมมือของชาวบ้านที่ลุกขึ้นมาดูแล รักษาป่า ที่จะส่งผลในการแก้ปัญทางสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง น้ำท่วมต่างๆ ในระยะยาว  ซึ่งในระยะที่ 3 ป่าชุมชนทั้ง 16 แห่ง ได้ผ่านการคัดเลือกที่เข้มข้น เพื่อที่จะได้นำทุนสนับสนุนไปทำประโยชน์ต่อยอดได้อย่างเต็มที่ โดยในระยะที่ 4 ก็จะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่ป่าชุมชน 15,000 แห่ง หรืออาจจะมากกว่าเป้าที่ตั้งไว้ ภายใน 5 ปี

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy