24 กุมภาพันธ์ 2563 โครงสร้างเนื้อเยื่อที่เก็บไว้ในกระดูกไดโนเสาร์

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/foreign/1778233
หนึ่งในสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำตอบในซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลโครงกระดูกไดโนเสาร์ คือโครงสร้างเนื้อเยื่ออ่อนถูกเก็บไว้ในกระดูกอย่างไร เนื่องจากความเชื่อทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับส่วนที่เป็นโปรตีนจะไม่สามารถอยู่รอดได้มากกว่า 1 ล้านปี เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สเตาท์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้นำการวิจัยครั้งใหม่นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ตรวจสอบถึงวิธีการเก็บรักษาโครงสร้างเนื้อเยื่อโบราณเหล่านั้นโดยการใช้เทคนิคอินฟราเรดสเปกโตรสโกปีร่วมกับกล้องจุลทรรศน์ ในวิธีที่เรียกว่า Synchrotron radiation based Fourier trans form infrared spectromicros copy (SR-FTIR) ดำเนินงานโดยแผนกแอดวานซ์ ไลก์ทซอส (Advanced Light Source-ALS) แห่งเบิร์กลีย์ แล็บ มาวิเคราะห์ฟอสซิลกระดูกแข้งไดโนเสาร์ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ (Tyrannosau rus rex) หรือ ที.เร็กซ์ อายุ 66 ล้านปี เพื่อหาหลักฐานว่า มีระบบไหลเวียนโลหิตที่กระดูกสันหลัง พิสูจน์ว่าโครงสร้างที่มีอยู่ในฟอสซิลนั้นเป็นเนื้อเยื่อคอลลาเจนดั้งเดิมของไดโนเสาร์ รวมถึงตรวจสอบวิธีการจัดเรียงโมเลกุลคอลลาเจน และใช้เทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ (x-ray fluorescence) วิเคราะห์ชนิด และการกระจายของโลหะที่มีอยู่ในเส้นเลือดของที.เร็กซ์ SR-FTIR ถ่ายภาพและสเปกตรัมของฟอสซิลและเปิดเผยการกระจายของรูปแบบการพับตัวของโปรตีนซึ่งช่วยระบุกลไกการเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ของโมเลกุล ส่วน XR microprobe ทำให้เกิดการปรากฏตัวของแร่เหล็กออกไซด์เกอไทต์ (goethite) นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าออกไซด์ไฮดรอกไซด์ (oxyhydroxide) ที่มีความเสถียรสูงบนเส้นโลหิตน่าจะมีส่วนช่วยในการเก็บรักษาโมเลกุลของสารอินทรีย์