สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

22 ตุลาคม 2565 “กัดเซาะชายฝั่ง-กำแพงกันคลื่น-กรมโยธา-ชุมชน” ทรรศนะ Beach For Life

ที่มา : https://greennews.agency/?p=31064

5 แนวโน้ม ว่าด้วย “โครงการกำแพงกันคลื่น” “วิกฤตกัดเซาะชายฝั่ง” “กระแสการผลักดันของรัฐโดยเฉพาะกรมโยธาฯ” และ “กระแสต่อต้านจากชุมชนในพื้นที่”

           1. กรมโยธาฯ ยังคงยึดกำแพงกันคลื่นเป็นสรณะ แม้พยายามเปิดรับทางเลือกเพิ่มขึ้น

           2. “การให้ข้อมูล-การจัดเวทีรับฟัง” ปัญหาสำคัญ

           3. “ไม่เป็นจริง” กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นจัดการกัดเซาะชายฝั่ง

           4. ท้องถิ่นไม่ไว้วางใจกรมโยธาฯ-หน่วยงานรัฐ มากขึ้น

           5. ชุมชนคัดค้านกำแพงกันคลื่นมากขึ้น

           ทรรศนะจาก “น้ำนิ่ง” อภิศักดิ์ ทัศนี ผู้ประสานงานกลุ่มอนุรักษ์ชายหาด Beach For Life หนึ่งในผู้ที่ติดตามตรวจสอบโครงการพัฒนาตลอดชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามันมานับ 10 ปี ผ่านบทสัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว GreenNews “ธัญพิชชา ลอยกลิ่น” พร้อม 1 ข้อเสนอ “ต้องมี EIA – กลไกที่ให้อำนาจท้องถิ่นจัดการได้จริง”

           ข้อเสนอ “ต้องมี EIA – กลไกที่ให้อำนาจท้องถิ่นจัดการได้จริง”

           “ผมคิดว่าทั้งหมดนี้มันยังคงมีปัญหาต่อไปเรื่อย ๆ ตราบใดที่กระบวนการในการดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น ยังไม่มีการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผมคิดว่าความขัดแย้งก็จะเกิดเยอะมากขึ้น เพราะว่า ท้ายที่สุด มันไม่ได้มีใครมาเป็นคนกลางในการพิจารณาว่า ถ้าทำแล้วมันจะมีผลกระทบอย่างไร การศึกษาตอนนี้มันเป็นการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ทำ IEE แค่นั้น การดูเรื่องผลกระทบต่อคลื่นลม การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ มันดูแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่ได้ดูแบบระยะยาว ตลอดของวงจรธรรมชาติของชายหาด ดังนั้น มันมีโอกาสที่มันจะมีผลที่มันจะกระทบต่อชายหาดค่อนข้างมาก เช่น ทำไปแล้วหาดหายไปเพราะว่า คุณไม่ได้มองเรื่องของคลื่นเรื่องของกระแสน้ำที่มันครอบคลุมทั้งฤดูกาลทั้งหมด พอมันไม่มีกลไก ในการกลั่นกรองโครงการ อย่างเช่น มีการทำการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มันก็เหมือนกับรัฐเปิดประตูแค่บานเดียว แล้วก็เข้าบ้านได้เลย ซึ่งมันง่ายมากที่จะทำให้เกิดโครงการในหลาย ๆ พื้นที่ แต่ถ้ามีกลไกในการกลั่นกรองโครงการขึ้นมาในแง่ของการทำ EIA กระบวนการจะเกิดมันก็จะช้ามากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้ความขัดแย้งไม่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด แบบที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้สุดท้ายต้นตอของปัญหาจริง ๆ คือ มันเป็นการกัดเซาะที่มันเป็นชั่วคราว หลายที่มันเป็นลักษณะแบบชั่วคราว ถ้าตราบใดที่เรายังผลักภาระให้เป็นปัญหาให้กับหน่วยงานราชการส่วนกลางต้องมาจัดการมันไม่มีทางที่จะยุติความขัดแย้งนี้ได้เลย ถ้าจะแก้ ต้องให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดการปัญหานี้ด้วยตัวเอง มีอำนาจทั้งในเชิงกฎหมายมีอำนาจในเรื่องของบประมาณ และมีความรู้ว่าถ้ามีการเกิดการกัดเซาะชายฝั่งในลักษณะแบบชั่วคราวท้องถิ่นทำอะไรได้บ้างเพื่อที่จะป้องกันทรัพย์สินของประชาชน ป้องกันทรัพย์สินของราชการแล้วชายหาดยังคงอยู่ได้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

https://cutt.ly/meozcUaw https://cutt.ly/Ieozc9W8 https://cutt.ly/Teozc688 https://cutt.ly/GeozvyZf https://cutt.ly/FeozvpGX