21 ตุลาคม 2563 ชาวออสเตรเลียเสี่ยงเผชิญหน้ากับฉลามถี่ขึ้น

ที่มา:

https://www.thairath.co.th/news/foreign/1957134

นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ประเทศออสเตรเลียต้องเผชิญกับเหตุฉลามกัดนักท่องเที่ยวอยู่บ่อยครั้ง โดยเหตุการณ์ล่าสุดก็คือเมื่อวันที่ ๙ ต.ค. ที่ผ่านมา ที่นายแอนดรูว์ ชาร์ป นักเล่นเซิร์ฟวัย ๕๒ ปีที่ถูกฉลามทำร้ายจนเสียชีวิตที่รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย จนเจ้าหน้าที่พบกระดานโต้คลื่นของเขาถูกคลื่นซัดมาและมีรอยฉลามกัด แต่ไม่มีใครได้พบร่างของเขาอีกเลยจุดที่เขาถูกฉลามจู่โจมคือ อ่าวไวลีย์ เบย์ จุดเล่นวินเซิร์ฟยอดนิยม ทำให้เขากลายเป็นเหยื่อรายที่ ๗ ที่เสียชีวิตจากคมเขี้ยวของฉลามในน่านน้ำประเทศออสเตรเลียในปีนี้ ซึ่งนับว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๒๙ เป็นต้นมา สร้างความแตกตื่นให้แก่นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการเล่นวินเซิร์ฟ และเกิดคำถามตามมาว่า เกิดความผิดปกติอะไรขึ้นในท้องทะเลแห่งนี้ จากตัวเลขสถิติที่รวบรวมโดยทางการออสเตรเลียเกี่ยวกับเหยื่อที่บาดเจ็บและเสียชีวิตในปี ค.ศ. ๒๐๒๐ พบว่า มีนักท่องเที่ยวถูกฉลามทำร้ายรวมทั้งสิ้น ๒๑ เหตุการณ์ ทั้งในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และควีนส์แลนด์ ซึ่งมากกว่าจำนวนเฉลี่ยในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ประมาณ ๒๐ เหตุการณ์ต่อปี แต่มีผู้เสียชีวิตมากถึง ๗ ศพ ขณะที่ปีที่ผ่านมาไม่มีผู้เสียชีวิตจากฉลามแม้แต่ศพเดียว ขณะที่เมื่อปี ค.ศ. ๒๐๑๕ แม้จะมีรายงานคนถูกฉลามทำร้ายถึง ๓๒ ราย แต่ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตเพียง ๒ ศพ ปีนี้จึงนับว่ามีผู้เสียชีวิตโดยฉลามสูงที่สุด นับจากที่ทางการนำตาข่ายดักฉลาม รวมทั้งมาตรการอื่นๆ ในการป้องกันฉลามมาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๓๐ ขณะที่ในประวัติศาสตร์ ๕๐ ปีที่ผ่านมา อัตราการเสียชีวิตจากการถูกฉลามโจมตีจะอยู่ที่ ๐.๙ หรือเฉลี่ยไม่ถึง ๑ คนต่อปีเท่านั้น หนึ่งใน ๗ รายของผู้เสียชีวิตในปีนี้ เป็นนักดำน้ำหาปลา ใกล้กับเกาะเฟรเซอร์ ในรัฐควีนส์แลนด์ ซึ่งจากกรณีนี้นับเป็นการสุ่มเสี่ยง เพราะมีความเป็นไปได้ที่การจับปลาของเขาดึงดูดฉลามให้เข้ามาหา อย่างไรก็ตาม เหยื่ออีก ๖ รายที่เหลือไม่ได้มีพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงเหมือนรายแรก ทำให้นักวิจัยยังคงไม่สามารถหาคำตอบที่แน่ชัดได้ว่า ทำไมฉลามจึงเข้ามาทำร้ายมนุษย์ นาธาน ฮาร์ท ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยา แห่งมหาวิทยาลัยแม็คไควรี่ชี้ว่า เหยื่อที่ถูกฉลามทำร้ายส่วนใหญ่จะเป็นนักเล่นเซิร์ฟมากกว่านักว่ายน้ำทั่วไป ซึ่งอาจจะบ่งชี้ได้ว่า การจู่โจมเกิดขึ้นในทะเลลึกที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยว่ายไปถึง โดยการเสียชีวิตจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งบาดแผลฉกรรจ์ การได้รับความช่วยเหลือส่งโรงพยาบาลได้ทันท่วงทีหรือไม่ เมื่อปีที่แล้ว ศาสตราจารย์ฮาร์ท และเพื่อนร่วมทีมศึกษาข้อมูลของฉลามควบคู่ไปกับอุณหภูมิของน้ำ และสถิติปริมาณฝน ทำให้พอจะคาดการณ์ได้ว่า การจู่โจมของฉลามจะเกิดขึ้นเมื่อใด ซึ่งทีมวิจัยพบว่า สภาพอากาศส่งผลสำคัญต่อความเสี่ยงที่ฉลามจะเข้าใกล้ชายฝั่งมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาฝนตกซึ่งจะชะล้างเอาสารอาหารลงทะเล และกวนน้ำให้ปากแม่น้ำและชายฝั่งขุ่น ทำให้เกิดแอ่งความเย็น ซึ่งพื้นที่แบบนี้จะดึงดูดฝูงปลา หรือเหยื่อฉลามชนิดอื่นๆ เช่น แมวน้ำเข้ามา ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ฉลามจะตามมาด้วย ประกอบกับกระแสน้ำออสเตรเลียตะวันออกที่รุนแรง โดยเฉพาะพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศออสเตรเลียนับเป็นจุดวิกฤติหนักสุดของโลก ทำให้อุณหภูมิของน้ำในทะเลมีความแตกต่างกัน โดยผิวน้ำจะมีอุณหภูมิสูงถึง ๔ เท่าของอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวน้ำทั่วโลก ซึ่งศาสตราจารย์ฮาร์ทยังแสดงความเป็นห่วงด้วยว่า หากกระแสน้ำมีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปมากเช่นนี้ ฉลามจำนวนมากที่ชื่นชอบความเย็นอย่างฉลามขาว และฉลามเสือนักล่าตัวฉกาจที่มักทำร้ายมนุษย์ จะยิ่งว่ายเข้าใกล้ชายฝั่งซึ่งเป็นที่พักผ่อนของมนุษย์ และย่อมจะเกิดปัญหาหนักตามมาแน่นอน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content