20 กุมภาพันธ์ 2566 ผลพวง “วาเลนไทน์” ถุงยางอนามัย 1 กล่องก็ทำโลกร้อนขึ้นได้ หากเลือกไม่ดี

ที่มา : https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/190534

หากย้อนดูสถิติการใช้ถุงยางอนามัยในปี 2562 ของคนไทยพบว่า  มีอัตราการใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอทุกครั้งยังมีอัตราต่ำมาก โดยเฉพาะการใช้ถุงยางอนามัยกับแฟนและคนรัก มีอัตราไม่ถึง 40%

ขณะที่สถิติการใช้ถุงยางอนามัยของคนไทยอยู่ที่ประมาณ 230 ล้านชิ้นต่อปี และส่วนใหญ่มักถูกกำจัดทิ้งด้วยวิธีแบบฝังกลบ ซึ่งวัสดุที่ใช้ในการผลิตนี้เองที่นำไปสู่ “ก๊าซเรือนกระจก” หากเป็นวัสดุที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ตามข้อมูล บริษัทผู้ผลิตได้ทำการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ พบว่า ถุงยางอนามัย 1 กล่อง (3 ชิ้น) มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำนวน 55.8 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

มีผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณีที่นำถุงยางอนามัยที่ผลิตจากวัสดุไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไปทำลายด้วยวิธีฝังกลบ

แต่ปัจจุบันพบว่า บริษัทผลิตถุงยางอนามัยให้ความสำคัญ และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบไปจนถึงการกำจัดซาก โดยเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด นำความร้อนที่เหลือทิ้งจากการอบกลับมาใช้ใหม่และใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อลดการใช้ทรัพยากรและของเสีย ทำให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้อย่างมีนัยสำคัญ

ดังนั้นการเลือกซื้อสินค้าให้ตรงตามความต้องการแล้วสิ่งที่อยากให้พิจารณาอีกอย่างคือสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อโลกน้อยที่สุด หรือเลือกซื้อสินค้าหรือบริการที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อย จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกและยังเป็นกลไกทางการตลาด ในการกระตุ้นให้ผู้ผลิตพัฒนาสินค้า ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามความต้องการของผู้บริโภคด้วย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy