สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

20 กุมภาพันธ์ 2565 พบ “กบลำธาร” 2 ชนิดใหม่ของโลกที่เมียนมา

ที่มา : https://www.naewna.com/local/636504

ดร.ภาณุพงศ์ ธรรมโชติ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ วิจัยสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงการค้นพบกบลำธารชนิดใหม่ของโลกอีก 2 ชนิด ที่เขตพะโค ทางตอนเหนือของเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา ซึ่งสะท้อนความหลากหลายทางชีวภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การค้นพบกบลำธารชนิดใหม่ของโลกในครั้งนี้เกิดจากความร่วมมือของทีมวิจัย 3 ประเทศ คือ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอีสต์ย่างกุ้ง (East Yangon University) ประเทศเมียนมาร์ และสถาบัน Senckenberg Forschungs institut und Naturmuseum ประเทศเยอรมนี

“เราใช้เวลาศึกษาวิจัยกว่า 2 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เก็บตัวอย่างกบในพื้นที่ทั้งไทยและเมียนมาร์ให้ได้ครบตามจำนวนที่ตั้งไว้ จากนั้นจึงส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการที่ศูนย์วิจัย Senckenberg ประเทศเยอรมนี โดยนำความรู้ทางฟิสิกส์มาประยุกต์ใช้ทางชีววิทยา ทำการตรวจสอบ DNA ศึกษาโครงสร้างเสียงร้องของกบ รวมทั้งศึกษาจีโนมหรือข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของกบ จนพบกบชนิดใหม่ของโลกถึง 2 ชนิด”

ลักษณะทั่วไปของกบลำธาร จะอาศัยอยู่ในลำธารในป่าเขตร้อน อย่างในป่าภาคตะวันตกและภาคใต้ของไทย มีขนาดตัว 3-5 เซนติเมตร ลำตัวสีน้ำตาลคล้ายใบไม้เพื่อการพรางตัว กบชนิดนี้จะส่งเสียงร้องเฉพาะเวลากลางคืนเพื่อการผสมพันธุ์ ช่วงที่เป็นลูกอ๊อดจะอาศัยบริเวณลำธารที่น้ำไหลไม่แรง และเมื่อโตเต็มวัยจะอาศัยอยู่ข้างลำธารและพบมากในช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูสืบพันธุ์

สำหรับกบลำธาร 2 ชนิดใหม่ของโลกที่เพิ่งค้นพบนั้น ตัวแรก คือ กบลำธารพะโค หรือมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Limnonectes bagoensis  ส่วนกบอีกชนิด คือ กบป่าไผ่พะโค มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Limnonectes bagoyoma  ซึ่งกบทั้งสองชนิดมีลักษณะคล้ายกันคือผิวหนังลื่น มีสีน้ำตาลเข้มหรือสีเขียวมะกอกปน ขาหน้า  มี 4 นิ้ว ไม่มีพังผืด ขาหลังมี 5 นิ้ว มีพังผืดสำหรับว่ายน้ำ ผิวหนังด้านหลังค่อนข้างเรียบมีตุ่มหรือสันเพียงเล็กน้อย ผิวหนังด้านท้องสีขาวครีมเรียบไม่มีตุ่ม

“การค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ ๆ ถือเป็นดัชนีวัดความอุดมสมบูรณ์ของป่าในภูมิภาคบ้านเรา เชื่อว่ายังมีสิ่งมีชีวิตประเภทสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอีกมากที่รอให้เราค้นพบและเรียนรู้ การศึกษาวิจัยเรื่องสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ทำให้เห็นถึงความสำคัญของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ที่อยู่ร่วมกับมนุษย์ในระบบนิเวศ สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกบางชนิดมีประโยชน์ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แม้รูปร่างหน้าตาของสัตว์ประเภทนี้จะไม่สวยงามเหมือนสัตว์ชนิดอื่น ๆ สัตว์บางชนิดมีอาจมีพิษที่อันตราย แต่สัตว์เหล่านี้มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ การศึกษาวิจัยธรรมชาติวิทยาและชีววิทยา รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์เหล่านี้จะช่วยให้มนุษย์เราสามารถรักษาสมดุลของระบบนิเวศได้อย่างยั่งยืน”

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

https://cutt.ly/meozcUaw https://cutt.ly/Ieozc9W8 https://cutt.ly/Teozc688 https://cutt.ly/GeozvyZf https://cutt.ly/FeozvpGX