2 พฤศจิกายน 2564 มนุษย์ยุคแรกสายพันธุ์ใหม่ มีชีวิตเมื่อ 500,000 ปีก่อน

ที่มา:

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2233384

สมัยไพลสโตซีนตอนกลาง (Middle Pleistocene) หรือเปลี่ยนชื่อเป็นยุคชิบาเนียน (Chibanian) เมื่อ 774,000-129,000 ปีที่แล้ว จัดเป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสายพันธุ์มนุษย์เราคือ โฮโมเซ เปียนส์ (Homo sapiens) ในทวีปแอฟริกา และญาติสนิทที่สุดอย่างมนุษย์โฮโมนีแอนด์ธัล(Homo neanderthalensis) ในทวีปยุโรป นักบรรพชีวินวิทยามองว่า สมัยไพลสโตซีนตอนกลางมีปมยุ่งเหยิงบางอย่างเกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์ในยุคนั้น และยังไม่มีอะไรมาไขความกระจ่างได้ ล่าสุด ทีมวิจัยนานาชาตินำโดยนักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยวินนิเพกในประเทศแคนาดาประกาศตั้งชื่อสายพันธุ์ใหม่ของบรรพบุรุษมนุษย์ คือ โฮโมโบโดเอนซิส (Homo bodoensis) ที่อาศัยอยู่ในแอฟริกาครั้งแรกเมื่อ 500,000 ปีที่แล้ว และคิดว่ามนุษย์สายพันธุ์นี้คือ บรรพบุรุษโดยตรงของมนุษย์ยุคปัจจุบัน ชื่อ โบโดเอนซิสนั้นมาจากกะโหลกศีรษะที่พบในเมือง Bodo D’ar ของประเทศเอธิโอเปีย ในทศวรรษที่ 1970 ทั้งนี้ การประกาศอนุกรมวิธาน หรือชนิดใหม่ของบรรพบุรุษมนุษย์ครั้งนี้ ไม่ได้มาจากการค้นพบซากฟอสซิลใหม่ แต่เป็นการนำฟอสซิลที่มีอยู่ก่อนแล้วซึ่งพบในแอฟริกาและยูเรเซียกลับมาวิจัยใหม่ โดยทั้งหมดนี้มีอายุย้อนไปเมื่อ 700,000-500,000 ปีก่อน นักบรรพชีวินวิทยาเผยว่า ภายใต้การจำแนกประเภทใหม่ โฮโม โบโดเอนซิสจะบรรยายถึงมนุษย์สมัยไพลสโตซีนตอนกลาง ส่วนใหญ่จากทวีปแอฟริกา และบางส่วนจากตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ในขณะที่มนุษย์จากทวีปหลัง ๆ จะถูกจัดประเภทใหม่เป็นมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy