2 ธันวาคม 2562 ฝ่าวิกฤติน้ำน้อย! ผ่าแผนรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง 63

ที่มา : https://www.komchadluek.net/news/agricultural/402130?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=agricultural

ในการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำครั้งล่าสุด ได้ผลสรุปว่า ปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติถึงประมาณร้อยละ 40 ส่วนภาคใต้ใกล้เคียงค่าปกติ โดยเฉพาะ 4 เขื่อนหลักที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนลุ่มเจ้าพระยา คือ  ภูมิพล สิริกิติ์  แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำรวมกันแค่ 11,796 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯรวมกัน  โดยมีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันเพียง 5,100 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น

ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวตอนหนึ่งระหว่างแถลงข่าวการวางแผนบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้ง 2562/63  ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562-30 เมษายน 2563 โดยระบุว่ากรมชลประทานจะจัดสรรน้ำจากเขื่อนต่างๆในเขตชลประทานทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 17,699 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าปีที่แล้วประมาณ 5,401 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะจัดสรรน้ำจาก 4 เขื่อนหลังรวมทั้งสิ้น 4,000 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าปีที่แล้ว 4,000 ล้าน ลบ.ม. พร้อมทั้งจะควบคุมค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำท่าจีน-แม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง-ปราจีนบุรี ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ “การบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูแล้งปีนี้ กรมชลประทานได้วางแนวทางและเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง โดยจะใช้ระบบชลประทานในการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีการเตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำ และรถยนต์บรรทุกน้ำ โดยจะกระจายอยู่ตามสำนักงานชลประทานและพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนให้มีน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้งได้อย่างทันท่วงที ซึ่งขณะนี้การจัดสรรน้ำยังเป็นไปตามแผนที่วางไว้” นอกจากนี้กรมชลประทานยังได้สั่งการไปยังได้สั่งการให้โครงการชลประทานทั่วประเทศบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามแผนการจัดสรรน้ำที่กำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน ร่วมถึงหน่วยงานทุกภาคส่วนในพื้นที่ ให้ทราบถึงสถานการณ์น้ำโดยทั่วกัน

ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวเสริมว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆขณะนี้อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา จึงต้องบริหารจัดการน้ำตามความเหมาะสม ซึ่งจะใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศน์เป็นหลัก โดยการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2562/63 ทั้งประเทศจำนวน 17,699 ล้านลบ.ม.นั้น จะจัดสรรสำหรับการอุปโภคบริโภคร้อยละ 13 ประมาณ 2,300 ล้านลบ.ม. เพื่อรักษาระบบนิเวศร้อยละ 40 ประมาณ 6,999 ล้านลบ.ม. เพื่อการเกษตรฤดูแล้งร้อยละ 44  ประมาณ 7,881 ล้านลบ.ม. และเพื่อการอุตสาหกรรมเพียงร้อยละ 3 หรือประมาณ 519 ล้าน ลบ.ม. นอกจากนี้ได้สำรองน้ำไว้ใช้ต้นฤดูฝนปี 2563 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2563 อีกจำนวน 11,340 ล้านลบ.ม. โดยในจำนวนนี้จะใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค การรักษาระบบนิเวศและอื่นๆร้อยละ 43 หรือประมาณ 4,909 ล้าน ลบ.ม. ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 57 ประมาณ 6,431 ล้าน ลบ.ม. จะใช้ในกรณีเกิดฝนทิ้งช่วง

รองอธิบดีกรมชลประทานกล่าวด้วยว่า สำหรับผลงานการจัดสรรน้ำล่าสุด ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 ได้จัดสรรน้ำตามความต้องการไปแล้ว 1,994 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 11 หากพิจารณาเฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีความต้องการใช้น้ำตลอดฤดูแล้ง รวม 4,000 ล้าน ลบ.ม. ขณะนี้ ได้จัดสรรน้ำตามความต้องการไปแล้ว 601.10 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ซึ่งถือว่ายังเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ส่วนการเกษตรในฤดูแล้งตามแผนกำหนดพื้นที่ไว้ทั้งประเทศรวม 6.85 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวนาปรัง 2.31 ล้านไร่ หรือร้อยละ 34 ของแผนฯ พืชไร่-พืชผัก 0.52 ล้านไร่ หรือร้อยละ 7 ของแผนฯ ที่เหลือเป็นพืชอื่นๆประมาณ 4.01 ล้านไร่หรือร้อยละ 59 ของแผนฯ อย่างไรก็ตามในการปลูกพืชฤดูแล้งในส่วนของลุ่มเจ้าพระยานั้น เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนจาก 4 เขื่อนหลัก มีปริมาณไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกข้าวนาปรัง กรมชลประทานจึงได้บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือจากเกษตรกรให้เพาะปลูกเพียงพืชอื่นๆ รวมจำนวน 993,215 ไร่ ยกเว้นลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งมีแหล่งน้ำต้นทุนมาจากเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ ปีนี้มีปริมาณน้ำค่อนข้างมากรวมกันมากกว่า 23,000 ล้านลบ.ม. โดยเป็นปริมาณน้ำที่ใช้งานได้มากกว่า 10,000 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งได้มีแผนเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งรวม 2.07 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวนาปรัง 0.84 ล้านไร่ หรือร้อยละ 41 ของแผนฯ พืชไร่-พืชผัก 0.17 ล้านไร่ หรือ ร้อยละ 8 ของแผนฯ) และพืชอื่นๆ 1.06 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 51 ของแผนฯ นอกจากยังจะผันน้ำมาสนับสนุนลุ่มเจ้าพระยาอีกประมาณ 500 ล้านลบ.ม. สำหรับลุ่มน้ำอื่นๆนั้น คณะกรรมการ JMC ของเขื่อนแต่ละแห่งจะเป็นผู้กำหนดว่า จะใช้น้ำเพื่อกิจกรรมใดบ้าง จำนวนเท่าไร ควรจะปลูกพืชฤดูแล้งหรือไม่ ซึ่งขณะนี้เขื่อนขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำน้อย จะต้องเฝ้าระวังและควบคุมการบริการจัดการน้ำอย่างเคร่งครัด 6 แห่ง ประกอบด้วยเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่  เขื่อนทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น  เขื่อนลำพระเพลิง จังหวัดนครราชสีมา  และเขื่อนลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

โดยพื้นที่ชลประทานของเขื่อนทั้ง 6 แห่งดังกล่าว ให้งดการทำนาปรังทั้งหมด “ขณะนี้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ และน้ำท่าในแม่น้ำสายหลักต่างๆ ทั่วประเทศมีปริมาณน้อย การจัดสรรน้ำสนันสนุนการเกษตรและการประมงต้องทำอย่างจำกัด เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน จึงต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนช่วยกันประหยัด พร้อมทั้งสร้างกระบวนการรับรู้ให้ประชาชนรับทราบข้อเท็จจริงของปริมาณน้ำที่มีอยู่ด้วย” ทวีศักดิ์
ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทานแถลงว่า ในปีนี้ปริมาณฝนตกเฉลี่ยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีอยู่ที่ 862 มิลลิเมตร น้อยกว่าเกณฑ์เฉลี่ยถึงร้อยละ 23 กรมชลประทานจึงได้่เตรียมพร้อมรับมือล่วงหน้าด้วยการใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้ ณ ปัจจุบันสามารถลดการใช้น้ำจาก 2 เขื่อนใหญ่ คือ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลได้ 17.2 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือใช้น้ำลดลงร้อยละ 34 และเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ได้อีก 22.7 ล้านลบ.ม. หรือใช้น้ำลดลงร้อยละ 27 ทั้งนี้คาดว่า ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2562 เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จะมีปริมาณน้ำเหลืออยู่ 160 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 60 ของความจุเขื่อน และเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จะมีปริมาณน้ำเหลืออยู่ 70 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 27 ของความจุเขื่อน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย และจะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

อย่างไรก็ตามเพื่อให้การปริมาณน้ำที่มีอยู่เพียงพอใช้ในทุกกิจกรรม กรมชลประทานได้วางแผนการจัดสรรน้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำต้นทุน ซึ่งจำเป็นจะต้องลดพื้นที่ปลูกพืชในฤดูแล้งลง โดยในเขตพื้นที่ชลประทานของเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลลดลงจาก 67,700 ไร่ เหลือ 40,286 ไร่ ในจำนวนนี้เป็นการลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังเหลือประมาณ 20,000 ไร่ ซึ่งจะจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้งทั้งหมด 35 ล้าน ลบ.ม. และสำรองสำหรับต้นฤดูฝนปี 2563 อีกจำนวน 35 ล้านลบ.ม. รวมทั้งยังจะจัดสรรน้ำให้พื้นที่พิเศษอีก 70 ล้าน ลบ.ม. ส่วนเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ซึ่งปริมาณน้ำค่อยข้างน้อยนั้น จะลดพื้นที่ปลูกพืชลงจาก 77,322 ไร่ ในปีที่แล้วเหลือเพียง 25,055 ไร่ โดยงดปลูกข้าวนาปรัง จะส่งน้ำให้เฉพาะไม้ผลจำนวน 14 ล้านลบ.ม. น้ำสำหรับผลิตน้ำประปา จังหวัดเชียงใหม่ 9 ล้านลบ.ม. และสำรองสำหรับต้นฤดูฝนปี 2563 จำนวน 25 ล้านลบ.ม. สำหรับการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่พิเศษบริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำปิงในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน มีพื้นที่ประมาณ 200,000 ไร่ ที่ต้องใช้น้ำจากแม่่น้ำปิงเป็นหลักนั้น จำเป็นจะต้องบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามแผนเพราะสถานการณ์น้ำในแม่น้ำปิงปีนี้น่าเป็นห่วง เนื่องจากมีปริมาณน้ำน้อยมาก ปริมาณน้ำท่าสะสมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 11 พฤศจิกายน 2562 ณ สะพานนวรัฐ มีเพียง 435 ล้านลบ.ม. น้อยกว่าเกณฑ์เฉลี่ยถึงร้อยละ 68 หรือกว่า 920 ล้านลบ.ม. ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ดังกล่าวในช่วงฤดูแล้งจะมีความต้องการประมาณ 167 ล้านลบ.ม. โดยใช้เพื่อการเกษตรกรประมาณ 145 ล้านลบ.ม. ซึ่งส่วนใหญ่จะปลูกไม้ผลเศรษฐกิจ เช่น ลำไย มะม่วง เป็นต้น ใช้เพื่อผลิตน้ำประปา 21 ล้านลบ.ม. และใช้เพื่อการท่องเที่ยว (เทศกาลสงกรานต์) 1 ล้านลบ.ม.ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่พิเศษ กรมชลประทานได้วางแผนบริหารจัดการน้ำรับมือโดยจะจัดสรรน้ำจากเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลมาช่วยระบายลงแม่น้ำปิงเพื่อช่วยพื้นที่ดังกล่าวประมาณสัปดาห์ละ 1-8 ล้านลบ.ม. จะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2563 จำนวนรวม 70 ล้านลบ.ม. และใช้น้ำจากลำน้ำสาขา เช่น น้ำแม่กาง น้ำแม่ลี้ น้ำแม่ขาน ที่ไหลเข้ามาเติมแม่น้ำปิงอีก 97 ล้านลบ.ม. พร้อมกับลดพื้นที่ปลูกนาปรังเช่นกัน จาก 29,000 ไร่เหลือ 14,000 ไร่ ทั้งนี้หากสามารถบริหารจัดการน้ำเป็นไปตามแผนที่วางไว้จะช่วยพื้นที่พิเศษพ้นวิกฤตขาดแคลนน้ำได้อย่างแน่นอน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online slot88 istanaslot istanaslot slot88 istana slot istanaslot situs slot gacor hari ini istana impian istanaimpian istanaimpian2 istanaimpian3 istanaimpian4 istanaslot istanaslot Situs Judi Slot Online daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

slot pulsa

gangster4d slot

gangster4d

istana slot

http://ukt.uhnsugriwa.ac.id/admin/slot88/

https://ishcsf.com/slot-gacor/

https://www.sos-logistica.org/wp-content/uploads/slot-demo/

https://cultura.tonala.gob.mx/

https://bma.ac.ke/wp-content/uploads/2023/

http://labiela.com/cgi-bin/slot-gacor/

https://www.ideasei.com/wp-content/slot-dana/

https://kayseriescortu.com/slot-gacor/

http://sion.uhnsugriwa.ac.id/css/slot-gacor/
https://keckarangawen.demakkab.go.id/slot-gacor/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot-toto/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot-gacor/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot88/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot777/
slot777
slot gacor
Skip to content