สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

19 มิถุนายน 2563 ติดอาวุธท้องถิ่นคืนชีพแหล่งน้ำขนาดเล็ก พลิกโฉมการจัดการน้ำประเทศไทย

ที่มา:

https://www.naewna.com/local/500151

ประเทศไทยแม้จะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ร่ำรวยไปด้วยทรัพยากรน้ำ เนื่องจากมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุม ทำให้มีฝนตกชุกทั่วพื้นที่ตลอดเวลา แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าจนถึงทุกวันนี้เรายังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำที่มีอยู่ได้อย่างเต็มศักยภาพ ทำให้หลายพื้นที่ยังคงตกอยู่ภายใต้ปัญหาน้ำท่วม และภัยแล้งซ้ำซากมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทาน ทั้งนี้หากพลิกดูฐานข้อมูลแหล่งน้ำซึ่งจัดทำโดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พบว่า จริงๆ แล้ว ประเทศไทยมีแหล่งน้ำทั้งในรูปอ่างเก็บน้ำที่สร้างขึ้นเอง และแหล่งน้ำธรรมชาติกระจายอยู่ทั่วประเทศมากถึง ๑๔๒,๙๓๑ แห่ง โดยแยกย่อยได้เป็น ๓ประเภท ดังนี้

๑. แหล่งน้ำขนาดใหญ่ขนาดเก็บกักมากกว่า ๑๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันมี ๓๘ แห่ง เป็นอ่างเก็บน้ำ ๓๖ แห่ง แหล่งน้ำธรรมชาติ ๒ แห่ง ความจุรวม ๗๑,๔๒๒ ล้านลูกบาศก์เมตร อาทิ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯบำรุงแดน เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ บึงบอระเพ็ด และบึงหนองหาร เป็นต้น ๒. แหล่งน้ำขนาดกลางขนาดเก็บกัก ๒ ล้าน – ๑๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร เช่น เขื่อนทดน้ำ ฝาย โรงสูบน้ำ และระบบส่งน้ำรวม ๖๕๙ แห่ง เป็นอ่างเก็บน้ำ ๔๔๒ แห่ง แหล่งน้ำธรรมชาติ ๒๑๗ แห่ง ความจุรวม ๖,๖๗๕ ล้านลูกบาศก์เมตร ๓. แหล่งน้ำขนาดเล็ก มีขนาดเก็บกักไม่เกิน ๒ ล้านลูกบาศก์เมตร เช่น อาคารชลประทาน ห้วย หนอง คลอง บึงและแหล่งน้ำในชุมชน โดยปัจจุบันมี ๑๔๒,๒๓๔ แห่ง เป็นอ่างเก็บน้ำ ๘๓๗ แห่ง แหล่งน้ำธรรมชาติ ๑๔๑,๓๙๗ แห่ง ความจุรวม ๕,๓๔๓ ล้านลูกบาศก์เมตร ตัวเลขทั้งหมดสะท้อนให้เราเห็นได้ว่า ในแง่ปริมาณยังถือว่า เรามีแหล่งน้ำอยู่ในมือมากพอสมควร แต่แล้วมันเกิดปัญหาอะไรขึ้น? ถึงทำให้หลายพื้นที่ยังคงต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วม และน้ำแล้งอยู่อย่างซ้ำซากเหมือนที่เกริ่นไปแล้วตอนต้นและเราจะสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร?

ดร. สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่าการบริหารจัดการน้ำที่ผ่านมามีช่องโหว่มาก เรื่องเจ้าภาพดูแลการพัฒนาแหล่งน้ำ โดยเฉพาะแหล่งน้ำขนาดเล็ก ๑๔๒,๒๓๔ แห่ง ซึ่งจากการสำรวจพบว่า มีในจำนวนดังกล่าวยังไม่มีเจ้าภาพหลักอยู่จำนวนถึง ๑๔๑,๓๓๐ แห่ง แบ่งเป็นอ่างเก็บน้ำ ๗๑๖ แห่ง และแหล่งน้ำธรรมชาติ ๑๔๐,๖๑๔ แห่งที่จนถึงทุกวันนี้ยังไม่สามารถหาเจ้าภาพหลักและวางเป้าหมายการพัฒนาในระดับพื้นที่ที่ชัดเจนได้ “แหล่งน้ำเหล่านี้จึงอยู่ในสภาพสูญเปล่า อ่างเก็บน้ำสร้างมาก็ไม่มีคนดูแล เช่นเดียวกับแหล่งน้ำธรรมชาติ คู คลอง หนอง บึงต่างๆ ที่ไม่มีใครเป็นหลักในการรักษาฟื้นฟู โดยทุกวันนี้มีเพียงแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ๓๘ แห่ง และแหล่งน้ำขนาดกลางเท่านั้นที่มีเจ้าภาพดูแลชัดเจน” ดร.สมเกียรติกล่าวและย้ำว่า ดังนั้นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่จะทำให้การบริหารจัดการน้ำเกิดประสิทธิภาพได้ในอนาคตก็คือ การสร้างกลไกการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในท้องที่ต่างๆ ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถบูรณาการเชื่อมโยงการทำงานให้ต่อเนื่องถึงกันได้ตลอดทั้งลุ่มน้ำ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

https://cutt.ly/meozcUaw https://cutt.ly/Ieozc9W8 https://cutt.ly/Teozc688 https://cutt.ly/GeozvyZf https://cutt.ly/FeozvpGX