สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

19 ธันวาคม 2562 เผยภาพจำลองหินขนาดยักษ์ที่ถล่มลงทะเล หลังด้านข้างของภูเขาไฟอะนัก กรากาตัวถล่มจนเกิดคลื่นยักษ์

ที่มา: https://www.bbc.com/thai/international-50810142

หินขนาดใหญ่เหล่านี้บางก้อนมีความสูงถึง 70 – 90 เมตร ได้ตกลงไปในน้ำ ทำให้เกิดคลื่นสูงแผ่กระจายไปยังตลอดแนวชายฝั่งของเกาะชวา และเกาะสุมาตราเมื่อ 22 ธ.ค. 2018 มีผู้เสียชีวิตบริเวณช่องแคบซุนดามากกว่า 400 คนจากหายนะภัยที่เกิดขึ้นในตอนกลางคืนครั้งนั้น ขณะที่ผู้คนอีกหลายพันคนได้รับบาดเจ็บ หรือพลัดถิ่นฐาน นับแต่นั้นมา นักวิจัยได้พยายามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด แต่การศึกษาทุกอย่างจนถึงปัจจุบัน ยังคงอ้างอิงอยู่กับสิ่งที่เห็นโผล่พ้นผิวน้ำเท่านั้น ศ.เดฟ แทปพิน และเพื่อนร่วมงาน ตระหนักว่า พวกเขาต้องตรวจสอบส่วนที่สูญหายไปของภูเขาไฟ ซึ่งขณะนี้จมอยู่ใต้ผิวน้ำ ไม่เช่นนั้น พวกเขาจะไม่มีวันอธิบายการพังถล่มลงของภูเขาไฟอะนัก กรากาตัว ได้อย่างสมบูรณ์โดยแท้จริง นักวิทยาศาสตร์นำเครื่องหยั่งน้ำลึกชนิดหลายลำคลื่น (multibeam echosounder) มาใช้ในการสร้างแผนที่ของท้องทะเลเจ้าหน้าที่จากหน่วยสำรวจธรณีวิทยาของอังกฤษ (British Geological Survey) กล่าวกับ บีบีซี นิวส์ ว่า “แบบจำลองการถล่มที่ทำขึ้นครั้งแรก ๆ อ้างอิงจากภาพถ่ายดาวเทียม ซึ่งมองเห็นเฉพาะส่วนที่ภูเขาไฟโผล่พ้นน้ำเท่านั้น”  “จากข้อมูลการหยั่งวัดความลึกของพื้นทะเล เราได้สร้างภาพจำลองที่ระดับความลึก 200 เมตร และได้พบชิ้นส่วนก้อนหินรูปทรงสามเหลี่ยม ซึ่งมีลักษณะตรงกับส่วนที่เคยอยู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของภูเขาไฟอะนัก กรากาตัว ก่อนเกิดเหตุพังถล่ม” บริเวณที่ชิ้นส่วนของภูเขาไฟตกลงไปกระจัดกระจายอยู่ที่พื้นทะเล ครอบคลุมไปจนถึงจุดที่ห่างออกไปถึง 2,000 เมตร นอกจากนี้ทีมงานยังได้สำรวจรูปแบบการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเศษชิ้นส่วนเหล่านี้ลงไปกองทับถมอยู่บนซากการระเบิดของภูเขาไฟกรากาตัวเดิมได้อย่างไร ที่สำคัญการสร้างภาพจำลองใต้น้ำยังทำให้ทีมงานของ ศ.แทปพิน ได้ปรับลดประมาณการเรื่องปริมาตรของหินที่ถล่มลงมาจากด้านข้างของภูเขาไฟด้วย โดยพบว่ามีมวลหินถล่มน้อยกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ ผลการคำนวณเดิม จากข้อมูลที่อ้างอิงการสำรวจส่วนที่หลงเหลืออยู่เหนือผิวน้ำของอะนัก กรากาตัว ซึ่งเคยมีความสูง 335 เมตร ระบุว่าปริมาตรหินที่พังถล่มลงมา น่าจะอยู่ที่ 0.27 ลูกบาศก์กิโลเมตร แต่การประเมินใหม่ในปัจจุบันระบุว่า หินที่ถล่มลงในทะเลคิดเป็น 0.19 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือเกือบ 200 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาตรของหินถล่มที่ลดลง อาจเผยให้บรรดาผู้สร้างแบบจำลองการเกิดสึนามิ ได้เห็นถึงปัญหาบางอย่าง แม้ว่าแบบจำลองสถานการณ์ที่มีอยู่เดิม ซึ่งแสดงการเกิดคลื่นจากการพังถล่มของภูเขาไฟ โดยคลื่นเคลื่อนตัวข้ามช่องแคบซุนดา จะถือว่าสอดคล้องกับผลการวัดความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล และขอบเขตความเสียหายที่เกิดขึ้นตามแนวชายฝั่งที่อยู่ใกล้เคียงก็ตาม แต่ในปัจจุบันแบบจำลองเหล่านี้จะต้องผ่านการปรับคำนวณใหม่ โดยใช้ตัวเลขของปริมาตรหินถล่มที่น้อยลง นอกจากนี้ทีมงานของศ.แทปพิน ยังค้นพบว่า ระนาบการพังถล่มในบางส่วนของภูเขาไฟอะนัก กรากาตัว มีความลาดชันไม่มากเท่ากับที่เคยคาดการณ์ไว้แต่แรก แม้ผู้เชี่ยวชาญจะเคยคาดกันว่า ส่วนที่พังถล่มของอะนัก กรากาตัว ไถลตัวลงไปในทะเลจากมุมที่มีความชันสูง และตกลงไปในแอ่งที่เกิดจากการระเบิดส่วนยอดของภูเขาไฟลูกเก่าในปี 1883 แต่พวกเขาเห็นได้ชัดในขณะนี้ว่า แนวลาดชันที่เกิดจากการถล่มยื่นลงไปจรดน้ำทะเลในบริเวณที่ตื้น และใกล้ผิวน้ำมากกว่าที่คาด ศ.สตีเฟน กริลลี จากมหาวิทยาลัยโรดไอส์แลนด์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสึนามิ อธิบายว่า “เราได้สร้างแบบจำลองสภาพของหินถล่มที่พื้นทะเลในระยะใกล้โดยรอบใหม่ โดยใช้ข้อมูลสร้างภาพที่มีความละเอียดมากขึ้น จากการวัดระดับความลึกของน้ำทะเลใหม่ และก็ยังคงได้ผลออกมาแทบไม่ต่างจากเดิม ทั้งที่ปริมาตรหินถล่มน้อยลง” “ลักษณะการพังถล่มด้วยมุมที่ไม่สูงชันมากนัก คล้ายกับการกระโดดด้วยสกี ทำให้ส่วนที่พังถล่มลงมากองอยู่ใกล้กับผิวน้ำมากขึ้น และเอื้อต่อการเกิดคลื่นสึนามิได้มากกว่าการพังถล่มจากมุมที่สูงชันกว่านี้ ซึ่งแบบหลังจะทำให้เศษหินลงไปอยู่ลึกกว่าในระยะเวลาที่สั้นกว่ามาก” ศ.แทปพิน และศ.กริลลี ได้กล่าวบรรยายเรื่องนี้ในที่ประชุมประจำฤดูใบไม้ร่วงของสหภาพธรณีฟิสิกส์อเมริกัน (AGU) ในนครซานฟรานซิสโก โดยเป็นครั้งแรกที่พวกเขาได้มีโอกาสนำเสนอการค้นพบแก่ผู้คนในวงการวิทยาศาสตร์อย่างกว้างขวางมากขึ้น ศ.เฮอร์แมนน์ ฟริตซ์ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งจอร์เจีย (Georgia Institute of Technology) ได้ขึ้นกล่าวบรรยายที่งานนี้ด้วยเช่นกัน เขาได้วิเคราะห์ความเสียหายที่เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่งใกล้เคียงอะนัก กรากาตัว โดยศึกษาจากสภาพพื้นที่บนบกว่า คลื่นสึนามิสูงขนาดไหน และซัดเข้าฝั่งไปไกลแค่ไหน ศ. ฟริตซ์พบว่า บนเกาะต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในระยะประชิดกับภูเขาไฟอะนัก กรากาตัว ต้นไม้ที่มีความสูงถึง 80 เมตรจากระดับน้ำทะเลปกติ ถูกโค่นแบบถอนราก พลังงานจากคลื่นส่วนใหญ่ แผ่ออกจากภูเขาไฟในทิศทางเดียวกับการถล่มลงของมวลหินด้านตะวันตกเฉียงใต้ ส่งผลให้เกิดคลื่นสูง 10 เมตร สร้างความเสียหายแก่มุมหนึ่งของอุทยานแห่งชาติอูจุง กูลอน (Ujung Kulon National Park) บนเกาะปาไนตัน (Panaitan) ซึ่งอยู่ห่างจากภูเขาไฟอะนัก กรากาตัว ราว 50 กม. ศ.ฟริตซ์ กล่าวว่า “ชาวบ้านในพื้นที่โชคดีมากที่การพังถล่มนี้เกิดขึ้นทางตะวันตกเฉียงใต้ และคลื่นมุ่งหน้าไปทางอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ไม่มาก”  “ถ้าทิศทางการถล่มต่างไปจากนี้ ผลที่เกิดขึ้นก็จะต่างไปอย่างมาก ในแง่ความสูงของคลื่นสึนามิซึ่งจะซัดถล่มบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น” บทเรียนจากภูเขาไฟอะนัก กรากาตัว กำลังถูกนำไปใช้ประเมินอันตรายที่อาจเกิดจากภูเขาไฟลูกอื่น ๆ โดยมีภูเขาไฟราว 40 ลูกทั่วโลกที่มีการประเมินแล้วว่าอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากด้านข้างของภูเขาไฟพังถล่มลงในน้ำทะเลที่อยู่ล้อมรอบ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

https://cutt.ly/meozcUaw https://cutt.ly/Ieozc9W8 https://cutt.ly/Teozc688 https://cutt.ly/GeozvyZf https://cutt.ly/FeozvpGX