18 กรกฎาคม 2566 คืนเขาหัวโล้น ‘ปลูกป่าคาร์บอนเครดิต’ ลดก๊าซเรือนกระจก ได้ป่า ได้เงิน

การปลูกป่าบนพื้นที่เขาหัวโล้น

ที่มา https://www.komchadluek.net/quality-life/well-being/553819

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พัฒนาแผนเพิ่มพื้นที่สีเขียว ใน “โครงการปลูกป่าล้านไร่อย่างมีส่วนร่วม” โดยให้เกษตรกรเจ้าของพื้นที่ดูแลต้นไม้จนเติบใหญ่เพียงพอให้ต้นไม้ดูดซับ CO2 กลับเข้าไป และเกษตรกรขาย CO2 ให้กับ กฟผ. ผ่านโมเดล “ปลูกป่าวนเกษตรอย่างมีส่วนร่วมผ่านกลไกคาร์บอนเครดิตแบบผูกพัน” (T-VER) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “คาร์บอนเครดิต“

  กฟผ. ส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงปลูกพืชวนเกษตร ผสมผสานระหว่างพืชเศรษฐกิจ เช่น แมคคาเดเมีย อะโวคาโด กาแฟ กล้วย เป็นต้น ควบคู่กับการปลูกไม้ผลยืนต้นที่มีเนื้อไม้และมีวงปี เช่น ลำไย มะขามป้อม มะม่วง เป็นต้น เพื่อดูดซับกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเพิ่มพื้นที่ป่าถาวร
ในชุมชน

  ในขณะเดียวกัน กฟผ. จะร่วมสนับสนุนการประยุกต์องค์ความรู้ด้านคาร์บอนเครดิต ศึกษาสภาพทางกายภาพ และจัดเก็บข้อมูลพื้นที่ปลูกของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ T-VER
เพื่อดำเนินการขอขึ้นทะเบียนและรับรองคาร์บอนเครดิตจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) โดยเมื่อเกษตรกรดูแลบำรุงรักษาไม้ยืนต้นให้อยู่รอดเติบโตจนถึงประมาณ
ปีที่ 5 เกษตรกรจะสามารถเริ่มขายคาร์บอนเครดิตเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง และสามารถเก็บเป็นสินทรัพย์ที่ส่งต่อให้ลูกหลานได้ในอนาคต 

  กฟผ. เชื่อมั่นว่าโมเดลการปลูกป่าวนเกษตรอย่างมีส่วนร่วม ที่เราช่วยสนับสนุนการรับรองคาร์บอนเครดิตจนถึงการรับซื้อคาร์บอนเครดิต จะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาชุมชน
ให้เข้มแข็งตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน และลดก๊าซ
เรือนกระจกได้อย่างเป็นรูปธรรม นำมาซึ่งความมั่นคงทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างแท้จริง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy