สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

17 เมษายน 2563 ทช. เผยประชาชนงดเที่ยวทะเลช่วงโควิด-19 พบว่า ชายหาดภูเก็ตและพังงาสะอาด ทำให้เต่ามะเฟืองกลับมาวางไข่มากขึ้น

ที่มา : http://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG200417101435685

นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาเราจะพบแม่เต่ามะเฟืองขึ้นวางไข่ตามแนวชายฝั่งอันดามัน จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดพังงา รวมทั้งสิ้น 11 รัง ก่อนที่ลูกเต่ามะเฟืองจะทยอยฟักออกมา และพากันคลานลงสู่ทะเลตรงกับช่วงที่โรคโควิด-19 กำลังระบาดหนักไปทั่วประเทศ ลูกเต่ามะเฟืองเกิดใหม่ในฤดูนี้มีปริมาณมากกว่าฤดูอื่น ในรอบกว่าสองทศวรรษ สำหรับปรากฏการณ์ฤดูวางไข่ ตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน 2562 มีรายงานว่า พบแม่เต่ามะเฟือง 4 – 5 ตัว ขึ้นวางไข่ 4 พื้นที่ ได้แก่ หาดบ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา หาดท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เกาะคอเขา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา และหาดทรายแก้ว – หาดไม้ขาว – หาดในทอน อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต รวมทั้งหมด 11 รัง (ถูกขโมย 1 รัง) แต่ละรังมีไข่ประมาณ 60 – 120 ฟอง โดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลาในการฟักตัวประมาณ 55 – 60 วัน ในระหว่างนี้อุณหภูมิจะเป็นตัวแปรที่สำคัญต่ออัตราการฟัก ระยะเวลาที่ใช้ฟักและที่สำคัญเป็นตัวกำหนดเพศของลูกเต่า

อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันเต่ามะเฟืองตกอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งสาเหตุสำคัญก็เนื่องจากผลกระทบจากการทำประมง แหล่งวางไข่ถูกรบกวนจากการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยว การลักลอบเก็บไข่เต่า และขยะทะเล ซึ่งที่ผ่านมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กำชับให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดเวรยามเฝ้าระวังเพื่อความปลอดภัย พร้อมจัดทีมนักวิชาการลงพื้นที่ และติดตั้งระบบติดตามเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อวิเคราะห์และวางมาตรการดูแลเต่ามะเฟืองให้ดีที่สุด รวมทั้งหาวิธีให้ประชาชนรับทราบข่าว และสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ เช่นเดียวกับกรณี น้องพะยูน และมาเรียม เพราะว่าหากปล่อยให้มีการชมหรือเข้าถึงอย่างใกล้ชิด อาจจะเกิดการรบกวนหรือทำให้การฟักตัวไม่สมบูรณ์ก็เป็นได้ นอกจากเต่ามะเฟืองแล้ว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ให้ความสำคัญกับสัตว์ป่าสงวนรวมถึงสัตว์ทะเลหายากทุกชนิด โดยเตรียมหามาตรการและประสานความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงสร้างเครือข่ายภาคประชาชน ให้ช่วยกันสอดส่องและดูแลทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ให้คงอยู่ต่อไป

การลดลงของนักท่องเที่ยวน่าจะมีผลดีต่อระบบนิเวศทางทะเล เพราะว่าเมื่อมนุษย์ใช้พื้นที่และทรัพยากรน้อยลง สัตว์ทะเลหายากก็ได้กลับมาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านี้มากขึ้น ทั้งนี้ ทางกรมฯ ยังไม่ได้เก็บข้อมูลที่ชัดเจนถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพชายหาดและระบบนิเวศทางทะเลหลังจากเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้นักท่องเที่ยวลดลง แต่โดยหลักการแล้วปริมาณนักท่องเที่ยวที่น้อยลง ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งน้อยลง น้ำเน่าเสีย ของเสีย และขยะต่างๆ ก็ลดลงตามไปด้วย จึงมีโอกาสที่ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งสัตว์ทะเลหายาก และระบบนิเวศทางทะเล ได้พักและฟื้นตัวกลับมาเหมือนเดิมอีกครั้ง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

https://cutt.ly/meozcUaw https://cutt.ly/Ieozc9W8 https://cutt.ly/Teozc688 https://cutt.ly/GeozvyZf https://cutt.ly/FeozvpGX