16 มิถุนายน 2564 SDG Updates เปิดรายงาน Sustainable Development Report และ SDG Index 2021

ที่มา: https://www.sdgmove.com/2021/06/14/sdg-updates-sustainable-development-report-sdg-index-2021/

การติดตามและประเมินผลเป็นหนึ่งในกระบวนการที่ทำให้การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) วาระการพัฒนา 2030 (Agenda 2030) เกิดขึ้นจริง และเป็นกระบวนการที่สะท้อนสถานการณ์ ความก้าวหน้า และความท้าทายที่โลกเผชิญเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ หนึ่งในเครื่องมือติดตามประเมินผลที่จัดทำออกมาอย่างสม่ำสมอและทั่วโลกให้การยอมรับ คือ Sustainable Development Report และการจัดอันดับ SDG Index ที่จัดทำโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN)  ซึ่งเป็นเป็นดัชนี SDGs หนึ่งเดียวในโลกที่ดำเนินต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 เป็นต้นมา สำหรับในปีนี้ SDSN เปิดตัวรายงาน และเผยแพร่ SDG Index ให้เห็นสถานการณ์ ความก้าวหน้า และประเด็นท้าทายทั้งในภาพรวมระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ โดยรายงานมีโครงสร้าง 5 ส่วน ประกอบด้วย

ส่วนที่ 1 ความสำคัญของการเพิ่มพื้นที่ทางการเงินในการพัฒนาประเทศเพื่อให้บรรลุ SDGs โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และประเทศพัฒนาน้อยที่สุด Least Developed Countries (LDCs)

ส่วนที่ 2 นำเสนอ SDG Index และ SDG Dashboard นำเสนอดัชนีและคะแนนของแต่ละประเทศรวมไปถึงระดับความท้าทายรายเป้าหมาย SDGs ตามสถานการณ์ของภูมิภาค รวมถึงผลกระทบจากการระบาดของ
โควิด-19

ส่วนที่ 3 นำเสนอความสำคัญของการผลักดันเชิงนโยบายและกรอบการติดตามประเมินผล SDGs

ส่วนที่ 4 วิธีการคำนวณและตารางข้อมูล

ส่วนที่ 5 ข้อมูลสถานการณ์รายประเทศในส่วนนี้จะแสดงข้อมูลสถานะ แนวโน้มการพัฒนาของแต่ละประเทศ

สถานการณ์ภาพรวมในระดับโลก

นับตั้งแต่มีการจัดอันดับ SDG Index ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 คะแนนดัชนี SDGs ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าแต่ละประเทศมีการดำเนินงานคืบหน้ามากน้อยเพียงใดนั้นมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี อันอาจหมายความว่า ประเทศสมาชิกมีความพยายามในการขับเคลื่อน SDGs อย่างต่อเนื่อง ทว่าในปีนี้ (ค.ศ.2021)  คะแนนดัชนี SDGs เฉลี่ยกลับลดลงกว่าปีก่อนหน้าอันเป็นผลมาจากอัตราความยากจนและสถิติการว่างงานที่เพิ่มขึ้นจากการระบาดของโควิด–19 โดยนี่เป็นครั้งแรกที่คะแนนดัชนี SDGs ทั่วโลกลดลงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากปีก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่าการระบาดของ โควิด–19 กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) เป็นไปได้ยากขึ้น อย่างไรก็ตาม ระดับที่ลดลงนี้อาจถูกประเมินต่ำกว่าความเป็นจริงเนื่องจากความล่าช้าทางด้านเวลาของข้อมูลสถิติระหว่างประเทศ

เมื่อพิจารณาความก้าวหน้าในรายเป้าหมายดังภาพที่ 2  แผนภาพนี้แสดงความก้าวหน้าของแต่ละเป้าหมายนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 ออกมาในรูปแบบของร้อยละจุด (Percentage point: p.p.) จะเห็นว่าเป้าหมาย ส่วนใหญ่มีแนวโน้มไปในเชิงบวก โดยเป้าหมายที่มีความก้าวหน้ามากที่สุด ได้แก่ SDG 9 ส่งเสริมอุตสาหกรรม นวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน 8.6 p.p. แต่ก็ยังมีเป้าหมายที่มีความก้าวหน้าน้อยโดยรายงานระบุว่าเป้าหมายที่มีความก้าวหน้าต่ำกว่า 1 p.p.  ซึ่งล้วนแต่เป็นเป้าหมายกลุ่มสิ่งแวดล้อม (Planet) ทั้งสิ้น ได้แก่  

  • SDG 6 การมีน้ำสะอาดและสุขอนามัยที่ดี                                            0.4 p.p.
  • SDG 12 การมีแบบแผนการผลิตและการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ        -0.4 p.p.
  • SDG 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ                               0.4 p.p.
  • SDG 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล                    0.1 p.p.
  • SDG 15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก                                     -03 p.p.

มีข้อสังเกตว่าในจำนวนนี้มีเป้าหมายที่มีค่าเป็นลบกล่าวคือ เป็นเป้าหมายที่การดำเนินงานถดถอยยิ่งกว่าปี ค.ศ.2015 ได้แก่ SDG 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน – 0.4 p.p. และ SDG 15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบนบก -0.3 p.p. สะท้อนว่าการดำเนินการที่ทุกประเทศได้ปฏิบัติตลอด 6 ปี
ที่ผ่านมายังไม่เข้มข้นมากพอที่จะฟื้นฟูทรัพยากรทางธรรมชาติ

ในด้านความพร้อมของข้อมูลพบว่า ช่องว่างขนาดใหญ่ในสถิติทางการยังคงเป็นประเด็นของจำนวนประเทศที่มีความสามารถในการเก็บข้อมูลที่ครอบคลุม และทันต่อความต้องการใช้ข้อมูลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง SDG 4 (มีคุณภาพด้านการศึกษา),  SDG 5 (ความเท่าเทียมระหว่างเพศ), SDG 12 (การมีแบบแผนการผลิตแลการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ), SDG 13 (การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) และ SDG 14 (การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล)

สำหรับภูมิภาคที่มีความก้าวหน้าในการขับเคลื่อน SDGs มากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ คือ เอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ ทั้งเมื่อเปรียบเทียบกับปี ค.ศ. 2010 และตั้งแต่การรับรองเป้าหมายดังกล่าวในปี ค.ศ. 2015 โดยสามประเทศที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดตามคะแนนดัชนี SDG ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 ได้แก่ บังกลาเทศ โกตดิวัวร์ และอัฟกานิสถาน ในประเทศที่ก้าวหน้ามากที่สุดนี้มีข้อมูลฐานตั้งต้น (baseline) ที่ห่างไกลจากความยั่งยืนมากกว่าประเทศอื่น ส่วนสามประเทศที่ความก้าวหน้าถดถอยมากที่สุด คือ เวเนซุเอลา ตูวาลู และบราซิล

สถานการณ์ของอาเซียน

ในการประมวลผลของรายงาน SD Report 2021 อาเซียนจะจัดอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ที่มีความก้าวหน้าในการดำเนินงานมากที่สุด เมื่อนำข้อมูลรายประเทศมาประมวลผลเบื้องต้นพบว่า คะแนนดัชนี SDGs เฉลี่ยของอาเซียนอยู่ที่ 67.93 คะแนน สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอชียใต้ที่แสดงในรายงานมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 65.7 ประเทศที่มีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยภูมิภาค ได้แก่ อินโดนีเซีย (66.3 คะแนน) เมียนมา (64.9 คะแนน) กัมพูชา (64.5 คะแนน) ฟิลิปปินส์ (64.5 คะแนน) และ ลาว (63 คะแนน)

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในรายเป้าหมายพบว่า เป้าหมาย SDGs ที่ประเทศอาเซียนถูกจัดให้อยู่ในสถานะท้าทายมาก (สีแดง) โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในเป้าหมายต่อไปนี้

SDG 2 ยุติความหิวโหย จำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไนดารุสซาลาม ฟิลิปปินส์

SDG 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี จำนวน 8 ประเทศ ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เมียนมา ไทย

SDG 6 น้ำสะอาดและสุขาภิบาล จำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ ลาว กัมพูชา สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เมียนมา

SDG 9 ส่งเสริมอุตสาหกรรม นวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน 6 จำนวน ประเทศ ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์  เมียนมา

SDG 10 ลดความเหลื่อมล้ำ จำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย

SDG 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล จำนวน 8 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไนดารุสซาลาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เมียนมา ไทย

SDG 15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกเป็นประเด็นที่ทุกประเทศสมาชิกอยู่ในสถานะท้าทายมาก (สีแดง)

SDG  16 สังคมสงบสุข และยุติธรรมสถาบันอันเป็นที่พึ่งของส่วนร่วม จำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เมียนมา

สถานการณ์ของประเทศไทย

ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่มีความกระตือรือร้นในการนำ SDGs เข้ามาผนวกเป็นเป้าหมายในการพัฒนาของประเทศดังปรากฏในแผนพัฒนาระดับประเทศไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับที่ 12 เป็นต้นมา ตลอดจนความตื่นตัวของภาคเอกชน ภาคประชาสังคมส่งผลให้อันดับและคะแนนของประเทศไทยอยู่ในระดับที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน

ในปีนี้ (2021) ดัชนี SDGs ของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 43 จาก 165 ประเทศ ตกลงมาจากเดิมในปี ค.ศ.2020 ที่อยู่ในอันดับ 41 จาก 166 ประเทศ คะแนนดัชนีของปีนี้ (2021) อยู่ที่ 74.2 คะแนน ต่ำกว่าปี ค.ศ.2020 ที่ได้ 74.5 คะแนน เพียงเล็กน้อย แต่ถือว่าสอดคล้องกับทิศทางของทั่วโลกที่มีคะแนนดัชนี SDGs ลดลงจากปีก่อนหน้า  ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบอันดับกับประเทศในทวีปเอเชียพบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของเอเชีย รองจากญี่ปุ่น (อันดับ 18) และเกาหลีใต้ (อันดับ 28) ตามลำดับ และยังคงเป็นประเทศที่มีคะแนนดัชนี SDGs สูงที่สุดในอาเซียนติดต่อกันเป็นปีที่ 3 (2562 – ปัจจุบัน)

สถานการณ์รายเป้าหมายในปีนี้ เป้าหมายที่ประเทศไทยบรรลุแล้ว (สีเขียว) คือ SDG 1 ยุติความยากจน โดยตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้วัดจากจำนวนประชากรที่อยู่ในภายใต้เส้นความยากจนต่ำสุดที่เกณฑ์ของธนาคารโลกกำหนดไว้ที่ 1.9 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา หรือประมาณ 60 บาท/วัน อย่างไรก็ตามหากพิจารณาตามเส้นความยากจนภายในประเทศปัจจุบันถือว่าผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า 3,000 บาท/เดือน เป็นคนยากจน ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์ความยากจนและเหลื่อมล้ำในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการรายงานสถานการณ์ล่าสุดของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า ประเทศไทยจะยังมีคนยากจนอยู่ราวร้อยละ 6.24 ของประชากรในปี ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562)

ส่วนเป้าหมายที่มีความท้าทายสูง (สีแดง) จำนวน 5 เป้าหมาย โดยเมื่อพิจารณาระดับตัวชี้วัดจะพบว่าประเด็นที่เป็นความท้าทายของประเทศไทย ได้แก่        

SDG 2 ขจัดความหิวโหย ประเด็นที่มีสถานะท้าทายสูงคือ ดัชนีการบริหารจัดการไนโตรเจนที่ยั่งยืน และปริมาณการส่งออกสารกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตราย

SDG 3 มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ประเด็นที่มีสถานะท้าทายสูงคือ อัตราผู้ป่วยวัณโรค และอัตราการตายบนท้องถนน

SDG 10 ลดความเหลื่อมล้ำ ประเด็นที่มีสถานะท้าทายสูงคือ สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำระหว่างรายได้ของ
ผู้มีรายได้ และสัดส่วนพัลมา (palma ratio)

SDG 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล ประเด็นที่มีสถานะท้าทายสูงคือ พื้นที่ทางทะเลที่ได้รับความคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ ความสะอาดของน้ำทะเล และการจับปลาในปริมาณมากเกินกว่าประโยชน์ที่ได้รับ

SDG 15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบนบก ประเด็นที่มีสถานะท้าทายสูงคือ การคุ้มครองความหลากหลายของระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำ และดัชนีสายพันธุ์สิ่งหายาก

ในเบื้องต้นมีข้อสังเกตว่าประเด็นที่มีความท้าทายมาก (สีแดง) นั้นเพิ่มขึ้นจากเดิมปี ค.ศ. 2020 มีเป้าหมายที่ถูกจัดให้อยู่ในระดับความท้าทายสูง (สีแดง) เพียง 2 เป้าหมาย คือ SDG 3 มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี SDG 10 ลดความเหลื่อมล้ำ ในจำนวนนี้มีเป้าหมายที่มีการดำเนินงานถดถอยลงจากปีก่อนคือ SDG 15

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content