13 เมษายน 2563 แรงบันดาลใจค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/society/1818738
เมื่อปี พ.ศ. 2553 ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นค้นพบแบคทีเรียในตัวอย่างหินที่เขารวบรวมจากโครงการเจาะมหาสมุทร Integrated Ocean Drilling Program (IODP) ในแถบแปซิฟิกใต้ โดยใช้ท่อโลหะยาว 5.7 กิโลเมตรเจาะพื้นมหาสมุทรลงไปใต้พื้นทะเล 125 เมตร และดึงแกนตัวอย่างการวิจัยออกมา โดยแต่ละอันยาวประมาณ 6.2 เซนติเมตร 75 เมตร รวมถึงหินแข็งอีก 40 เมตร นักวิจัยคาดการณ์ว่า รอยแตกของหินแข็งใต้ทะเลลึก เกิดจากภูเขาไฟใต้ทะเลพ่นลาวาที่อุณหภูมิประมาณ 1,200 องศาเซลเซียส จนในที่สุดก็เกิดการแตก และเมื่อเย็นตัวลงก็กลายเป็นหิน รอยแตกมีความแคบน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร โดยช่วงเวลากว่าล้านปี รอยแตกเหล่านี้จึงเต็มไปด้วยแร่ดินเหนียว ซึ่งเป็นดินเหนียวเดียวกับที่ใช้ทำเครื่องปั้นดินเผา และแบคทีเรียก็ได้เข้าไปอยู่ในรอยแตกเหล่านั้น และแพร่ขยายเป็นชุมชนแบคทีเรีย การวิเคราะห์จีโนมหรือข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมด สามารถระบุชนิดของแบคทีเรียที่แตกต่างกัน ซึ่งอาศัยอยู่ในรอยแตก แม้ทีมวิจัยจะมองว่าการค้นพบสิ่งมีชีวิตในหินแข็งใต้พื้นทะเล เป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด แต่สิ่งนี้อาจจะเปลี่ยนแนวทางในการค้นหาสิ่งมีชีวิตในอวกาศได้ โดยเฉพาะบนดาวอังคาร