สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

13 เมษายน 2563 ป่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์สมบูรณ์จริง พบซากกวางป่าคาปลักน้ำ ถูกเสือโคร่งขย้ำจนตาย

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/local/central/1819193

นายกิติพัฒน์ ธาราภิบาล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จ. กำแพงเพชร – นครสวรรค์ได้รับแจ้งว่า พบซากกวางป่าจำนวน 1 ตัว บริเวณปลักน้ำในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เขตหมู่ 24 ต. แม่เล่ย์ อ. แม่วงก์ จ.นครสวรรค์ สั่งการให้นายวีระเชษฐ์ ปุพพโก นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ และคณะเข้าพื้นที่ไปตรวจสอบพิสูจน์ซากกวางป่าตัวดังกล่าว จากนั้นจึงรายงานต่อให้นายธนิตย์ หนูยิ้ม ผอ. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เดินทางไปจุดเกิดเหตุ พบว่า เป็นซากกวางป่า เพศผู้ ตัวเต็มวัย น้ำหนักประมาณ 180 กิโลกรัม นอนตายบริเวณในปลักน้ำของคลองแม่เรวา ใกล้แปลงปลูกป่าของหน่วยจัดการต้นน้ำขุนน้ำเย็นอยู่กลางป่าลึก ลึกเข้าไปจากแนวเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ประมาณ 10 กิโลเมตร มีร่องรอยบาดแผลเป็นรอยเขี้ยวบริเวณคอและบริเวณลำตัว และใกล้ๆ กันพบรอยตีนเสือโคร่งขนาดใหญ่หลายรอย

จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า ซากกวางป่าเริ่มอืดส่งกลิ่นและมีแมลงวันตอม พบรอยเขี้ยวของเสือโคร่งที่ตรงคอ และลำตัวของกวางป่าอย่างชัดเจนพบว่า พื้นที่บริเวณนั้นแห้งแล้งมาก ในช่วงเส้นทางเดินทางเข้าจุดเกิดเหตุนั่งรถผ่านกว่า 10 กิโลเมตร ไม่พบแหล่งน้ำเลย คงมีจุดนี้จุดเดียวที่ยังมีน้ำขังเป็นปลักโคลนอยู่ คาดว่ากวางป่าคงจะลงมากินน้ำ แล้วโดนเสือโคร่งที่ซุ่มเงียบอยู่กระโจนเข้ามาล่าตอนที่กวางป่าไม่ทันระวังตัวขณะกำลังกิน กวางป่าดิ้นรนและขาดใจตายในเวลาไม่นานนัก หลังจากถูกเสือโคร่งกัดที่บริเวณลำคอ จากการตรวจสอบกล้องดักถ่ายภาพในป่าที่ติดไว้ตามต้นไม้ ปรากฏว่า ไม่เห็นภาพเสือโคร่ง อาจจะยังไม่กล้าเข้ามาหาเหยื่อที่ล่าไว้ เนื่องจากกลัวคน พบแต่รอยเท้าใหม่รอบๆ ซากกวางป่าหลายจุด หากถ่ายภาพได้จะทราบว่าเป็นเสือโคร่งตัวใด มาจากแหล่งอาศัยถิ่นไหน เพราะขณะนี้ส่วนใหญ่แล้วเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และเจ้าหน้าที่ WWF มีฐานข้อมูลเสือโคร่งในผืนป่าตะวันตกอยู่แล้ว

เจ้าหน้าที่ WWF แจ้งเหตุและปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อวิเคราะห์สาเหตุการตายของกวางป่า และแผนการที่จะร่วมกันเก็บข้อมูล และนำกล้องดักถ่าย camera taps จำนวน 3 กล้อง ไปติดตั้งไว้รอบซากกวางป่าเพื่อดักถ่ายต่อไป จากเหตุการณ์ที่พบเสือล่าเหยื่อในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ถึง 2 ครั้ง ในเวลาที่ไม่ห่างกันมากนักนั้น ถือได้ว่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์เป็นผืนป่าที่มีความสำคัญในการจะใช้เป็นพื้นที่รองรับการกระจายของเสือโคร่งจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งถือเป็นแหล่งผลิตเสือโคร่ง (tiger source site) ที่สำคัญของประเทศไทย ที่เป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตกที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ และมีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชพรรณและสัตว์ป่าสูง ดังนั้นอุทยานแห่งชาติแม่วงก์จึงเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมยิ่งในการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างเสือโคร่งให้คงอยู่กับโลกของเราตลอดไป

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

https://cutt.ly/meozcUaw https://cutt.ly/Ieozc9W8 https://cutt.ly/Teozc688 https://cutt.ly/GeozvyZf https://cutt.ly/FeozvpGX