13 สิงหาคม 2563 เสือดำ=เสือดาว มีลวดลายเหมือนเสือดาว เพียงแต่มองเห็นได้ยาก

ที่มา:
https://www.thairath.co.th/news/local/1908925
เสือดำเป็นสัตว์ชนิดเดียวกับเสือดาว แต่มีสีขนที่เป็นสีดำ เกิดจากยีนที่เรียกว่า Agouti มีหน้าที่ควบคุมการกระจายตัวของสารสี (pigment) สีดำภายในเส้นขน และการเกิดสีดำยังมีสาเหตุจากมีเมลานิน หรือสารที่ทำให้เกิดผิวสีแทน มีมากผิดปกติ ซึ่งความผิดปกตินี้เรียกว่า “melanistic” แม้ผู้พบเห็นจะเรียกชื่อกันว่า “เสือดำ” แต่ไม่ได้หมายความว่า เสือดำจะไม่มีลวดลาย เสือดำนั้นมีลวดลายเหมือนเสือดาว เพียงแต่มองเห็นได้ยากเท่านั้น ต้องมีแสงส่องตกกระทบตัวในมุมที่พอดี จึงสามารถเห็นลวดลายบนตัวเสือดำได้
ลักษณะนิสัยโดยทั่วไป ปีนต้นไม้เก่งกว่าเสือโคร่ง ว่องไว ดุร้าย แต่รักสันโดษชอบหลบซ่อนตัว มักอยู่เป็นคู่ในระยะผสมพันธุ์เท่านั้น สามารถผสมพันธุ์ ได้ตลอดปี ตั้งท้องนาน ๙๘ – ๑๐๕ วัน ออกลูกครั้งละ ๑ – ๕ ตัว อายุเฉลี่ย ๒๐ ปี ในประเทศไทยเสือดำที่พบเป็นชนิดพันธุ์ย่อยของเสือดาว (Indochinese leopard) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Panthera pardus delacouri มีรายงานการกระจายพันธุ์จากประเทศอินโดนีเซียถึงจีนตอนใต้ถูกจัดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ (endan-gered : EN) ในบัญชีชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN Red List) และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายของไทย
จากการสำรวจของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช เมื่อปี ๒๕๖๑ มีเสือดาว ๑๐๐ – ๑๓๐ ตัว ในจำนวนนี้เป็นเสือดำอยู่เพียงแค่ ๑๕ ตัวเท่านั้น ผืนป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ห้วยขาแข้ง เป็นป่าที่มีประชากรเสือดาวและเสือดำเยอะที่สุดในประเทศไทย