13 มีนาคม 2568 นักวิชาการแนะเสริม “สิทธิการซ่อม” ดัน BCG รับมือวิกฤตสิ่งแวดล้อม

ที่มา : Posttoday (https://www.posttoday.com/smart-life/720804)

ประเทศไทยกำลังพิจารณากฎหมาย “Lemon Law” เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค แต่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ยังไม่เพียงพอต่อการส่งเสริมสิทธิในการซ่อมแซม (Right to Repair – R2R) เป็นแนวทางที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจหมุนเวียน

ขณะที่ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดชอบเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า หรือ “Lemon Law” ของประเทศไทย กำลังรอการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นไปที่การคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีสินค้าชำรุดบกพร่อง โดยกำหนดให้ผู้ขายต้องรับผิดชอบในการซ่อมแซม เปลี่ยนสินค้า ลดราคา หรือคืนเงิน

อย่างไรก็ตาม นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมมองว่า กฎหมายดังกล่าวยังขาดมิติที่สำคัญคือ “สิทธิในการซ่อมแซม (Right to Repair – R2R)” ซึ่งเป็นหลักการที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการซ่อมแซมผลิตภัณฑ์เพื่อลดขยะอิเล็กทรอนิกส์

งานวิจัยล่าสุดจากสถาบันนโยบายสาธารณะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA-PP) ร่วมกับ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) ได้ลงสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการร้านซ่อมอิสระกว่า 40 รายในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นถึง ความท้าทาย ที่ภาคส่วนนี้กำลังเผชิญอยู่

ประเทศไทยเป็นตลาดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ มีการนำเข้าสมาร์ทโฟนถึง 14 ล้านเครื่องในปี 2566 และคาดการณ์ว่าตลาดจะเติบโตอีกเกือบ 100% ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าในทางกลับกัน ประเทศไทยกำลังเผชิญกับ วิกฤตขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่คิดเป็น 65% ของขยะอันตรายจากชุมชน หรือราว 450,000 ตันต่อปี

โดยขยะจากโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตมีสัดส่วนกว่า 25,000 ตัน แต่กลับมีเพียง 21% เท่านั้นที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง

ขณะที่ นายเอ็ดเวิร์ด แรตคลิฟฟ์ กรรมการบริหาร SEA-PP เผยว่า “กว่า 50% ของร้านซ่อมอิสระ ไม่มีคู่มือการซ่อม และเกือบทั้งหมด (96%) ไม่สามารถเข้าถึงอะไหล่แท้ จากศูนย์บริการที่ได้รับอนุญาต“ ความยากลำบากในการเข้าถึงข้อมูลและชิ้นส่วนเหล่านี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความน่าเชื่อถือของร้านซ่อมอิสระ และบั่นทอนความมั่นใจของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการซ่อมแซม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy