สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

13 มีนาคม 2563 พบแนวโน้มประชากรช้างป่าเพิ่มขึ้น จากการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างช้างป่ากับชุมชนอย่างจริงจัง

ที่มา: http://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG200313083641905

นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวเนื่องในวันช้างไทย ประจำปี 2563 ตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปีว่า ปัจจุบันช้างป่าอาศัยอยู่ตามธรรมชาติประมาณ 3,168 – 3,440 ตัว อาศัยอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ 69 แห่ง ที่มีผืนป่าที่เป็นแหล่งอาศัยของช้างป่าประมาณ 52,000 ตารางกิโลเมตร พบช้างป่าได้ตั้งแต่น้อยกว่า 10 ตัวไปจนถึง 200 – 300 ตัว โดยเฉพาะกลุ่มป่าที่มีประชากรช้างป่ามาก คือ กลุ่มป่าตะวันตก กลุ่มป่าดงพญาเย็น -เขาใหญ่ กลุ่มป่าภูเขียว – น้ำหนาว กลุ่มป่าตะวันออก และกลุ่มป่าแก่งกระจาน ส่วนประชากรช้างป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์หลายแห่งในประเทศไทย พบส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แต่ขณะนี้พื้นที่ป่าอนุรักษ์หลายแห่งที่เป็นถิ่นอาศัยของช้างป่า เริ่มขาดแคลนพืชอาหาร แหล่งน้ำ พื้นที่เป็นภูเขามีความลาดชันสูง ทำให้สภาพถิ่นอาศัยที่เหมาะสมของช้างป่ามีขนาดลดลงจากเดิม ที่สำคัญผืนป่าถิ่นที่อาศัยของช้างป่าไม่เชื่อมโยงกันถูกแบ่งแยกตัดขาดออกจากกัน เนื่องจากการขยายตัวของชุมชน การขยายพื้นที่เกษตร การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน จึงเป็นปัจจัยให้เกิดปัญหาช้างป่าออกมาทำลายพืชผลทางการเกษตรของราษฎรที่อาศัยใกล้ชิดตามแนวขอบพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่กำลังกลายเป็นปัญหาที่สำคัญ และเพิ่มความรุนแรงขึ้นทุกปีประมาณ 40 แห่งทั่วประเทศ 

กรมอุทยานฯ มีแนวทางการจัดการ และแก้ปัญหาช้างป่าทั้งใน และนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ แบ่งเป็น การจัดการช้างป่าในพื้นที่อนุรักษ์เพื่อป้องกันไม่ให้ช้างออกนอกพื้นที่ และควบคุมไม่ให้มีประชากรช้างมากเกินกว่าศักยภาพการรองรับได้ของพื้นที่ และการจัดการช้างป่านอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า ด้วยการให้ความรู้ สร้างความร่วมมือการแก้ปัญหาช้างป่า และการให้ความช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายกับประชาชนที่เกิดจากช้างป่า เช่น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่กับชุมชน (อาสาสมัครเฝ้าระวังและผลักดันช้างกลับคืนสู่ป่าธรรมชาติ) ทำรั้วรังผึ้ง การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า และมีการให้ความรู้และสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังช้างป่าต่อเนื่อง

กรมอุทยานฯ ได้ลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า ด้วยการป้องกันไม่ให้ถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างถูกทำลาย ทั้งการป้องกันปราบปรามการบุกรุกทำลายป่า และการตัดไม้ โดยเฉพาะมาตรการป้องกันไม่ให้มีการล่าช้าง โดยให้เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติลาดตระเวนเชิงคุณภาพไปตามจุดเสี่ยงต่างๆ และตามแหล่งหากินของช้างป่าต่อเนื่อง โดยจะปรับปรุงป่าเสื่อมโทรมให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยตามหลักวิชาการ รวมทั้ง กลุ่มป่าบางแห่งที่เป็นเส้นทางช้างในอดีตที่ถูกตัดขาดไม่ต่อเนื่องจะสร้างแนวเชื่อมต่อพื้นที่ให้เป็นป่าผืนใหญ่เชื่อมต่อหากันได้ ที่สำคัญให้ศึกษาวิจัยด้านการติดตามพฤติกรรมของช้างป่า แหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งหากิน พื้นที่เสี่ยง และจำนวนประชากรช้างป่า ควบคู่กับให้เจ้าหน้าที่ออกให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนเรื่องพฤติกรรมของช้างป่า และการปฏิบัติตนเมื่อพบช้างป่า ปัจจุบันได้จัดทำคู่มือเบื้องต้นสำหรับประชาชนเป็นแนวทางเสริมสร้างความเข้ารู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวช้าง สถานการณ์ของช้าง พฤติกรรมของช้าง และสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมอนุรักษ์ช้างป่าไม่ให้สูญพันธุ์ 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

https://cutt.ly/meozcUaw https://cutt.ly/Ieozc9W8 https://cutt.ly/Teozc688 https://cutt.ly/GeozvyZf https://cutt.ly/FeozvpGX