12 กุมภาพันธ์ 2566 คลินิกสิ่งแวดล้อม : ทำความรู้จักปลาหยกกับกรณีเอเลี่ยนสปีชีส์

ที่มา : https://www.naewna.com/local/710030

เอเลี่ยนสปีชีส์ Alien Species คือสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดในพื้นที่นั้นๆ โดยมีการนำเข้ามาแพร่กระจายและก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศเดิมโดยในส่วนของเอเลี่ยนสปีชีส์นั้น
มีตั้งแต่ สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก ไปจนถึงพืชบางชนิด

  ซึ่งสัตว์ที่จัดว่าเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์นั้น จะส่งผลกระทบทางด้านระบบนิเวศ คือ ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว สามารถอยู่ได้ในระบบนิเวศนั้นประกอบกับอยู่อาศัยด้วยการรุกรานสัตว์พื้นถิ่นทำให้สัตว์พื้นถิ่นมีน้อยลงหรือสูญพันธุ์

  โดยต้นเหตุที่มาของเอเลี่ยนสปีชีส์นั้นมักจะมาจากการค้าไม่ว่าจะเป็นสัตว์สวยงามหรือเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารและหลุดลงแหล่งน้ำหรือระบบนิเวศอื่น ตัวอย่างสัตว์ที่เป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ปลาซัคเกอร์ ปลาหมอคางดำ หอยเชอรี่ สวนพืชที่เป็นพันธุ์ต่างถิ่น ได้แก่ ผักตบชวา ไมยราพยักษ์เป็นต้น

  กรณีปลาหยกหรือปลาเก๋าหยกที่เป็นข่าวน่าสนใจในช่วงนี้และจัดเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ.2564 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2564  ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564 โดยตามบัญชีแนบท้าย อันดับที่ 9 ปลาเก๋าหยก jade perch Scortum barcoo

  ซึ่งตามประกาศดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำพื้นถิ่นหายาก หรือป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ

  โดยปลาหยก มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ต่อมามีการแพร่พันธุ์ไปแถบออสเตรเลีย โดยได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเนื่องจากรสชาติของเนื้อละเอียด แต่ในส่วนของการรุกรานนั้น ปลาหยกถือว่าดำรงชีพ โดยการกินเกือบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นแพลงก์ตอน กุ้งปลาขนาดเล็ก รวมถึงสัตว์อื่น จึงเป็นที่น่ากังวลหากมีการแพร่กระจายหลุดลงในแหล่งน้ำ และมีการขยายพันธุ์อาจจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ เช่น สัตว์น้ำสายพันธุ์รุกรานอื่น ซึ่งแน่นอนกรณีปลาหยกไม่ใช่กรณีแรกและคงไม่ใช่กรณีสุดท้ายแน่นอน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy