11 มีนาคม 2563 ทางออกมลพิษพลาสติก?
ที่มา: https://www.dailynews.co.th/article/762033
ในปี 2017 มีการวิจัยค้นพบว่า หนอน Wax worm หนอนผีเสื้อกลางคืนสามารถย่อยสลาย และกินพลาสติกได้ แม้กระทั่ง Polyethylene พลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ที่กำลังอยู่ในหลุมฝังกลบทุกวันนี้ โดยล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ได้ทำความเข้าใจมันเพิ่มเติมมากขึ้น ว่าเจ้าหนอนสามารถทำเช่นนั้นได้อย่างไร โดยมันเป็นเพราะ bacteria ในลำไส้ของมันนั่นเอง หรือว่าจุลินทรีย์ microbiome ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the Royal Society B ทำให้เราเห็นระบบย่อยสลายทางชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษพลาสติกมากขึ้น เราพบว่า Waxworm หนอนผีเสื้อมีจุลินทรีย์ในลำไส้ที่สามารถทำกระบวนการย่อยสลายพลาสติกทางชีวภาพได้
“Chrisyophe LeMoine” ซึ่งเป็น associate professor and chair of biology ใน Brandon University ประเทศ Canada เผย โดยกระบวนการนี้เป็นผลที่ทำให้มันสามารถเร่งการย่อยสลายพลาสติกได้ โดยมีการคาดการณ์ว่าสัตว์หลายชนิดมีจุลินทรีย์ Microbiome
ซึ่งสำหรับหนอนผีเสื้อ Waxworm นั้น จุลินทรีย์ในลำไส้ทำหน้าที่ย่อย และทำให้พลาสติกแตกสลาย แต่ตัวหนอนนั้นเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดกระบวนการนั้นเอง งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Science and Technology ว่า “หนอนนก” สามารถกินสไตโรโฟม (Styrofoam) หรือพลาสติกอื่นๆ อีกหลายชนิดได้ โดยหากย้อนไปในการค้นพบนี้ มันเกิดขึ้นจากความบังเอิญในประเทศสเปน โดยนักวิจัยจาก Biomedicine and Biotechnology of Cantabria (CSIC) ในประเทศสเปนที่บังเอิญพบว่า หนอนผีเสื้อสามารถย่อยสลายถุงพลาสติกได้จากการเอามันใส่ไว้ในถุงพลาสติก โดยเวลาผ่านไปพบว่า หนอนออกมาจากถุงได้ เกิดรูบนถุงหลายรู หนอน Waxworm เป็นตัวอ่อนผีเสื้อที่ปกติแล้วจะกินขี้ผึ้งในรัง หลังจากนั้นทีมได้ทำการศึกษาพบว่า เจ้า Wax worm สามารถย่อยถุงพลาสติก polyethylene ได้อย่างรวดเร็ว
LeMoine เผยว่า ขณะนี้ waxworms ยังไม่ใช่วิธีที่จะแก้ไขปัญหามลพิษพลาสติกได้เลย เพราะยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงเจ้าตัวหนอน และจุลชีพในลำไส้ของมันมากขึ้น ก่อนที่จะนำมาปรับใช้ในวงกว้างได้ หนึ่งในสิ่งที่ต้องศึกษาก็คือ เราจะควบคุมสารพิษที่เจ้าหนอนปล่อยออกมาจากการขับถ่าย หลังที่มันกินพลาสติกเข้าไปได้อย่างไร “ในขณะที่ตอนนี้มีข่าวดีถึงการศึกษาเพิ่มเติม แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องศึกษาก่อนที่จะสามารถนำมาแก้ไขปัญหาพลาสติกของเราได้ ดังนั้นมันดีที่ที่สุดที่เราจะลดสร้างขยะพลาสติกก่อนที่การศึกษาจะสำเร็จ”
LeMoine ระบุ การค้นพบและคิดค้นสิ่งที่ช่วยเร่งย่อยสลายพลาสติกถือเป็นเรื่องดี เพราะพลาสติกอาจใช้เวลาในการย่อยสลายตามธรรมชาติกว่า 100 – 1,000 ปี ซึ่งหนอนย่อยพลาสติกได้รับความสนใจจากคนทั้งโลก โดยมองว่า อาจเป็นทางออกแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกท่วมโลกได้ แต่มันเป็นเพียงการแก้ปัญหาขยะที่ปลายทาง อย่าลืมว่าที่สำคัญเราต้อง ลด ละ เลิก สร้างขยะพลาสติก เพื่อแก้ปัญหาขยะตั้งแต่ต้นทางด้วย อย่าผลักภาระให้เจ้าหนอนเลย