สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

11 พฤษภาคม 2565 จีนสำรวจเอเวอเรสต์ครั้งใหญ่ ไขความลับบนยอดเขาสูงสุดในโลกอีกหลายด้าน 

ที่มา: https://mgronline.com/china/detail/9650000044460

จีนเริ่มการสำรวจภารกิจยอดเขาสูง ซึ่งเป็นการศึกษาทดลองทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมบริเวณยอดเขาโชโมลังมา หรือยอดเขาเอเวอเรสต์ เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์เริ่มภารกิจจากการใช้เรดาร์ตรวจสอบลม เครื่องวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ยานบิน และอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของโอโซนและไนโตรเจนไดออกไซด์ ถอดรหัสกลไกธรรมชาติในการปรับกระบวนการให้อากาศบริสุทธิ์ด้วยตัวเอง

จู ถง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยปักกิ่งกล่าวว่า กิจกรรมของมนุษย์รวมถึงกิจกรรมของธรรมชาติ ล้วนแต่ปล่อยสารเคมีออกเป็นปริมาณมาก หากไม่มีความสามารถในการทำความสะอาดอากาศ ก็จะเกิดการสะสมนับพันปี และทำให้อากาศเสื่อมลงจนสิ่งมีชีวิตไม่สามารถหายใจได้
ความสามารถในการทำให้อากาศบริสุทธิ์ด้วยตัวเองนี้ยังมีความสำคัญต่อโลกในหลายด้าน ทั้งความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ มลภาวะในชั้นบรรยากาศ และการควบคุมทางธรรมชาติของก๊าซเรือนกระจก นอกจากเรื่องอากาศแล้ว ทีมวิจัยยังได้ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของธารน้ำแข็งอีกด้วย ธารน้ำแข็งนั้นเปรียบเสมือนวงปีของโลกที่คอยบันทึกการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศตามธรรมชาติ และยังบันทึกผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อสภาพอากาศอีกด้วย

คัง ซื่อชัง สมาชิกในทีมวิจัยเผยว่า พวกเขาใช้โดรน และอุปกรณ์ตรวจจับระยะไกลเพื่อวัดความสูง ใช้เรดาร์น้ำแข็งในการวัดความหนาของธารน้ำแข็ง เพื่อคำนวณว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้ธารน้ำแข็งลดลงมากน้อยเพียงใด ธารน้ำแข็งรองบุก (Rongbuk Glacier) เป็นธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดบนยอดเขาเอเวอเรสต์ ปัจจุบันมีจำนวนธารน้ำแข็งทั้งหมด 87 สาย แม้ว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 20 ปีก่อนที่มีเพียง 68 สาย แต่ในความเป็นจริงนั้นธารน้ำแข็งกลับลดขนาดลง เนื่องจากธารน้ำแข็งสายใหญ่ละลายตัว และกลายเป็นธารน้ำแข็งเล็ก ๆ หลายสายนั่นเอง เพื่อให้มองเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์จึงยังต้องไขความลับบนยอดเขาเอเวอเรสต์ต่อไปอีกหลายด้าน

ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ และเชิงเขาด้านทิศเหนือตั้งอยู่ในเขตที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตของจีน แม้ว่าภูมิภาคนี้จะฟังดูห่างไกลมาก แต่ก็เป็นจุดกำเนิดของสายน้ำสำคัญๆที่ไหลผ่านหล่อเลี้ยงดินแดนทั่วเอเชีย ทั้งแม่น้ำเหลือง แม่น้ำแยงซี แม่น้ำคงคา แม่น้ำน้ำโขง แม่น้ำสินธุ แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำอิระวดี จนถูกขนานนามว่า เจดีย์น้ำแห่งเอเชีย ที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตนี้มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศสูงมาก กล่าวคือ แม้ว่าพื้นที่อื่นจะยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ที่นี่ก็จะเกิดปฏิกิริยาต่อความเปลี่ยนแปลงก่อนแล้ว ดังนั้นการสำรวจสภาพธารน้ำแข็ง กิจกรรมทางธรณีวิทยา ระบบนิเวศ และกิจกรรมมนุษย์ของยอดเขาเอเวอร์เรสต์จึงมีความสำคัญยิ่งต่อความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คุณภาพน้ำ ความปลอดภัย และสุขภาวะของมนุษยชาติในเอเชียหรือแม้แต่ทั่วโลก การสำรวจยอดเขาเอเวอเรสต์ครั้งล่าสุดนี้เกิดขึ้นหลังจากการสำรวจที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตเมื่อปี ค.ศ. 2017 โดยครอบคลุมการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่กว้างที่สุด มีสมาชิกทีมสำรวจมากที่สุด และใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยที่สุด เมื่อช่วงเที่ยงของวันที่ 4 พ.ค. ที่ผ่านมา ทีมสำรวจไต่ถึงสู่ยอดเขา และใช้เรดาร์ความละเอียดสูง เพื่อวัดความหนาของหิมะบนจุดสูงสุดของโลกเป็นครั้งแรก อีกทั้งยังเก็บตัวอย่างหิมะและน้ำแข็ง รวมถึงทดสอบกลไกการปรับตัวของมนุษย์เมื่ออยู่ในที่สูงแบบสุดขั้วเป็นครั้งแรกด้วย นอกจากนี้ ทีมสำรวจฯยังได้ติดตั้งสถานีอุตุนิยมวิทยาแบบอัตโนมัติที่มีน้ำหนักถึง 50 กก. บนจุดที่สูงจากระดับน้ำทะเล 8,830 ม. ซึ่งส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์กลับมาเป็นที่เรียบร้อย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

https://cutt.ly/meozcUaw https://cutt.ly/Ieozc9W8 https://cutt.ly/Teozc688 https://cutt.ly/GeozvyZf https://cutt.ly/FeozvpGX