สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

11 ตุลาคม 2565 สำรวจ eDNA เต่าปูลู สร้างความตระหนักให้ชุมชนได้หันมาอนุรักษ์เต่าปูลูที่ใกล้สูญพันธุ์

ที่มา : https://www.banmuang.co.th/news/region/299822

                       เต่าปูลูหรือเต่าปากนกแก้ว (Big-headed Turtle) เป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ อาศัยอยู่ลำห้วยสาขาของป่าต้นน้ำ ในลักษณะระบบนิเวศแบบลำธาร มีโขดหิน น้ำตก แอ่งน้ำ เป็นสัตว์ประจำถิ่นที่พบได้ทั่วไป
ในแหล่งป่าต้นน้ำในภาคเหนือของประเทศไทย การพบเต่าปูลูนั้นเป็นตัวชี้วัดว่าระบบนิเวศของป่าแห่งนั้นยังมี
ความอุดมสมบูรณ์ เพราะเต่าปูลูจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีน้ำสะอาด และมีสัตว์น้ำที่เป็นอาหารจำนวนมากเพียงพอ

                        ในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงพบมีการอาศัยอยู่แทบทุกลำห้วยสาขา แต่ในระยะหลังจากการเก็บข้อมูลงานวิจัยพบว่าปัญหาหลักของภัยคุกคามของเต่าปูลู คือ เรื่องของการล่าเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ เต่าปูลูมีราคาสูงถึงกิโลละ 3,000 – 5,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด ในส่วนของการล่าเพื่อเป็นอาหารของคนท้องถิ่นมีน้อยมากส่วนใหญ่ไม่นิยมรับประทาน ถึงแม้จะมีกฎหมายคุ้มครองและบทลงโทษที่ชัดเจน แต่การล่าเต่าปูลูยังมีเพิ่มมากขึ้น
ทำให้ปริมาณเต่าปูลูลดลงจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ทีมสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตจึงได้ทำการสำรวจเต่าปูลู ภายใต้โครงการศึกษาแนวทางการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยเต่าปูลูโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนลุ่มน้ำอิงตอนปลาย
ทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา และชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย 10 ชุมชนโดยทำการสำรวจว่ายังมีเต่าปูลูเหลืออยู่ในแหล่งใดบ้างด้วยวิธีการตามหาตัว และการตรวจหาสารพันธุกรรมในสิ่งแวดล้อม (eDNA) อีกทั้งยังทำการวิเคราะห์หาภัยคุกคามต่อเต่าปูลูที่พบ และหาข้อเสนอ แนวทางการแก้ไขร่วมกับคน
ในชุมชน

                       กิจกรรมกองทุนอนุรักษ์เต่าปูลูจากข้อเสนอชุมชน จะเป็นการสนับสนุนชุมชนเพื่อทำกิจกรรมการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยเต่าปูลู เช่น ทำฝายชะลอน้ำเพื่อเก็บน้ำเป็นแหล่งอาหารแหล่งที่อยู่ของเต่า ทำแนว
กันไฟป้องกันพื้นที่วางไข่ริมฝั่งของเต่าปูลูช่วงฤดูแล้ง จัดพิธีกรรมการอนุรักษ์ เลี้ยงผีขุนน้ำ สืบชะตาแม่น้ำ
บวชป่าต้นน้ำ รณรงค์ห้ามล่าเต่าปูลู และสนับสนุนค่าอาหารอุปกรณ์ในการเฝ้าระวังให้กับคณะกรรมการหมู่บ้าน
และขยายความร่วมมือในการสำรวจและอนุรักษ์เต่าปูลูให้ครอบคลุมทั้ง 86 ลำห้วยสาขาต่อไป

                       เมื่อชาวบ้านทราบว่าลำห้วยของตัวเองยังมีเต่าปูลูอยู่ ทำให้เกิดความอิ่มเอมใจและสร้าง
ความตระหนักให้ชุมชนได้หันมาอนุรักษ์เต่าปูลูที่กำลังใกล้สูญพันธุ์ นั้นถือเป็นข้อดีของการตรวจหา eDNA
ของเต่าปูลู ทั้งยังเป็นอีกแนวทางหนึ่งของการทำงานสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา ที่นำเทคนิคเครื่องมือวิชาการทางวิทยาศาสตร์มาทำงานร่วมกับการทำงานวิจัยชาวบ้าน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

https://cutt.ly/meozcUaw https://cutt.ly/Ieozc9W8 https://cutt.ly/Teozc688 https://cutt.ly/GeozvyZf https://cutt.ly/FeozvpGX