11 ตุลาคม 2564 โลกหรี่แสงลง พิสูจน์แล้วว่าเชื่อมโยงผลจาก Climate Change

ที่มา:

https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9640000100573

น้ำในมหาสมุทรที่อุ่นขึ้น เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง หรือ Climate Change มีสาเหตุเชื่อมโยงกับความสว่างของโลกลดลง เป็นผลการศึกษาชิ้นใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์ตรวจวัดการสะท้อนของแสงของโลก (Earthshine) นักวิทยาศาสตร์ใช้เวลานับทศวรรษเพื่อตรวจวัดการสะท้อนแสงของโลก (Earthshine) จากการที่โลกสะท้อนแสงไปยังพื้นผิวของดวงจันทร์นั้นมีค่าลดลง สอดคล้องกับการตรวจวัดโดยดาวเทียมที่พบว่า ค่าการสะท้อนแสงของโลกลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ค่าการสะท้อนแสงของโลกในปัจจุบันลดลงราวครึ่งวัตต์ต่อตารางเมตร เมื่อเทียบกับเมื่อ 20 ปีก่อน คิดเป็นการลดลงราวร้อยละ 0.5 ซึ่งโดยปกติแล้วโลกจะสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ออกไปราวร้อยละ 30 และยังพบว่า ค่าการสะท้อนลงลงอย่างมากในช่วง 3 ปีหลังนี้เอง จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร AGU journal Geophysical Research Letters Philip Goode นักวิจัยจาก New Jersey Institute of Technology หัวหน้าทีมวิจัยในการศึกษาครั้งนี้กล่าวว่า “The alberdo drop was such a surprise to us when we analyzed the last three years of data after 17 years of nearly flat albeldo,” การศึกษานี้ได้อ้างอิงข้อมูลที่รวบรวมจาก Big Bear Solar Observatory ในเขต Southern California ระหว่างปี ค.ศ. 1998-2017 ปัจจัย 2 ประการที่ส่งผลต่อการส่องผ่านของแสงอาทิตย์ลงมาถึงพื้นโลกคือ ความสว่างของดวงอาทิตย์ และการสะท้อนของโลก ในการศึกษานี้ นักวิจัยพบว่า ค่าความสว่างของโลก (Earth’s albedo) ที่เปลี่ยนแปลงนี้ไม่สอดคล้องกับช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงความสว่างของดวงอาทิตย์  ซึ่งหมายความว่า การเปลี่ยนแปลงค่าการสะท้อนแสงของโลกเกิดจากอะไรบางอย่างของโลกเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ความสว่าง และการสะท้อนของชั้นเมฆลดลงในช่วงไม่กี่ปีหลังมานี้ จากการตรวจวัดด้วยดาวเทียมของ NASA ในโครงการ Clouds and the Earth’s Radiant Energy System (CERES) project ที่บริเวณเดียวกันจากฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือและใต้ ซึ่งเป็นบริเวณที่อุณหภูมิผิวน้ำของทะเลเพิ่มสูงขึ้น ได้รับการบันทึกเพื่อศึกษาการผกผันของสภาพภูมิอากาศ (reversal of a climatic condition) หรือเรียกว่า ปรากฏการณ์ Pacific Decadal Oscillation ซึ่งคาดว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โลกที่หรี่แสงลง หรืออีกนัยหนึ่งคือ สิ่งที่ทำให้เห็นถึงปริมาณการดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์จากระบบภูมิอากาศของโลก และเมื่อการดูดซับพลังงานที่เพิ่มมากขึ้นนี้ ถึงจุดที่มีนัยสำคัญ ก็จะมีอิทธิพลต่อบรรยากาศและมหาสมุทรของโลก และอาจจะส่งผลต่อภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้นอีก ด้วยการดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์เพิ่มเติมขึ้น และยังสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในช่วงสองทศวรรษหลังนี้อีกด้วย Edward Schwietermanนักดาราศาสตร์ แห่ง University of California at Riverside ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษานี้ ได้ให้ความเห็นเพิ่มเเติมว่า “It’s actually quite concerning,” เพราะโดยปกตินักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งความหวังว่า โลกที่ร้อนขึ้นจะมีชั้นเมฆปกคลุมมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสะท้อนทำให้โลกมีค่าความสว่างเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยปรับสมดุลและลดภาวะโลกร้อนลงได้บ้าง แต่การศึกษานี้แสดงผลของความจริงที่ตรงข้าม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content