เส้นทางฟื้นเศรษฐกิจ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยกำหนดทิศทางและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ทั้งการผลิต การใช้ปัจจัยการผลิตด้านแรงงาน ทุน และทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงโครงสร้างตลาด จึงเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ควบคู่กับการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และโอกาสที่จะสร้างความเท่าเทียมในสังคม ตลอดจนเปิดโอกาสในการมีส่วนร่วมในประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ

กังหันลมและโซล่าเซลล์
ที่มา: https://thestatestimes.com/post/2021032932

ในช่วง 2 – 3 ปี ที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจ สังคมสุขภาพของคน และสิ่งแวดล้อมทั่วทุก
มุมโลก รวมทั้งประเทศไทย ทำให้เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ สูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว ควบคู่กับวิกฤตด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศ ความไม่เท่าเทียมทางสังคม ประชาชนเจ็บป่วยและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาตนเอง อัตราการว่างงานมากขึ้นและรายได้ลดลง ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลาย คำถามที่เกิดขึ้น คือ “เราควรพลิกฟื้นและพัฒนาเศรษฐกิจไปในทิศทางใด ที่จะสร้างความสมดุลของกระบวนการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม” การมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยกำหนดทิศทางและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ทั้งการผลิต การใช้ปัจจัยการผลิตด้านแรงงาน ทุน และทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงโครงสร้างตลาด จึงเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ควบคู่กับการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และโอกาสที่จะสร้างความเท่าเทียมในสังคม ตลอดจนเปิดโอกาสในการมีส่วนร่วมในประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ ภายหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 แต่ละประเทศต้องเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจพร้อมปกป้องสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย จึงขอหยิบยก 2 แนวคิดที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจสีเขียวที่มีการพูดถึงกันมากขึ้นและนำมาใช้เป็นแนวทางการพลิกฟื้นและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในลักษณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเติบโตแบบยั่งยืน คือ

  1.  การฟื้นฟูเศรษฐกิจสีเขียว หรือ “Green Recovery” เป็นแนวทางการพลิกฟื้นและพัฒนาเศรษฐกิจบนหลักการ “ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” โดยมีหลักสำคัญที่ต้องดำเนินการร่วมกัน คือ การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับคนในสังคม การสร้างงานและรายได้ ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ การเพิ่มภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงให้กับธุรกิจจากผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งหลายประเทศใช้แนวคิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจสีเขียวมาพัฒนาเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และเริ่มต้นดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกควบคู่ไปด้วยอย่างจริงจัง โดยแนวคิดนี้เป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยป้องกันโรคระบาด หรือโรคอุบัติใหม่ในอนาคตที่มีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพของมนุษย์ สร้างความสามารถในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาคในระยะยาว จึงน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการสร้างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืนและเข้มแข็ง เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการวางโครงสร้างการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมใหม่ที่มีภูมิคุ้มกันทางสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย แผน และมาตรการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อันนำไปสู่เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่สมดุลและมั่นคง ตลอดจนสามารถหวังผลในระยะยาวได้อย่างยั่งยืนต่อไป
  2.  การกระตุ้นเศรษฐกิจสีเขียว หรือ “Green Stimulus” เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจพร้อมกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม ไม่เน้นที่ตัวเลขของการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ลดความเหลื่อมล้ำ แนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคและธุรกิจที่เน้นสินค้าและบริการที่สร้างผลกระทบน้อยที่สุด มีทิศทางอุตสาหกรรมมุ่งสู่การใช้พลังงานสะอาดและพลังงานทดแทนมากขึ้น และการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แนวคิดนี้มีหลักสำคัญ คือ ทำให้เกิดการจ้างงานอย่างรวดเร็ว เกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน และเกิดผลด้านบวกต่อระบบนิเวศ หรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านอื่น ๆ

ในบริบทของประเทศไทย พบว่า การพัฒนาเศรษฐกิจช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด 19 ให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนไปสู่โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม หรือ BCG Model ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ 3 ด้าน ไปพร้อมกัน คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าหรือยาวนานที่สุด และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) คำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทยจะขับเคลื่อนการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด 19 โดยนำหลักการของแนวคิด Green Recovery และ Green Stimulus ที่สอดรับกับแนวคิดของ BCG Model มาเป็นแนวทางในการผลักดันให้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ สร้างความตระหนักรู้และปรับความคิด รวมทั้งเพิ่มศักยภาพของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมทุกขนาด ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าตามหลักคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม สำหรับภาคประชาชนควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภค สนับสนุนสินค้าและบริการที่ผลิตด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและอนุรักษ์พลังงาน ในภาคครัวเรือนสามารถเพิ่มรายได้และสร้างงานใหม่ โดยเพิ่มทักษะใหม่ๆ หรือพัฒนาทักษะให้สอดรับกับความต้องการในตลาดแรงงานที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่และเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

จัดทำบทความโดย  นางสาวศิริวรรณ  ลาภทับทิมทอง  นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ
                         กลุ่มงานติดตามประเมินสถานการณ์  กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม

เอกสารอ้างอิง

ชัยสิทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ และอติเดช พงศ์หว่าน. Research Note Green Recovery เส้นทางและโอกาสสู่การเติบโตที่ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อวันที่ 1๗ มกราคม 2๕๖๖. จากเว็บไซต์:  https://krungthai.com/Download/economyresources/ EconomyResourcesDownload_ 620Research_Note_10_11_63.pdf.

ประชาชาติธุรกิจ (2๕๖3). ปลุกเศรษฐกิจสีเขียว หนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนหลังโควิด-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 1๗ มกราคม 2๕๖๖. จากเว็บไซต์:  https://today.line.me/th/v2/article/Pz6my8.

เพชร มโนปวิตร. (2๕๖3). ฟื้นเศรษฐกิจด้วยการปกป้องสิ่งแวดล้อม (Green Stimulus) ทางรอด ของโลกยุคหลัง COVID-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 1๗ มกราคม 2๕๖๖. จากเว็บไซต์:https://www.the101.world/green-stimulus/

สุภาสินี ตันติศรีสุข (2๕๕๕). การพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน วารสารเศรษฐศาสตร์สุโขทัยธรรมาธิราช ปีที่ ๖. สืบค้นเมื่อวันที่ 2๕ มกราคม 2๕๖๖. จากเว็บไซต์: https://www.stou.ac.th/schools/sec/ejournal6-2/file/1-2-1.pdf.

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online slot88 istanaslot istanaslot slot88 istana slot istanaslot situs slot gacor hari ini istana impian istanaimpian istanaimpian2 istanaimpian3 istanaimpian4 istanaslot istanaslot Situs Judi Slot Online daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

slot pulsa

gangster4d slot

gangster4d

istana slot

http://ukt.uhnsugriwa.ac.id/admin/slot88/

https://ishcsf.com/slot-gacor/

https://www.sos-logistica.org/wp-content/uploads/slot-demo/

https://cultura.tonala.gob.mx/

https://bma.ac.ke/wp-content/uploads/2023/

http://labiela.com/cgi-bin/slot-gacor/

https://www.ideasei.com/wp-content/slot-dana/

https://kayseriescortu.com/slot-gacor/

http://sion.uhnsugriwa.ac.id/css/slot-gacor/
https://keckarangawen.demakkab.go.id/slot-gacor/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot-toto/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot-gacor/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot88/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot777/
slot777
slot gacor
Skip to content