วันที่ 26 ธันวาคม ของทุกปี วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
ความเป็นมา
ในอดีตประเทศไทยได้ชื่อว่า มีทรัพยากรที่สมบูรณ์มากที่สุด พื้นที่อุดมไปด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ ปัจจุบันเหลือพื้นที่ป่าเพียง 17% ของพื้นที่ประเทศ ส่งผลให้สัตว์ป่าขาดแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร ทําให้สัตว์ป่าลดลง บางชนิดสูญพันธ์ และอีกหลาย ชนิดตกอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธ์ ในที่สุดรัฐบาลไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่าขึ้นในปี 2503 เพื่อเป็นเครื่องมือสําคัญในการปกป้องทรัพยากรสัตว์ป่าของประเทศ จนถึง ปี 2535 ก็ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับเดิมโดยได้ เปิดโอกาสให้เอกชนสามารถเพาะสัตว์ป่า บางประเภทได้ เพราะการเพาะเลี้ยงเป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้สัตว์ป่าคงอยู่อยู่ต่อไป อย่างไรก็ตามสัตว์ป่า ก็ยังถูกไล่ล่าและลดจํานวนลงเรื่อย ๆ ดังนั้นการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าเพียงเจ้าหน้าที่ อย่างเดียวไม่พอต้องอาศัยความร่วมมือกับองค์การต่าง ๆ ในสังคม ทั้งภาครัฐและเอกชนรวมถึง ประชาชนและเยาวชนของชาติ ด้วยพระหากรุณาธิคุณสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรง ห่วงใยต่อทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าทรงมีพระราชดําริแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์ เสมอมาในวันที่ 26 ธันวาคม 2503 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ร่างกฎหมาย ว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าขึ้น ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระศรีนทราบรมราช ชนนี ครั้งเมื่อดํารงพระยศสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ทรงลงพระ นามในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2503 ขึ้น ต่อมา วันที่ 26 ธันวาคมของทุกปีถือเป็นวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
วัตถุประสงค์
เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ให้ประชาชนทุกหมู่ เหล่าตระหนักถึงความสูญเสีย ตลอดจนกระตุ้นให้ประชาชนเกิดจิตสํานึกรักหวงแหน และมีส่วนช่วย ในการปกป้องทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าของชาติให้คงอยู่ตลอดไป
ที่มา : หนังสือวันสําคัญของประเทศไทย โดย:ศุลีพร ลังกา รายงานการจัดกิจกรรมวันสําคัญทางสิ่งแวดล้อม สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 15 ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2551