วันที่ 21 กันยายน ของทุกปี วันประมงแห่งชาติ

ความเป็นมา

สหกรณ์ประมงสมุทรสาครได้ทําหนังสือลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2525 ถึงนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เสนอให้รัฐบาลกําหนดวันประมงแห่งชาติขึ้นเพื่อให้เป็นกําลังใจในการ ประกอบอาชีพและอาสาปกป้องประเทศทางด้านทะเล นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้สํานักเลขาธิการ นายกรัฐมนตรีมอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้พิจารณา ซึ่งได้มอบให้กรมประมง เป็นผู้รับเรื่อง เนื่องจากเกี่ยวข้องโดยตรง นอกจากนี้สํานักเลขาธิการฯได้ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ สั่งการให้ราชบัณฑิตยสถานและกรมศิลปากรร่วมกันพิจารณาความเหมาะสมอีกด้วย กรมประมงจึงได้ประสานงานกับกองทัพเรือและมีความเห็นร่วมกันให้ วันสงกรานต์ ซึ่งประชาชนชาวไทยยึดถือเสมือนเป็นวันขึ้นปีใหม่มาตั้งแต่อดีต เป็นวันที่หยุดปฏิบัติภารกิจประจําวัน ในวันดังกล่าว เพื่อไปทําบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา เพื่อความเป็นสิริมงคลและในวันนี้ทาง ราชการได้ถือว่าเป็น “วันขยายพันธุ์ปลาแห่งชาติ” โดยสนับสนุนให้ประชาชนนําพันธุ์ปลาไปปล่อย ตามแหล่งน้ำต่างๆ ในโอกาสที่วันนี้เป็นวันสําคัญวันหนึ่งโดยมีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงสมควร กําหนดให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็น “วันประมงแห่งชาติ” เมื่อเดือนมกราคม 2527 เป็นต้น มา และเห็นสมควรให้หยุดทําการประมง มีการปล่อยปลาในแหล่งน้ำต่างๆ รวมทั้งในทะเลด้วย เพื่อเป็นการชดเชยสําหรับการที่ได้ทําการประมงมาตลอดปี แต่ในปัจจุบันกรมประมงพิจารณาแล้วเห็นว่าสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยโดยรวมในช่วง เดือนเมษายนแล้งมากในทุกจังหวัด แหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำต่าง ๆ มีปริมาณค่อนข้างน้อย ดังนั้นการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในช่วงวันที่ 13 เมษายน ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิอากาศสูงมากพันธุ์สัตว์น้ำ ที่กรมประมงเตรียมมาให้ประชาชนปล่อยมีอัตราการตายสูง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนกันยายน ซึ่งเป็นฤดูฝนแหล่งน้ำต่าง ๆ มีปริมาณน้ำมาก สภาพทางธรรมชาติของแหล่งน้ำเหมาะสมกับการ เจริญเติบโตของสัตว์น้ำวัยอ่อน กอปรกับวันที่ 21 กันยายน เป็นวันสถาปนากรมประมงดังนั้นเพื่อ เป็นการรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก ปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มี พระราชโองการ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2469 ตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำขึ้น ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกรม ประมง ดังนั้นจึงมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2549 กําหนดให้เปลี่ยน “วันประมง แห่งชาติ” จากเดิมวันที่ 13 เมษายน เป็นวันที่ 21 กันยายนของทุกปี ตามที่กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์เสนอ โดยให้เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ.2549 เป็นต้นมา

วัตถุประสงค์

1. เพื่อระลึกถึงความสําคัญของการประมงไทย และให้กําลังใจแก่ชาวประมงผู้ประกอบอาชีพ สุจริตที่ต้องเสี่ยงภัยในทะเล เพื่อนําทรัพยากรขึ้นมาเป็นอาหารของปวงชนและพัฒนา ประเทศ

2. เพื่อสนับสนุนการปล่อยปลาในวันสงกรานต์อันเป็นประเพณีนิยมของชาวไทยมาแต่ โบราณ

3. เพื่อขยายพันธุ์สัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติมิให้สูญพันธุ์ 4. เพื่อเสริมสร้างทัศนคติในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำแก่ประชาชนทั่วไป เพราะสัตว์น้ำ มีคุณค่าเป็นอาหารของประชาชน 5. เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีทางจิตใจ คือ ก่อให้เกิดความสามัคคีของคนในชาติ เพราะได้ทํา กิจกรรมร่วมกัน และมีอานิสงส์ร่วมกันในวันนี้ที่จะต้องช่วยกันรักษาทรัพยากรของชาติ และมีความสุขที่ได้บุญกุศลในวันสงกรานต์

ที่มา : http://www.lib.ru.ac.th/journal/day-fishry.html
ที่มา : http://www.deqp.go.th/news_pr/env_day/newspr_day_04_13.htm
ที่มา : http://kids.mweb.co.th/learning/00456.html

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy