วันที่ 11 กรกฎาคม ของทุกปี วันประชากรโลก
ความเป็นมา
จากจํานวนสถิติของประชากรทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ภายในศตวรรษหน้าประชากรจะเพิ่มขึ้นอีกราว 1 พันล้าน (ขณะนี้ทั่วโลก มีประชากรประมาณ 6 พันล้านคน) และกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนที่เพิ่มขึ้น จะแออัดอยู่ในประเทศ ที่กําลังพัฒนา เช่น ประเทศแถบเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา องค์การสหประชาชาติได้เล็งเห็นถึงความสําคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้กําหนดให้วันที่ 11 กรกฎาคมเป็นวันประชากรโลก โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประชากรของโลก เป็นผู้รับผิดชอบ ได้แก่ กองทุนเพื่อกิจกรรมประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Fund for Population Activities) หรือชื่อย่อว่า UNFPA ซึ่งมีสํานักงานใหญ่อยู่ที่กรุงนิวยอร์ก กองทุนนี้ก่อตั้ง ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2512 โดยได้รับงบประมาณจากประเทศต่าง ๆ เช่น ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ฟินแลนด์ เยอรมนี สวีเดน เดนมาร์ก อังกฤษ แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี และออสเตรเลีย เพื่อให้ ความช่วยเหลือทุกประเทศในโลก ตลอดจนประเทศกําลังพัฒนาเกี่ยวกับการวางแผนประชากรและ การวางแผนครอบครัว สร้างความตื่นตัวในเรื่องปัญหาประชากรและการหาวิธีแก้ไข
วัตถุประสงค์
1. เพื่อดูแลควบคุมอัตราการเพิ่มประชากร ซึ่งจะมีผลในการเฉลี่ยแบ่งปันอาหาร น้ำ ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน การศึกษา การจ้างงาน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ ผู้ด้อยโอกาสได้ดีกว่าการปล่อยให้ประชากรเพิ่มสูงขึ้น
2. เพื่อจํากัดหรือควบคุมอัตราการเพิ่มของประชากรให้สมดุลกับการพัฒนาของประเทศจะ ช่วยลดความรุนแรงเกี่ยวกับการทําลายสิ่งแวดล้อมซึ่งมีผลกระทบต่อการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ
3. เพื่อชะลอความแออัดในเมือง เพื่อไม่ให้ประชากรล้นเมืองเร็วเกินไปจะมีผลดีกว่าในแง่ ของการพัฒนาทั้งในเขตเมืองและชนบท
4. เพื่อให้การศึกษาแก่เด็กหญิงและสตรีอย่างทั่วถึง จะช่วยให้เด็กหญิงและสตรีรู้วิธีดูแล สุขภาพของตนเอง และสมาชิกครอบครัวดีขึ้น รวมทั้งช่วยให้การวางแผนครอบครัวดีขึ้น
5. การมีครอบครัวที่มีขนาดเล็กลง จะช่วยให้การจัดการศึกษา การดูแลให้บริการด้าน สุขอนามัย การพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
6. การวางแผนครอบครัว ควรมีความหมายครอบคลุมถึงถึงการมีสุขภาพที่ดีของทุกคนใน ครอบครัว นอกเหนือจากความหมายด้านคุมกําเนิดเพียงด้านเดียว
ที่มา : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า