สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รมว.ทส. หารือร่วมกับ รมว. สิ่งแวดล้อมฯ สมาพันธรัฐสวิส เพื่อกระชับความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปกท.ทส. ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการ สผ. และนายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผอ.อบก. หารือความร่วมมือเกี่ยวกับการถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศภายใต้ความตกลงปารีส กับนาง Simonetta Sommaruga รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม การขนส่ง พลังงาน และการสื่อสาร สมาพันธรัฐสวิส เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ระหว่างการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ
ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) โดยทั้งสองประเทศเน้นย้ำความตั้งใจที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่นับวันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น รวมถึงมุ่งสนับสนุนการเจรจาที่กำลังดำเนินอยู่ให้ประสบผลสำเร็จ และนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่จะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานในภาพรวมของโลกอย่างแท้จริง ทั้งนี้ รมว.ทส. ได้เน้นย้ำการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ท้าทายของประเทศไทย ตามที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศในที่ประชุมสุดยอดระดับผู้นำ (World Leaders Summit) ระหว่างการประชุม COP26 ว่าประเทศไทยจะมุ่งสู่การเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 โดยประเทศไทยให้ความสำคัญกับการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศและการสนับสนุนจากกลไกภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ เพื่อมุ่งบรรลุตามเป้าหมายดังกล่าว ทั้งในเรื่องของการเงินสีเขียว
(green finance) การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเสริมสร้างขีดความสามารถ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนและแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนเพื่อมุ่งบรรลุตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ และในระยะต่อไปจะเน้นการขับเคลื่อนแผนงานต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม โดยความร่วมมือกับสมาพันธรัฐสวิสภายใต้แนวทางการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศของข้อ 6 ของความตกลงปารีสเป็นประเด็นหนึ่งที่ประเทศไทยให้ความสนใจ เพื่อให้ได้มาซึ่งการสนับสนุนทางการเงิน ถ่ายทอดเทคโนโลยีและการเสริมสร้างขีดความสามารถ โดยเฉพาะต่อภาคเอกชนในประเทศ ขณะที่สมาพันธรัฐสวิสก็เห็นพ้องว่าการดำเนินความร่วมมือนี้ของภาครัฐ จะนำมาสู่การพัฒนาโครงการและกิจกรรมที่จะช่วยขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ควบคู่ไปกับการสร้างความตระหนักและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนโดยสมาพันธรัฐสวิสมีความสนใจที่จะพัฒนาโครงการรถโดยสารสาธารณะพลังงานไฟฟ้า (E-bus) ในประเทศไทยภายใต้แนวทางการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศของข้อ 6 ของความตกลงปารีส เนื่องจากสมาพันธรัฐสวิสประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีสาขานี้ ทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ ช่วยลดมลพิษทางอากาศและเสียง และได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากภาคประชาชน ทั้งนี้ ทั้งสองประเทศต่างยึดถือหลักการสำคัญในเรื่องของความโปร่งใสในการดำเนินงานและการไม่ให้เกิดการนับซ้ำ (double counting) ของผลการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว นอกจากนั้น รมว.ทส. ได้เชิญชวนสมาพันธรัฐสวิส เข้าร่วมงาน Thailand Climate Action Conference ที่มีกำหนดจัดขึ้นในช่วงวันสิ่งแวดล้อมโลกในเดือนมิถุนายน 2565 เพื่อเปิดโอกาสให้จังหวัดและส่วนภูมิภาค รวมถึงภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมนำเสนอสถานการณ์ ประสบการณ์และแสดงเจตจำนงในการมีส่วนร่วมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของตนในรูปแบบ bottom-up approach ด้วย

จัดทำและเผยแพร่โดย กลุ่มงานอำนวยการและประชาสัมพันธ์ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

https://cutt.ly/meozcUaw https://cutt.ly/Ieozc9W8 https://cutt.ly/Teozc688 https://cutt.ly/GeozvyZf https://cutt.ly/FeozvpGX