พลังงานไฮโดรเจน พลังงานทางเลือกแห่งอนาคต

สภาวะโลกร้อนที่กำลังส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก ทั้งในเรื่องอุณหภูมิที่ร้อนขึ้น รวมถึงการเกิดภัยพิบัติอันเป็นผลมาจากโลกร้อน  ทำให้หลายฝ่ายต่างหาวิธีการที่จะแก้ปัญหา โดยการคิดค้นพลังงานทดแทนที่ส่งผลกระทบต่อโลกน้อยที่สุด ซึ่ง “พลังงานไฮโดรเจน” เป็นพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะสามารถผลิตหรือสังเคราะห์ได้จากวัตถุดิบตามธรรมชาติที่หลากหลาย เมื่อเกิดการเผาไหม้ ก็จะมีเพียงน้ำและออกซิเจน ซึ่งแตกต่างจากเชื้อเพลิงอื่นๆ ที่ให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำให้โลกร้อน

พลังงานไฮโดรเจนคืออะไร?

ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุดและเป็นองค์ประกอบของน้ำ (H2O) นอกจากนี้ ยังเป็นธาตุที่รวมอยู่ในโมเลกุลของสารประกอบอื่นๆ เช่น สารประกอบจําพวกไฮโดรคาร์บอน (HC) คุณสมบัติทั่วไปของไฮโดรเจน คือ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ติดไฟง่าย ไม่เป็นพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ก๊าซไฮโดรเจนสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้และให้ความร้อน หรือนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าโดยป้อนเข้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) ดังนั้น ไฮโดรเจนจึงถือเป็นแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงที่สำคัญอย่างมากในอนาคต โดยหลายประเทศทั่วโลกได้มีการวิจัยและพัฒนาในเรื่องนี้อย่างแพร่หลาย เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อังกฤษ ญี่ปุ่น ฯลฯ

พลังงานไฮโดรเจนผลิตอย่างไร?

พลังงานไฮโดรเจน สามารถผลิตได้จากวัตถุดิบหลัก 3 แหล่ง ได้แก่  1) เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น แก๊สธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม 2) พลังงานหมุนเวียน เช่น ชีวมวล น้ำ และ 3) พลังงานนิวเคลียร์
เทคโนโลยีในการผลิตไฮโดรเจน ประกอบด้วย 3 เทคโนโลยีหลัก ได้แก่
1) กระบวนการให้ความร้อนเคมี (Thermal Process) เป็นการผลิตด้วยวิธีทางเคมีโดยใช้ความร้อนกับแหล่งพลังงานเพื่อให้กำเนิดก๊าซไฮโดรเจน
2) กระบวนการไฟฟ้าเคมี (Electro Chemical Process) เป็นการแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำด้วยกระแสไฟฟ้า ให้ได้ไฮโดรเจนและออกซิเจน โดยกระบวนการนี้จะใช้ได้กับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าทุกชนิด
3) กระบวนการสังเคราะห์แสง (Photolytic Process) การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ

พลังงานไฮโดรเจนสามารถนำไปประโยชน์อะไรบ้าง?

พลังงานไฮโดรเจนสามารถนำใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ สามารถนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าโดยการป้อนเข้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) และสามารถนำไปใช้ในการขับเคลื่อนรถยนต์ได้ โดยใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ผสมกับเชื้อเพลิงประเภทอื่น เช่น นำไฮโดรเจนผสมกับก๊าซธรรมชาติ หรือใช้กระบวนการทางไฟฟ้าเคมี เพื่อขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง

ไฮโดรเจนคู่กับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
รูปที่ 1 ไฮโดรเจนคู่กับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
ที่มา: https://www.erc.or.th/th/energy-articles/2691

พลังงานไฮโดรเจนกับประเทศต่างๆ

ประเทศญี่ปุ่น ได้สร้างเมืองต้นแบบพลังงานไฮโดรเจน ที่เมืองนามิเอะ จังหวัดฟูกุชิมะ ภายใต้โครงการ “ศูนย์วิจัยพลังงานไฮโดรเจนฟูกุชิมะ (Fukushima Hydrogen Energy Research Field – FH2R)” โดยโครงการนี้จะมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีต้นทุนต่ำ ไฮโดรเจนที่ผลิตได้จะถูกนำไปใช้เป็นพลังงานในระบบเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนแบบอยู่กับที่ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ส่งให้กับสถานที่ต่างๆ เช่น จุดพักริมทาง โรงเรียน และใช้สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ ในส่วนของรถยนต์ส่วนบุคคลและรถประจำทาง ก็มีการนำแนวคิดของการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง FCVE (Fuel Cell Electric Vehicle) มาใช้ในส่วนที่เป็นระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น โดยได้มีการเตรียมสถานีไฮโดรเจนให้ครอบคลุม นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมการจัดหาพลังงานจากสถานีไฮโดรเจนที่เป็นศูนย์กลางพลังงานไปยังพื้นที่ใกล้เคียงในยามที่ปกติและยามที่เกิดภัยพิบัติ

ประเทศสหรัฐอเมริกา นครลอสแองเจลิสได้ประกาศแผนงานปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อมาสร้างโรงไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดในรัฐยูทาห์  โดยเฟสแรกจะใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะเปิดดำเนินการในปี 2025 และจะเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฮโดรเจนอย่างสมบูรณ์ในปี 2045 ซึ่งจะทำให้โรงไฟฟ้าแห่งนี้กลายเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานไฮโดรเจนแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา

ประเทศเยอรมนี ได้มีการนำรถไฟพลังงานไฮโดรเจน หรือ Coradia iLint จำนวน 14 ขบวน มาวิ่งในรัฐโลเวอร์แซกโซนี โดยรถไฟพลังงานไฮโดรเจนจะไม่ปล่อยมลพิษใดๆ สู่อากาศ ด้วยการรวมไฮโดรเจนและออกซิเจนเพื่อกลายเป็นพลังงานที่ทำให้รถไฟวิ่งได้ สิ่งที่จะถูกปล่อยออกมามีเพียงไอน้ำและความร้อน อีกทั้งความร้อนที่เกิดขึ้นยังสามารถนำกลับมาใช้เป็นพลังงานให้กับระบบปรับอากาศของรถไฟ รถไฟสามารถวิ่งได้ราว 1,000 กิโลเมตรต่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนหนึ่งถัง ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยทางการเยอรมนีมีแผนจะยกเลิกใช้รถไฟดีเซลทั้งหมดเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่รุนแรงขึ้น โดยรัฐบาลเยอรมนีประกาศว่าจะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีไฮโดรเจนภายใน 10 ปีอีกด้วย

ประเทศไทย ได้มีการใช้พลังงานไฮโดรเจนในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยพลังงานไฮโดรเจนจะทำหน้าที่สนับสนุนการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานลม เพื่อเพิ่มความเสถียรในการผลิตกระแสไฟฟ้า และได้มีการนำร่องทดลองใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV) โดยใช้รถยนต์พลังงานไฮโดรเจนรับส่งนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจในพื้นที่พัทยา – ชลบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ ยังมีการติดตั้งสถานีต้นแบบเติมไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงแห่งแรกของประเทศไทย (Hydrogen Station) ที่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

ถึงแม้ว่าตอนนี้พลังงานไฮโดรเจนยังไม่ใช่พลังงานหลักที่ได้รับความนิยม แต่พลังงานไฮโดรเจนถือเป็นพลังงานทางเลือก ที่ยังมีคนให้สนใจในการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อให้เป็นพลังงานสะอาด ที่จะนำมาแก้ไขปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการปลดปล่อยมลพิษ พร้อมมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) เพื่อให้เกิดการแก้ไขต้นตอของปัญหาโลกร้อนให้สำเร็จได้อย่างแท้จริง

บทความโดย นางสาวพรพรรณ ปัญญายงค์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน กลุ่มงานติดตามประเมินสถานการณ์ กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม

เอกสารอ้างอิง

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (มมป). คู่มือความรู้ด้านพลังงานไฮโดรเจน. กรุงเทพมหานคร.

ไทยรัฐออนไลน์. (2565). เปิดแล้ว สถานีต้นแบบเติมไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงแห่งแรกของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566. จากเว็บไซต์ : https://www.thairath.co.th/news/auto/evcar/2547921?optimize=a.

เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก. (2565). เยอรมนีเปิดตัว รถไฟพลังงานไฮโดรเจน เพื่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566. จากเว็บไซต์ : https://ngthai.com/sustainability/44785/hydrogen-powered-train.

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน). (2563). พลังงานไฮโดรเจน อีกทางเลือกของตลาดพลังงานทดแทนเพื่อสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566. จากเว็บไซต์ :https://blog.pttexpresso.com/hydrogen-energy-new-choices.

ผู้จัดการออนไลน์. (2565). โตโยต้าเชิญสื่อไทยไปญี่ปุ่น เรียนรู้เทคโนโลยี “ไฮโดรเจน” สู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2566. จากเว็บไซต์ : https://mgronline.com/motoring/detail/9650000100484.

สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2564). Hydrogen = พลังงานทดแทน ?. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566. จากเว็บไซต์ : https://erdi.cmu.ac.th/?p=3778.

GreenBiz. (2020). Has green hydrogen’s time finally come?. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566. จากเว็บไซต์ : https://www.greenbiz.com/article/has-green-hydrogens-time-finally-come.

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online slot88 istanaslot istanaslot slot88 istana slot istanaslot situs slot gacor hari ini istana impian istanaimpian istanaimpian2 istanaimpian3 istanaimpian4 istanaslot istanaslot Situs Judi Slot Online daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

slot pulsa

gangster4d slot

gangster4d

istana slot

http://ukt.uhnsugriwa.ac.id/admin/slot88/

https://ishcsf.com/slot-gacor/

https://www.sos-logistica.org/wp-content/uploads/slot-demo/

https://cultura.tonala.gob.mx/

https://bma.ac.ke/wp-content/uploads/2023/

http://labiela.com/cgi-bin/slot-gacor/

https://www.ideasei.com/wp-content/slot-dana/

https://kayseriescortu.com/slot-gacor/

http://sion.uhnsugriwa.ac.id/css/slot-gacor/
https://keckarangawen.demakkab.go.id/slot-gacor/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot-toto/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot-gacor/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot88/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot777/
slot777
slot gacor
Skip to content