“ป่าในเมือง” (Urban Forest)

ในปัจจุบัน เมืองมีการขยายตัวเข้าไปในพื้นที่ชนบท รวมถึงประชาชนต้องการย้ายถิ่นฐาน   เข้ามาอยู่อาศัยในตัวเมืองมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเมืองหลวงของประเทศ คือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  หรือตัวเมืองระดับจังหวัด เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของความเจริญมากมายหลายด้าน เมื่อผู้คนเริ่มหลั่งไหล   เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองมากขึ้นจนเกิดความแออัด และในอนาคตคาดว่าจะมีประชากรย้ายเข้ามาอาศัยในเมืองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นำมาสู่ปัญหาต่อความเป็นอยู่ที่แออัดและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม อาทิ มลพิษทางอากาศและเสียงจากรถติด ขยะจากชุมชน และน้ำเสียจากสถานประกอบการ/โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น    จนทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองได้รับผลกระทบจนเกิดความเครียดและความวิตกกังวลจากการใช้ชีวิตรอบด้าน ที่มาบั่นทอนจิตใจ ด้วยเหตุนี้ คนที่อยู่ในเมืองจึงต้องการแหล่งพักผ่อนหย่อนใจเพื่อรับการผ่อนคลาย หากจะ อุดอู้หรืออยู่แต่ในบ้านก็คงน่าเบื่อเกินไป “ป่าในเมือง” จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนองไลฟสไตล์คนเมือง เพราะนอกจากจะช่วยเยียวยาสุขภาพทางกายและใจแล้ว ยังช่วยส่งเสริมให้พื้นที่บริเวณนั้นน่าอยู่ยิ่งขึ้น   เพราะองค์ประกอบของป่าในเมืองก็คือเป็นการสร้างป่าให้เหมือนกับป่าธรรมชาติจริง ๆ ทำให้มีระบบนิเวศ พันธุ์ไม้ และพันธุ์สัตว์นานาชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันก่อเกิดเป็นความหลากหลายทางชีวภาพ

ภาพ: สวนเบญจกิติ https://www.prbangkok.com/th/news/detail/15/10475

“ป่าในเมือง” เป็นพื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่ป่าไม้ที่ตั้งอยู่ในเมืองหรือใกล้เมือง โดยหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น และชุมชน ร่วมกันสร้างให้เป็นพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ตามความเหมาะสม เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ ศึกษาธรรมชาติ ตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งของแต่ละพื้นที่ ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้กำหนดค่าเฉลี่ยอัตราพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสมต่อจำนวนประชากรในเมืองว่าควรอยู่ที่ 9 ตารางเมตร/คน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงพื้นที่สีเขียวและใช้ประโยชน์ ได้อย่างเต็มที่ โดยในปัจจุบัน กรุงเทพมหานครมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 1,568.737 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร์กว่า 6 ล้านคน รวมประชากรแฝงแล้วอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านคน และในปี 2564 พบว่า กรุงเทพมหานครมีจำนวนพื้นที่สีเขียว 40,959,569.91 ตารางเมตร คิดเป็นอัตราส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากร 7.33 ตารางเมตร/คน ซึ่งถือว่ายังต่ำกว่าเกณฑ์ที่ WHO กำหนดไว้ ทำให้ต้องหาทางพัฒนาพื้นที่เมืองเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน และคาดว่าในอนาคตจำนวนพื้นที่สีเขียวและสัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อคนจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่นตัวอย่างนโยบายของกรุงเทพมหานครที่กำลังดำเนินการอยู่ คือ GREEN BANGKOK 2030 เพื่อบูรณาการและประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่มีศักยภาพและมีจิตสาธารณะในการร่วมกันเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กรุงเทพฯ โดยตั้งเป้าบรรลุโครงการในปี 2573 ใน 3 เป้าหมาย ได้แก่ (1) เพิ่มอัตราส่วนพื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากรให้ได้ 10 ตร.ม./คน (2) มีพื้นที่สาธารณะสีเขียวที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ในระยะเดิน 400 เมตร หรือ 5 นาที ไม่น้อยกว่า 50% ของพื้นที่กรุงเทพฯ และ (3) พื้นที่ร่มไม้ (Urban Tree Canopy) ต่อพื้นที่เมืองเพิ่มขึ้นเป็น 30% ของพื้นที่กรุงเทพฯ

เนื่องจากความหนาแน่นของจำนวนประชากร ทำให้กรุงเทพมหานครต้องมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สำหรับการอยู่อาศัย พื้นที่ประกอบธุรกิจการค้า การขนส่ง ตลอดจนกิจกรรมอื่น ๆ จากการเติบโตในทุก ๆ ด้าน ส่งผลให้พื้นที่สีเขียวของเมืองมีปริมาณลดลง กรุงเทพมหานครจึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของเมืองและมองเห็นโอกาสในการพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนที่กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯ เช่น พื้นที่สาธารณะ พื้นที่ใต้ทางด่วน พื้นที่ระหว่างอาคารพื้นที่หน้าอาคาร พื้นที่ทางเท้า พื้นที่ริมคลองต่าง ๆ มุ่งผลักดันการเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน และให้ได้ตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ว่างเปล่าที่รอการพัฒนาอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งที่ดินของภาครัฐ เช่น ที่ดินของส่วนราชการ กรุงเทพมหานคร กรมธนารักษ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย และภาคเอกชน ที่ดินของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงที่ดินแปลงย่อยของประชาชนทั่วไป ที่ดินเหล่านี้ล้วนแต่มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวของเมืองได้เป็นอย่างดี จึงได้ทำการสำรวจพื้นที่ว่างเปล่าที่อยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร เพื่อนำมาพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวสำหรับให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ อย่างภาคเอกชน เช่น ปตท. ที่จัดตั้ง   ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุงที่สร้างบนที่ดินกว่า 12 ไร่ ของ ปตท. ที่ตั้งใจให้เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องป่าและการปลูกป่า  เชิงนิเวศอย่างยั่งยืนที่ผสมผสานความสวยงามด้านภูมิสถาปัตยกรรมที่ออกแบบให้กลมกลืนกับธรรมชาติ    มากที่สุด และเป็นต้นแบบนวัตกรรมอาคารเขียว รวมถึงเป็นพื้นที่สีเขียวและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ     ให้คนกรุงเทพฯ หรือเด็กรุ่นใหม่ที่เติบโตในเมืองได้มีโอกาสใกล้ชิด รู้จัก และสัมผัสป่าอย่างใกล้ชิด ไม่ต้องเดินทางไกล ได้ตระหนักและร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และคาดว่าในอนาคตพื้นที่ป่าแห่งนี้  จะเติบโตและสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับเมืองกรุงเทพฯ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้คือตัวอย่างจากประเทศสิงคโปร์ที่กำลังเดินหน้าสร้างแลนด์มาร์กสีเขียวแห่งใหม่ ภายใต้แนวคิด “เมืองในธรรมชาติ” โดยการเพิ่ม    เขตอนุรักษ์ป่าและพันธุ์สัตว์ พร้อมส่งเสริมวิถีท่องเที่ยวแบบใกล้ชิดธรรมชาติในพื้นที่เมือง ถึงแม้สิงคโปร์ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้างตึกสูงทันสมัยและมีประชากรหนาแน่น แต่ขณะนี้ สิงคโปร์กำลังเตรียมตัวแปลงโฉมพัฒนาประเทศให้กลายเป็น “เมืองในธรรมชาติ” (City in Nature) ภายในปี 2573 ภายใต้จุดยืนที่ว่าการพัฒนาเมืองต้องควบคู่ไปกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี

ภาพ:  โอเอซิสสีเขียวกลางเมืองแห่งอออร์ชาร์ด (โดย: Npark) https://mgronline.com/travel/detail/9640000068354

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ความเจริญของเมืองเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นที่สีเขียวลดลงไปมาก ดังนั้น หน่วยงานทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน และประชาชนต้องช่วยกัน นอกจากจะหาวิธีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงให้มีพื้นที่มากขึ้นกว่าเดิม ต้องพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของเดิมที่มีอยู่เพื่อให้คนกรุงใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และเข้าถึงได้จริง เพราะวัตถุประสงค์ของการสร้างป่าในเมือง นอกจากจะเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในตัวเมือง ยังเป็นพื้นที่ที่ออกแบบมาเพื่อคนเมืองให้สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ง่าย สะดวก และปลอดภัย ถือเป็นปอดของคนเมืองเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นการสร้างป่าให้เลียนแบบป่าธรรมชาติจริงๆ ดังนั้น ป่าในเมืองจึงมีความสำคัญและเอื้อประโยชน์ต่อคนเมืองมาก ๆ เพราะนอกจากจะเป็นพื้นที่สีเขียวไว้สำหรับเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ เป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นศูนย์รวมกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ มากมายร่วมกันแล้ว ยังเป็นพื้นที่เชื่อมโยงสู่การมีสุขภาพกายและจิตที่ดีอีกด้วย เพราะท้ายที่สุดแล้วทุกคนล้วนต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมถึงการได้อยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ที่ดี ทุกภาคส่วนจึงมีบทบาทและเป็นกำลังสำคัญที่จะร่วมด้วยช่วยกันสร้างเข้ารู้ความเข้าใจ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับป่าในเมืองให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง และช่วยกันเพิ่มจำนวนป่าในเมืองให้เพิ่มมากขึ้นทุกปีและครอบคลุมในทุกพื้นที่เมืองของเรา

จัดทำบทความโดย นางสาวธิดาดาว พลไตร เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ
กลุ่มงานติดตามประเมินสถานการณ์ กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม

อ้างอิง

กรุงเทพมหานคร. (2564). “ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนร่วมพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าเพิ่มสวนสีเขียวให้คนกรุงตามเป้า GREEN BANGKOK 2030”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565. จาก https://main.bangkok.go.th/news-detail/2443/fb?lang=en

กรุงเทพมหานคร. (2565). “ข้อมูลพื้นที่สีเขียวกรุงเทพมหานคร”. ข้อมูลประกอบการจัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 (เอกสารอัดสำเนา)

สถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. “ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565. จาก  https://learningcenter.pttreforestation.com/center/1

MGR Online. (2564). “สิงคโปร์” ชูป่าล้อมเมือง เดินหน้าสร้างแลนด์มาร์กสีเขียวแห่งใหม่ สู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศชั้นเยี่ยม”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2565. จาก https://mgronline.com/travel/detail/9640000068354

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online slot88 istanaslot istanaslot slot88 istana slot istanaslot situs slot gacor hari ini istana impian istanaimpian istanaimpian2 istanaimpian3 istanaimpian4 istanaslot istanaslot Situs Judi Slot Online daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

slot pulsa

gangster4d slot

gangster4d

istana slot

http://ukt.uhnsugriwa.ac.id/admin/slot88/

https://ishcsf.com/slot-gacor/

https://www.sos-logistica.org/wp-content/uploads/slot-demo/

https://cultura.tonala.gob.mx/

https://bma.ac.ke/wp-content/uploads/2023/

http://labiela.com/cgi-bin/slot-gacor/

https://www.ideasei.com/wp-content/slot-dana/

https://kayseriescortu.com/slot-gacor/

http://sion.uhnsugriwa.ac.id/css/slot-gacor/
https://keckarangawen.demakkab.go.id/slot-gacor/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot-toto/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot-gacor/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot88/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot777/
slot777
slot gacor
Skip to content