สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพด้วยระบบคลังข้อมูล

ปี พ.ศ. 2562 สถาบัน Earthwatch องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม ออกมาระบุว่า ผึ้ง สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ กำลังอยู่ในภาวะที่ถูกคุกคามจนเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สอดคล้องกับงานวิจัยในหลายประเทศทั่วโลก ที่รายงานตรงกัน ว่า จำนวนประชากรผึ้งกำลังลดลงอย่างน่าเป็นห่วง ปัจจุบันผึ้งได้หายไปจากโลกนี้แล้วถึงร้อยละ 90 จากสาเหตุหลายด้าน เช่น สภาพแวดล้อมทั่วโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ระบบนิเวศถูกทำลาย พื้นที่ป่าถูกทำลาย การใช้ยาฆ่าแมลง ยากำจัดศัตรูพืช

ชะตากรรมของผึ้ง อาจจะส่งผลกระทบตามมาอีกมายมาย โดยนักวิจัยระบุอีกว่า พืชอาหารในภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 70 ของผลิตผลด้านการเกษตรทั่วโลก ต้องอาศัยผึ้งเป็นสื่อกลางผสมละอองเกสรให้ออกดอกออกผล หากสถานการณ์ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมทั่วโลกยังไม่เปลี่ยนแปลง คาดว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า ผึ้งทั้งหมดก็อาจจะสูญพันธุ์ไปจากโลก และส่งผลกระทบกับภาคเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้

นั่นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง ที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศทุกแห่งทั่วโลก

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งเป็นหน่วยประสานงานกลางแห่งชาติอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ได้ตะหนักถึงความสำคัญของเรื่องนี้โดยได้รวบรวม ศึกษา วิจัย และจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องจัดทำทะเบียนสถานภาพของชนิดพันธุ์ต่างๆ ในระบบนิเวศของแต่ละพื้นที่ในประเทศไทย เพื่อเป็นฐานของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ สำหรับใช้ศึกษาและติดตามสถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพในแต่ละพื้นที่ของประเทศ รวมทั้งประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำโครงการแผนงาน กิจกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศอย่างเป็นระบบ

ทั้งนี้ ได้ปรับปรุงทะเบียนสถานภาพของชนิดพันธุ์สัตว์กลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลัง และจัดทำทะเบียนสถานภาพของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ในกลุ่มมอลลัสกา กลุ่มครัสเตเชียน และกลุ่มปะการัง เพื่อให้ประเทศไทยมีข้อมูลสถานภาพสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง และไม่มีกระดูกสันหลังที่มีความครอบคลุมและเป็นปัจจุบัน รวมถึงให้หน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลทางวิชาการประกอบการกำหนดนโยบายและมาตรการเพื่ออนุรักษ์ชนิดพันธุ์และถิ่นที่อยู่อาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยในส่วนของการจัดทำข้อมูลรายชื่อสัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย ได้รวบรวมรายละเอียดของกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยแบ่งตามกลุ่มของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ประกอบด้วย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน และจำแนกตามสถานภาพของชนิดพันธุ์ ได้แก่ สูญพันธุ์, สูญพันธุ์ในธรรมชาติ ,ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง ,ใกล้สูญพันธุ์, มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ , ใกล้ถูกคุกคาม,เป็นกังวลน้อยที่สุด, ข้อมูลไม่เพียงพอ, และไม่ได้รับการประเมินความเสี่ยง

จากการสำรวจและประเมินสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามของสัตว์มีกระดูกสันหลัง เมื่อปี พ.ศ. 2559 จำนวน 2,276 ชนิด พบว่า สูญพันธุ์แล้ว จำนวน 8 ชนิด ได้แก่ สมัน กูปรี กระซู่ แรด นกพงหญ้า นกช้อนหอยใหญ่ นกหัวขวานด่างหน้าผากเหลือง และปลาหวีเกศ โดยมีสถานภาพสูญพันธุ์ในธรรมชาติ จำนวน 4 ชนิด ส่วนชนิดพันธุ์ที่อยู่ในสถานภาพที่ถูกคุกคาม (Threatened Species) มีจำนวน 569 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 12.03 ของชนิดพันธุ์ในไทย จำแนกเป็น มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ จำนวน 282 ชนิด ใกล้สูญพันธุ์ จำนวน 185 ชนิด และใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง จำนวน 102 ชนิด โดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีชนิดพันธุ์ที่มีสถานภาพถูกคุกคามมากที่สุด ร้อยละ 35.65 ของชนิดพันธุ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในไทย รองลงมา คือ นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลา ตามลำดับ

ข้อมูลที่ได้ ทำให้เมื่อย้อนกลับไปเปรียบเทียบฐานข้อมูลสัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2556 พบว่า สัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามเพิ่มขึ้น จำนวน 14 ชนิด ประกอบด้วย ปลา 6 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 5 ชนิด นก 3 ชนิด ในขณะที่ แนวโน้มของการคุกคามในช่วง ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2559 ในกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังครอบคลุม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ตกอยู่ในสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ในปีพ.ศ. 2563 สผ. ยังได้ต่อยอดในการพัฒนาระบบคลังข้อมูลฯ โดยการออกแบบระบบให้รองรับข้อมูลในเชิงพื้นที่ เพื่อการอนุรักษ์ คุ้มครอง เพื่อการติดตาม ฟื้นฟู และแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพเชิงเศรษฐกิจ ด้วยการมีข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data หรือ Geo-Data) สำหรับประมวลผลร่วมกับข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ พันธุกรรม ระบบนิเวศ ซึ่งจะทำให้สามารถวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ ความสัมพันธ์ทรัพยากรท้องถิ่นกับการนำไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่ รวมถึงแนวทางการติดตามการเปลี่ยนแปลงหรือเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง เพื่อใช้ในการดำเนินงานอนุรักษ์ ฟื้นฟู ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเป็นการทำงาน ผ่านระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย Thailand Biodiversity Information Facility (TH-BIF )หรือ ศูนย์กลางข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ ที่บูรณาการข้อมูลมาจากหลายแหล่ง เพื่อใช้ดำเนินงานในด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพต่อๆ ไปในอนาคตอีกด้วย

จัดทำและเผยแพร่โดย

กลุ่มงานอำนวยการและประชาสัมพันธ์ / สำนักงานเลขานุการกรม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

https://cutt.ly/meozcUaw https://cutt.ly/Ieozc9W8 https://cutt.ly/Teozc688 https://cutt.ly/GeozvyZf https://cutt.ly/FeozvpGX