สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

“ชุมชนเก่า” กุญแจสำคัญของการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน

อุทัยธานี เป็นเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ที่ย้อนไปถึงมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ 3,000 ปี ในหลายพื้นที่ เช่น โครงกระดูก เครื่องมือหินกะเทาะจากหินกรวด และภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์เขาปลาร้า รวมถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในยุคต่อๆ มาที่กลายเป็นมรดกทางด้านวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ซึ่งจำเป็นที่จะต้องหากลไกหรือมาตรการมาดูแลอย่างเหมาะสมและยั่งยืน

อุทัยธานี เป็นหนึ่งในอีกหลายชุมชนเก่าที่ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)
เข้าไปดูแลในฐานะเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมของประเทศ โดยได้ดำเนินการด้านการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่าหลายแห่งอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ย่านชุมชนเก่าซึ่งเป็นมรดกวัฒนธรรมสำคัญของชาติ ได้รับการอนุรักษ์ให้คงอยู่อย่างเหมาะสมและยั่งยืน ควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างกลมกลืน รักษาความสมดุลของพื้นที่ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 11 ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน เป้าหมายย่อย 11.4 เสริมความพยายามในการปกป้องและคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติของโลก

สผ. ตระหนักว่า กุญแจสำคัญของการอนุรักษ์และพัฒนาย่านชุมชนเก่าของประเทศให้คงอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ความหลากหลาย จำเป็นที่จะต้องวางเป้าหมายและกรอบการทำงาน ให้สอดคล้องการพัฒนาการอย่างยั่งยืน โดยหล่อหลอมสภาพแวดล้อม ประวัติศาสตร์ คุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม และความเข้าใจในการอนุรักษ์เข้าด้วยกัน

โดยการดำเนินงาน ได้สำรวจย่านชุมชนเก่า ซึ่งได้นิยามว่า ชุมชนเก่าตามเป้าหมายของการสำรวจ ต้องเป็นพื้นที่ตั้งถิ่นฐานที่แตกต่างกันตามบริบทแวดล้อม ทั้งที่เป็นเมืองและชนบท มีพัฒนาการทางกายภาพตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
จนมีลักษณะเฉพาะของโครงสร้างชุมชน รูปแบบสถาปัตยกรรม และภูมิทัศน์แวดล้อม และสภาพสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ประเพณี และกิจกรรมของชุมชน

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา พบว่า ประเทศไทยมีย่านชุมชนเก่า กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ส่วนใหญ่มีอายุไม่น้อยกว่าห้าสิบปี บางแห่งมีอายุนับร้อยปี เมืองแต่ละแห่ง มีความเป็นเอกลักษณ์ แม้สภาพทางกายภาพของย่านชุมชนเก่า จะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่ก็ยังมีต้นทุนความเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของเมืองได้ สามารถพัฒนาให้เป็นเสมือนแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต และยังเป็นพื้นที่ที่แสดงออกถึงการอยู่ร่วมกัน พื้นที่พบปะ รูปแบบประชาสังคมต่างๆ ซึ่งนอกจากจะได้ประโยชน์ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมแล้ว ยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน สร้างฐานเศรษฐกิจชุมชน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถทำรายได้ให้กับประเทศอีกด้วย

ภายหลังการสำรวจ ได้ขับเคลื่อนกลไกและเครื่องมือในการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่าในมิติต่างๆ เช่น องค์ความรู้ด้านกฎหมาย ด้านหน่วยงานรับผิดชอบ ให้ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยในช่วงปีพ.ศ. 2555-2558 ได้วางรากฐานและจัดทำมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ประเภทย่านชุมชนเก่า พร้อมขึ้นทะเบียนย่านชุมชนเก่าทั้งประเทศ ตอบรับกระแสความตื่นตัวของชุมชนในประเด็นเรื่องการอนุรักษ์

การดำเนินการดังกล่าว นับเป็นบทบาทสำคัญของภาครัฐ ในการส่งเสริมให้ชุมชนมีสิทธิและบทบาทในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักถึงวิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่น เพื่อเป็นเครื่องมือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและทุกภาคส่วน โดยเฉพาะหน่วยงานส่วนท้องถิ่นและชุมชน นำมาใช้เป็นกรอบแนวทางในการปรับปรุงย่านชุมชนเก่าของตนให้เป็นไปตามมาตรฐานอย่างเป็นรูปธรรมท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

สผ. ได้ดำเนินการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่าอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง อาทิ ในปี พ.ศ. 2555  ได้จัดทำมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมประเภทย่านชุมชนเก่า ในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ปี พ.ศ. 2557  ศึกษา สำรวจ จัดทำทะเบียนและแผนที่ย่านชุมชนเก่าในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคใต้ จัดทำเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมประเภทย่านชุมชนเก่า โดยมีพื้นที่ศึกษา คือ ย่านชุมชนเก่าในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคใต้ และจัดทำ ระบบฐานข้อมูลย่านชุมชนเก่าของประเทศ ซึ่งสามารถติดตามได้จาก  http://www.onep.go.th/ocd/ ปี 2558 จัดทำ แผนปฏิบัติการมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ประเภทย่านชุมชนเก่า แผนจัดการอนุรักษ์และปรับปรุงสภาพแวดล้อมย่านชุมชนเก่าท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ปีพ.ศ. 2560 ได้จัดทำ “ข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่องการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่า” สำหรับเป็นแนวทางการดำเนินงานอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านชุมชนเก่าในภาพรวมของประเทศ ครอบคลุมด้าน มาตรการทางกฎหมาย  การบริหารจัดการ  มาตรการด้านเศรษฐศาสตร์  และ มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมประเภทย่านชุมชนเก่า ปีพ.ศ. 2562 จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และฟื้นฟูย่านชุมชนเก่าแห่งชาติ  เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานในภาพรวมระดับประเทศ และให้มีการดำเนินงานอย่างบูรณาการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ต่อมา ในปีพ.ศ.2563 ได้จัดทำ โครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านชุมชนเก่าในระดับจังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี และภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดตรัง  เพื่อสร้างการรับรู้สาธารณะ ความรู้ ความเข้าใจ และกระบวนการเพื่อผลักดันให้เกิดการอนุรักษ์ฟื้นฟู กระตุ้นให้ภูมิภาคมีบทบาทเป็นแกนกลางในการประสานขับเคลื่อนนโยบายจากส่วนกลาง ดำเนินโครงการศึกษา สำรวจ และจัดทำแผนที่มรดกทางวัฒนธรรมเมืองเก่าอุทัยธานี ขับเคลื่อนกลไกการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าผ่านการจัดทำข้อมูล และการรับฟังความคิดเห็น เพื่อการประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าอุทัยธานีและนำไปสู่การประกาศพื้นที่เมืองเก่าตามมติคณะรัฐมนตรี โดยได้สำรวจและจัดทำแผนที่มรดกทางวัฒนธรรมเมืองเก่าอุทัยธานี กระตุ้นให้คนในท้องถิ่นได้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ความเป็นมา และองค์ประกอบสำคัญของเมือง และปัญหาภัยคุกคามของพื้นที่ มาประกอบกันกับแผนที่ทางภูมิศาสตร์ เพื่อใช้เป็นจุดอ้างอิงร่วมของชุมชน (Common point of reference) สำหรับดำเนินการกำหนดแผนงานในการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน

จัดทำและเผยแพร่โดย

กลุ่มงานอำนวยการและประชาสัมพันธ์ / สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

https://cutt.ly/meozcUaw https://cutt.ly/Ieozc9W8 https://cutt.ly/Teozc688 https://cutt.ly/GeozvyZf https://cutt.ly/FeozvpGX