ความเป็นมาและความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้

ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ซึ่งเป็นแผนที่มุ่งเน้นให้ประเทศชาติสามารถยกระดับการพัฒนาให้บรรลุวิสัยทัศน์และเป้าหมาย นั่นคือ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีดังกล่าว ได้มีการจัดทำแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) เพื่อกำหนศทิศและแนวทางการในการบรรลุวิสัยทัศน์และเป้าหมาย ซึ่งเป็นแผนระดับที่ 2 และเมื่อพิจารณารายละเอียดของแผนแม่บทฯ จะมีทั้งสิ้น 23 แผนแม่บท ซึ่งจะมีผลผูกพันต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น โดยหนึ่งในแผนแม่บทฯ ได้ให้ความสำคัญกับ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” 

แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (09) เขตเศรษฐกิจพิเศษ ได้มีการกำหนดเป้าหมายด้วยกัน 2 เป้าหมาย กล่าวคือ 1) การเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมของเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมดเพิ่มขึ้น และ 2) การลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมดได้รับการยกระดับ ซึ่ง “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ภายใต้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ได้กำหนดแผนย่อยประกอบด้วย 3 แผนย่อย คือ 1) การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2) การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ และ 3) การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน โดย “การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ” มีการแบ่งเป็น 4 ภาค คือ 1) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง-ตะวันตก และภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์ต้องการให้เกิดการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค สำหรับบทความนี้จะมุ่งเน้นไปที่ “การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้”

การพัฒนาเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่และทางออก ทางทะเลของภาคใต้ตอนบน โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม และความได้เปรียบทางกายภาพและที่ตั้งของพื้นที่ รวมทั้งอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (จังหวัดชุมพร – ระนอง และพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี- นครศรีธรรมราช) ตามกรอบแนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย (1) การพัฒนาประตูการค้าฝั่งตะวันตก ให้สามารถเชื่อมโยงโครงข่ายและใช้ประโยชน์ในการเป็นประตูส่งออกสินค้าฝั่งตะวันตก เพื่อเชื่อมโยงกับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกไปยังกลุ่มประเทศความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับ ความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (2) การพัฒนาประตูสู่การท่องเที่ยวอ่าวไทยและ อันดามัน พัฒนาการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ฝั่งอันดามันต่อเนื่องไปจนถึงฝั่งอ่าวไทยตอนบนบริเวณหัวหิน ชะอำให้เป็นแนวการท่องเที่ยวชั้นนำแห่งใหม่ และพัฒนาเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ด้านการท่องเที่ยว เชิงนิเวศเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพ (3) การพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพและการแปรรูปการเกษตร มูลค่าจากการใช้ทรัพยากรการผลิตทั้งในพื้นที่และประเทศเพื่อนบ้านเพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางการแปรรูป การเกษตรและการประมงในภาคใต้ และ (4) การอนุรักษ์ทรัพยากรและวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวและ การเรียนรู้ รวมทั้งเมืองน่าอยู่ ทั้งนี้ ได้มีการเพิ่มตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายให้เมืองในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ได้รับการพัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่มากขึ้น ดังตารางที่ 1 นอกจากนี้ การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้สำหรับ 4 จังหวัดที่กล่าวไปข้างต้นแล้วนั้น แต่การพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวยังสามารถเชื่อมโยงการพัฒนาพื้นที่ในหลายจังหวัดโดยรอบของภาคใต้และภาคอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน ดังแสดงในรูปที่ 1 ความเชื่อมโยงการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้

ตารางที่ 1  แผนเมืองในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ให้ได้รับการพัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่

จำนวนเมืองในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่
2 เมือง (ระนอง และชุมพร)

(ปี 61 – 65)

(ปี 66 – 70)

1 เมือง (สุราษฎร์ธานี)

(ปี 71 – 75)

1 เมือ (นครศรีธรรมราช)

(ปี 76 – 80)

ความเชื่อมโยงการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้
รูปที่ 1 ความเชื่อมโยงการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้

เพื่อให้สอดคล้องในภาพรวมของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น (09) เขตเศรษฐกิจพิเศษ (พ.ศ. 2561 – 2580) เขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้จึงได้มีการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์มวลรวมของพื้นที่เขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพิ่มขึ้น ดังแสดงในตารางที่ 2 และการลงทุนในพื้นเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพิ่มขึ้น ดังแสดงในตารางที่ 3

ตารางที่ 2 การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมของพื้นที่เขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพิ่มขึ้น

อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมของพื้นที่เขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (ร้อยละต่อปี)
(ปี 61 – 65)

อย่างน้อยร้อยละ 5

(ปี 66 – 70)

อย่างน้อยร้อยละ 5

(ปี 71 – 75)

อย่างน้อยร้อยละ 5

(ปี 76 – 80)

อย่างน้อยร้อยละ 5

 

ตารางที่ 3 การลงทุนในพื้นเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพิ่มขึ้น

มูลค่าการลงทุนในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (ล้านบาท)
(ปี 61 – 65)

100,000 ล้านบาท

(ปี 66 – 70)

100,000 ล้านบาท

(ปี 71 – 75)

100,000 ล้านบาท

(ปี 76 – 80)

100,000 ล้านบาท

จากบทความดังกล่าวได้นำเสนอรายละเอียดความเป็นมาและความสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราจำเป็นต้องคำนึงและตระหนักถึงคือ การประเมินศักยภาพและการเตรียมความพร้อมของการพัฒนาที่อาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในหลากหลายมิติที่เป็นทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ที่ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสามเสาหลักของความยั่งยืน ที่เราจำเป็นต้องทำให้เกิดความสมดุลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับพื้นที่ในภาคใต้ การประเมินศักยภาพและการเตรียมความพร้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่ได้หมายรวมถึงเฉพาะโครงการหรือกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง แต่นั่นหมายรวมถึงภาพรวมและการเชื่อมโยงกับส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ระบบสาธารณูปโภคที่ต้องมีความเพียงพอต่อการพัฒนา เทคโนโลยีและความทันสมัยที่จะเข้าไปในพื้นที่เพื่อให้เกิดการพัฒนา ซึ่งจำเป็นต้องควบคู่ไปกับดำรงซึ่งศิลปะวัฒนธรรมของคนในที่พื้นที่ที่อาศัยมาดั้งเดิมเพื่อการอนุรักษ์ และการท่องเที่ยวต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและยังสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้จึงจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

บทความโดย นางสาวกิติลักษณ์ ถนอมบุญชัย นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม (กตป.)

 

เอกสารอ้างอิง

  1. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2564
  2. สรุปสาระสำคัญแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
  3. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566 – 2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy