ขยะพลาสติก

พลาสติกเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของผู้คน กระบวนการผลิตพลาสติกส่วนใหญ่จะมีการใส่สารเติมแต่งและไมโครพลาสติก (Microplastic) สารเหล่านี้ยากแก่การย่อยสลายและกลายเป็นขยะตกค้างในสิ่งแวดล้อม และสารเติมแต่งบางชนิดยังก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน

ประเทศไทยมีขยะพลาสติกประมาณร้อยละ 12 ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด หรือประมาณปีละ 2 ล้านตัน มีการนำกลับไปใช้ประโยชน์ประมาณปีละ 0.5 ล้านตัน (ร้อยละ 25) ส่วนที่เหลือ 1.5 ล้านตัน (ร้อยละ 75) ซึ่งพลาสติกส่วนใหญ่เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-use plastics) อาทิ ถุงร้อน ถุงเย็น ถุงหูหิ้ว แก้วพลาสติก หลอดพลาสติก กล่องโฟมบรรจุอาหาร ไม่มีการนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ โดยส่วนใหญ่จะถูกทิ้งเป็นขยะมูลฝอยในปริมาณและสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2563 ได้มีการศึกษาปริมาณขยะพลาสติกที่เกิดขึ้น ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่า มีขยะพลาสติกประมาณ 6,300 ตัน/วัน หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15 ของปริมาณขยะพลาสติกเมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันในสถานการณ์ปกติ เมื่อปี 2562 (ปี 2562 มีปริมาณขยะพลาสติกเฉลี่ย 2 ล้านตัน หรือประมาณ 5,500 ตัน/วัน) เนื่องจากในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้บริการสั่งซื้อสินค้าและอาหารผ่านระบบออนไลน์เพิ่มขึ้น ประกอบกับการคัดแยกขยะมูลฝอยเพื่อนำมารีไซเคิลน้อยลง เนื่องจากหวั่นเกรงมูลฝอยติดเชื้อที่ทิ้งปะปนมากับขยะมูลฝอยชุมชน

ปัญหาขยะพลาสติกที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมมักเกิดจากผู้บริโภคที่ไม่ได้คัดแยกขยะมูลฝอย ไม่มีความเข้าใจในการรีไซเคิล และมีการกำจัดที่ไม่ถูกต้อง โดยขยะพลาสติกจะถูกนำไปฝังกลบรวมกับขยะมูลฝอยอื่นๆ ซึ่งขยะพลาสติกมีความคงทนและสามารถทนต่อแรงอัดได้สูง จึงใช้พื้นที่ในการฝังกลบมากกว่าขยะประเภทอื่น อีกทั้งยังใช้เวลาในการย่อยสลายนับร้อยปี ทำให้ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณและพื้นที่ฝังกลบ นอกจากนี้ ปัญหาการทิ้งขยะพลาสติกกระจัดกระจายทั่วไป มักก่อให้เกิดปัญหาการอุดตันตามท่อระบายน้ำ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม ปัญหาขยะลอยในแม่น้ำ ลำคลอง บางส่วนไหลลงสู่ทะเล ก่อให้เกิดปัญหาเศษขยะพลาสติกและไมโครพลาสติก พบการแพร่กระจายในทะเลทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล

การบริหารจัดการขยะพลาสติก ได้มีการขับเคลื่อน Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 ซึ่งประกอบด้วย 2 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 1 คือ การลดและเลิกใช้พลาสติก ด้วยการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเลิกใช้พลาสติก 3 ชนิด ภายใน พ.ศ. 2562 ได้แก่ (1) พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม (Cap Seal) (2) ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผสมสารอ๊อกโซ่ (Oxo) และ (3) ไมโครบีดส์ (Microbead) และกำหนดเลิกใช้พลาสติก 4 ชนิด ภายใน พ.ศ. 2565 ได้แก่ (1) ถุงพลาสติกหูหิ้วขนาดความหนา น้อยกว่า 36 ไมครอน (2) กล่องโฟมบรรจุอาหาร (3) แก้วพลาสติก (แบบบางใช้ครั้งเดียว) และ (4) หลอดพลาสติก และเป้าหมายที่ 2 มีการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ ร้อยละ 100 ภายใน พ.ศ. 2570 นอกจากนี้ หน่วยงานหลายแห่งได้จัดทำโครงการเกี่ยวกับการลดการใช้พลาสติก ได้แก่

(1) “Everyday Say No to Plastic Bags” โดยได้รับความร่วมมือจากห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาเก็ต ร้านสะดวกซื้อ มากกว่า 90 ราย
(2) โครงการลดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วและงดใช้โฟมบรรจุอาหารในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ (3) โครงการ “เปลี่ยนพลาสติกเป็นบุญ” (คุณหมุนเวียน) โดยตั้งจุดรับบริจาคขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว นำมารีไซเคิลหรือเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (Up-cycling) เป็นจีวรพระ เสื้อ ของเล่นเด็ก อุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์
(4) โครงการ “วน” (Won Project) เป็นการจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน โดยตั้งจุดวาง “ถังวนถุง” กว่า 350 จุด ให้ประชาชนได้นำถุงและบรรจุภัณฑ์พลาสติกสะอาดเหลือใช้ ที่กำหนดไว้ทั้ง 12 ชนิด ไปทิ้ง โดยโครงการจะรับบริจาคถุงและบรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกสะอาด เช่น ถุงห่อผ้าอ้อม ฟิล์มพลาสติกหุ้มขวดน้ำ หรือฟิล์มกันกระแทกที่มากับสินค้าออนไลน์ ก่อนนำกลับไปรีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติกสำหรับใช้ในการผลิตถุงหูหิ้ว และผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ และ
(5) การลงนาม MOU ความร่วมมือระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับ Platform ของผู้ให้บริการส่งอาหาร อาทิ Grab Food, Line Man, Wongnai, Gojek, Food Panda, Lalamove และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวจากการบริการส่งอาหาร

จะเห็นได้ว่าภาคต่างๆ ร่วมมือกันลดใช้พลาสติก และนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนต่อไป

จัดทำบทความโดย
นางสาวพรพรรณ ปัญญายงค์
เจ้าหน้าปฏิบัติงานด้านวิชาการ (การจัดทำวารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมมลพิษ. (2564). ข้อมูลขยะมูลฝอยชุมชน เอกสารประกอบการจัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564. (เอกสารอัดสำเนา).

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563).รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร.

SCG Circular Way. (2564). โครงการมือวิเศษxวน. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564. จากเว็บไซต์: https://www.scg.com/sdsymposium/2020/pillar/โครงการมือวิเศษ-x-วน/.

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content