Thailand’s Initial National Communication

Book Cover: Thailand's Initial National Communication

เอกสารรายงานแห่งชาติเบื้องต้นฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอต่อสำนักเลขาอนุสัญญาสหประชาชาติ เพื่อวัตุประสงค์หลักในการจัดทำบัญชีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ณ ปี 1994 (พศ. 2542) รวมถึงข้อเสนอว่าประเทศไทย จะดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อไปอย่างไรในอนาคต ยังครอบคลุมข้อมูลที่สำคัญในด้านอื่นๆ เช่นความล่อแหลม และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ งานวิจัยและพัฒนา การให้การสนับสนุนด้านการเงิน การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการกระตุ้นให้ภาคส่วนสาธารณะต่างๆ มีความตื่นรู้และเตรียมความพร้อมที่จะรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไป

การจัดทำรายงานนี้เกิดจากความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญจากภาคส่วนสำคัญต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำข้อมูลบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมตามวิธีการคำนวณ และตามคำแนะนำของสหประชาชาติ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยนั้นมีความก้าวหน้ามาโดยตลอด ถึงแม้ว่าประเทศไทย จะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้การทำงานต่างๆอันเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีความยากลำบากเพิ่มขึ้นก็ตาม ความพยายามในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยนั้น ได้มีการทำอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะอนุสัญญาจะมีผลบังคับใช้เสียอีก ทางรัฐบาลไทยได้มีโครงการ ต่อเนื่องหลายโครงการ ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการรณรงค์ให้เกิดการประหยัดพลังงาน ตัวอย่างเช่น โครงการจัดการความต้องการใช้พลังงาน และโครงการการตรวจสอบการใช้พลังงาน

โครงการการจัดการความต้องการใช้พลังงานนั้น เป็นโครงการหนึ่งที่ระบุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๘ (๒๕๔๐-๒๕๔๔) โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถลดความต้องการใช้พลังงาน ให้ได้ถึง 140 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ประเทศไทยยังได้รณรงค์ให้มีการปลูกป่าเทดแทนและเพิ่มเติม และรวมถึงการฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถขยายพื้นที่ป่าได้ประมาณ ห้าแสนเฮกเตอร์ (ประมาณ ๓ ล้านไร่) ตั้งแต่ปีพศ.๒๕๓๕ เป็นต้นมา โดยประเทศไทยได้ให้การสนับสนุน โครงการประหยัดพลังงาน โครงการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ รวมทั้งดำเนินมาตรการต่างๆ อันเกี่ยวข้อง กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างต่อเนื่องทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ประเทศไทยได้รับการสนับสนุนในการจัดเตรียมและทำรายงานแห่งชาติเบื้องต้นจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก(Global Environment Facility) โดยผ่านทางการจัดการของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme) ทำให้ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะสามารถทบทวนการทำงาน ได้อย่างเป็นระบบ และเพิ่มขีดความสามารถในการที่จะรับมือต่อสถานการณ์ต่างๆในอนาคตได้ต่อไป ซึ่งประสบการณ์ที่ประเทศ ไทยได้รับจากการเตรียมการจัดทำรายงานครั้งนี้ทำให้ไทยตระหนักได้ว่า ประเทศยังต้องพัฒนาและปรับปรุง ความรู้ ความเข้าใจในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาด้านเทคนิค การเตรียมพร้อมขององค์กรต่างๆ และหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง การจัดการด้านบุคคลากร เพื่อการเตรียมพร้อม โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความล่อแหลมต่อผลกระทบของการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระบบนิเวศน์ชายฝั่ง และ การเกษตรนั้นมีความสำคัญต่อประเทศไทยอย่างยิ่ง จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยมีความล่อแหลม ต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศสูงมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และกรณีที่มีความรุนแรงของสภาพอากาศ (ร้อนมาก หรือหนาวมากรุนแรง) ประเทศไทยปฎิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างเคร่งครัด และประสานงานอย่างใกล้ชิดกับประเทศภาคีฯ โดยปฎิบัติตามหลักการ “ความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างกัน (Common but Differentiated Responsibilities)” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้มีผลกระทบน้อยที่สุด

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content