สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

OECMs โอกาสสร้างภูมิคุ้มกันรับมือยุคโลกเดือด

วิกฤติสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกกำลังเผชิญร่วมกันในยุค “โลกเดือด” อย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนในปัจจุบัน คือ ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวในพื้นที่เกาะกระดาด เกาะผี และเกาะหมาก จังหวัดตราด เป็นต้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากอุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ข้อมูลรายงาน Living Planet Report 2022 จาก WWF ระบุว่า ในช่วง ค.ศ. 1970 – 2018 สัตว์ป่ามีจำนวนประชากรลดลงร้อยละ 69 เนื่องมาจากปัจจัยคุกคาม เช่น การสูญเสียพื้นที่ธรรมชาติในการอยู่อาศัย การบุกรุกพื้นที่ป่า การล่าสัตว์อย่างผิดกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลให้เกิดภัยแล้ง น้ำท่วม ภัยธรรมชาติ เป็นต้น ขณะเดียวกันเมื่อจำนวนประชากรของสัตว์ป่าลดลง ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ เพราะพืชบางชนิดต้องอาศัยสัตว์ป่าในการเป็นผู้ช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ หากไม่สามารถกระจายเมล็ดพันธุ์ได้ทั่วผืนป่าดังเดิม จะส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และพื้นที่ธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญลดลง ซึ่งการสูญเสียสิ่งเหล่านี้จะยิ่งเร่งให้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีคูณมากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้ เพื่อเป็นการป้องกันและรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น นานาประเทศจึงได้กำหนดกรอบการดำเนินการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์ ปี ค.ศ. 2050 มีชีวิตอยู่อย่างกลมกลืนกับรรมชาติ (Living in Harmony with Nature) โดยในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (The Fifteenth Meeting of the Conference of the Parties to the Convention on Biological Diversity : CBD COP 15) เมื่อปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมาภาคีอนุสัญญาฯ ได้รับรองกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework : GBF) เพื่อจัดการกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้นกับความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ประกอบด้วย 4 เป้าประสงค์หลัก 23 เป้าหมาย นำไปสู่การบรรลุพันธกิจ ปี ค.ศ. 2030 หนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญ คือ เป้าหมายที่ 3 การเพิ่มพื้นที่คุ้มครองในพื้นที่บนบก แหล่งน้ำจืด และพื้นที่ทะเลและชายฝั่ง อย่างน้อยร้อยละ 30 ผ่านระบบ “พื้นที่คุ้มครอง (Protected Area : PA)” และ “พื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกพื้นที่คุ้มครอง (Other effective area-based conversation measures : OECMs)” โดยเห็นว่า การปกป้องดูแล โดยใช้กลไกทางกฎหมายเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอหรือไม่ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมด้วย ในขณะที่การดูแลรักษา คงมิใช่เพียงการปลูกป่า รักษาต้นน้ำ เท่านั้น หากแต่ต้องคำนึงวิถีชีวิตของชุมชน ผลตอบแทนในทางเดียวกันที่ชุมชนจะได้รับ ผลลัพธ์สำคัญ คือ คุณภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้น ภายหลังจากการประชุมในระดับเวทีโลก ประเทศไทยได้มีการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนงานด้านพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกเขตพื้นที่คุ้มครอง (OECMs) ร่วมกับภาครัฐ ภาคประชาสังคมและชุมชนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา/นักวิชาการ และภาคเอกชน เพื่อจัดทำหลักเกณฑ์การพิจารณาพื้นที่ OECMs ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ตัวอย่างพื้นที่ต้นแบบ OECMs ตลอดจนกรอบแผนการจัดการและแนวทางการดำเนินงาน เรื่อง OECMs ของประเทศไทยในอนาคต

การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15
การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15

“พื้นที่คุ้มครอง” ต่างจาก “พื้นที่ OECMs” อย่างไร

พื้นที่คุ้มครอง (Protected area) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการอนุรักษ์และเป็นพื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครอง กำกับดูแลด้วยกฎหมายของประเทศ ในขณะที่ พื้นที่ OECMs เป็นพื้นที่นอกเขตพื้นที่คุ้มครอง ซึ่งมีการบริหารจัดการ เพื่อบรรลุเป้าหมายการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในถิ่นที่อยู่อาศัย บทบาทหน้าที่และบริการที่ได้รับจากระบบนิเวศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้กับภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม พื้นที่ OECMs ไม่จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการอนุรักษ์เท่านั้น อาจอยู่ในวัตถุประสงค์รองของการจัดการ เช่น ป่าชุมชน สวนสาธารณะ หรือพื้นที่สีเขียวในเมือง เป็นต้น หรือผลของการดำเนินงานสร้างประโยชน์ทางอ้อมต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น พื้นที่กันชนรอบโรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่เขตปลอดภัยแท่นปิโตรเลียมในทะเล เขตปลอดภัยทางทหาร หรือ พื้นที่สำคัญทางศาสนา/ความเชื่อ เป็นต้น ที่สำคัญ OECMs ต้องมีการกำกับดูแลและบริหารจัดการ เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากปัญหาหรือภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงดำเนินงานเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ตัวอย่างพื้นที่ที่มีศักยภาพเป็นพื้นที่ OECMs ในประเทศไทย เช่น พื้นที่ชุมชนคลองขนมจีน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและความยั่งยืน “ชีวพนาเวศ” อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา และพื้นที่อนุรักษ์บ้านปากทะเล อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ดังรูปที่ 2 – 4

พื้นที่ชุมชนคลองขนมจีน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา โดย บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ที่มา : SD Thailand (2566)
พื้นที่ชุมชนคลองขนมจีน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา โดย บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ที่มา : SD Thailand (2566)
ศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพเเละความยั่งยืน “ชีวพนาเวศ” อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา โดย บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ที่มา : บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (ม.ป.ป.)
ศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพเเละความยั่งยืน “ชีวพนาเวศ” อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา โดย บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ที่มา : บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (ม.ป.ป.)
พื้นที่อนุรักษ์บ้านปากทะเล อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี โดย สมาคมอนุรักษ์นกแลธรรมชาติแห่งประเทศไทย ที่มา : The Cloud (2564)
พื้นที่อนุรักษ์บ้านปากทะเล อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี โดย สมาคมอนุรักษ์นกแลธรรมชาติแห่งประเทศไทย ที่มา : The Cloud (2564)

การส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่การจัดการที่เชื่อมโยงกับบริบทโลกเดือด เป็นโอกาสในการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มากไปกว่านั้น ยังเป็นโอกาสในมิติด้านเศรษฐกิจและมิติด้านสังคม เช่น โอกาสในการขยายความร่วมมือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพิ่มบทบาทและการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ส่งเสริมคุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจจากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างรายได้ให้กับชุมชน เป็นต้น

สุดท้ายนี้สำหรับคุณผู้อ่านที่สนใจและต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ OECMs เพิ่มเติมท่านสามารถคลิกที่ลิงค์ “OECMs Series” ท้ายบทความนี้ได้เลยนะคะ
https://www.facebook.com/share/U4DohNyFrNVFArnb/

บทความโดย นางสาวรัฐรวี อุสาวัฒนสิน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน กลุ่มงานขับเคลื่อนนโยบายและกลไก กองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ (กลช.)
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ KM for Journey to be the writers

เอกสารอ้างอิง
World Wide Fund For Nature. LIVING PLANET REPORT 2022 (Online). Retrieved May 31, 2024, from https://livingplanet.panda.org/en-US/.
กองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. แผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 2011 – 2020 และเป้าหมายไอจิ (Strategic Plan for Biodiversity (2011-2020) and the Aichi Biodiversity Targets) (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2567, จาก https://chm-thai.onep.go.th/?page_id=3814.
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN). ประเภทของ OECMs (Online). สืบค้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2567, จาก https://globalcompact-th.com/news/detail/1359.

อ้างอิงรูปภาพ
รูปที่ 1 The Convention on Biological Diversity. COP15: NATIONS ADOPT FOUR GOALS, 23 TARGETS FOR 2030 IN LANDMARK UN BIODIVERSITY AGREEMENT (Online). Retrieved May 31, 2024, from https://www.cbd.int/article/cop15-cbd-press-release-final-19dec2022
รูปที่ 2 SD Thailand. Nestlé CARES ขนทัพพนักงานเนสท์เล่ จัดกิจกรรมรวมพลจิตอาสารักษ์โลก คืนคลองใส ปรับทัศนียภาพชุมชนริมคลองขนมจีน เนื่องในวัน World Clean Up Day (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.sdthailand.com/2023/09/nestle-cares-world-clean-up-day/
รูปที่ 3 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด. ศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพเเละความยั่งยืน “ชีวพนาเวศ”
อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.toyota.co.th/cheewa-panavet/index.html
รูปที่ 4 The Cloud. Save the birds, Save the Earth พื้นที่อนุรักษ์บ้านปากทะเล โมเดลการซื้อที่ดินเพื่อปกป้องนกใกล้สูญพันธุ์ที่เอกชนและประชาชนลงทุนเพื่อรักษาธรรมชาติ (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2567, จาก https://readthecloud.co/bird-conservation-society-ban-pak-tale/

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

https://cutt.ly/meozcUaw https://cutt.ly/Ieozc9W8 https://cutt.ly/Teozc688 https://cutt.ly/GeozvyZf https://cutt.ly/FeozvpGX